jos55 instaslot88 Pusat Togel Online แคชเมียร์ความขัดแย้งที่ถูกลืม ตอนที่ 4 - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

แคชเมียร์ความขัดแย้งที่ถูกลืม ตอนที่ 4

แคชเมียร์ความขัดแย้งที่ถูกลืม ตอนที่ 4

จรัญ มะลูลีม

การวิพากษ์ที่มาจากสหรัฐและรายงานของสื่อไม่พลาดที่จะให้ข้อสังเกตว่า การเคลื่อนไหวของอินเดียนั้นมีขึ้นหลังจากทรัมป์เสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างสหรัฐ-ปากีสถาน

ฝ่ายบริหารของทรัมป์ปฏิเสธรายงานที่ปรากฏอยู่ในสื่อของอินเดียที่ว่าชัยชันกัร (S.Jaishankar) รัฐมนตรีต่างประเทศของอินเดียได้บอกไมค์ ปอมปิโอ (Mike Pompeo) รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐให้เตรียมพร้อมสำหรับการตัดสินใจของอินเดียที่จะยกเลิก สถานะพิเศษของแคชเมียร์         อย่างไรก็ตามแถลงการณ์ในเวลาต่อของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวว่า  การตัดสินใจของอินเดียในเรื่องแคชเมียร์อาจก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในภูมิภาคได้

ดูเหมือนว่ารัฐบาลอินเดียค่อนข้างจะมั่นใจว่าฝ่ายบริหารของทรัมป์จะไม่วิจารณ์การเคลื่อนไหวของอินเดียอย่างเปิดเผย  รัฐบาลฝ่ายขวาในกรุงนิวเดลีได้ลงนามการเป็นพันธมิตรทางทหารกับสหรัฐและอินเดียมีบทบาททางยุทธศาสตร์ที่จะถ่วงดุลกับจีน  อินเดียกำลังอยู่ในช่วงของการลงนามครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายว่าด้วยพื้นฐานข้อตกลงด้านการป้องกันประเทศกับสหรัฐ   ซึ่งจะมีการกำหนดกรอบความร่วมมือกันในปฏิบัติการทางทหารอินเดีย-สหรัฐ   ทั้งนี้อินเดียได้อนุญาตให้สหรัฐใช้ฐานทัพในประเทศของตนได้

สหรัฐในปัจจุบันเป็นประเทศที่ส่งอาวุธให้อินเดียมากที่สุด   ฝ่ายบริหารของทรัมป์เวลานี้เรียกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า “Indo-Pacific” การเอนเอียงเข้าสู่ตะวันตกของอินเดียมีหลักฐานมากขึ้นไปอีกหากว่าอินเดียจะ

ไม่ยอมให้บริษัทยักษ์ใหญ่หัวเว่ย (Hauwei) ของจีนทำข้อตกลง 5G กับอินเดีย

ตามที่โลกรับรู้  ฝ่ายบริหารของทรัมป์ และรัฐบาลก่อนๆ ให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนน้อยมาก  ตัวอย่างเช่นการปฏิเสธข้อเสนอการสอบสวนในเรื่องอาชญากรรมสงครามที่กระทำโดยอิสราเอลในฉนวนกาซ่าในขณะที่กาซาถูกอิสราเอลถล่มอย่างโหดเหี้ยมในปี 2014 โดยชาวปาเลสไตน์ 2,100 คน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ต้องจบชีวิตลง

อินเดียและประเทศยุโรปงดออกเสียงที่จะให้มีการสอบสวนในเรื่องนี้

เช่นเดียวกันกับกรณีของอิสราเอลและพันธมิตรอื่นๆ ของสหรัฐ เช่น ซาอุดีอาระเบีย   มาตรวัดที่แตกต่างกันได้ถูกนำมาใช้กับอินเดียในปัจจุบัน  เมื่อมีประเด็นในเรื่องการกำหนดใจตนเอง (Self-determination)  และสิทธิมนุษยชน

ดูเหมือนอินเดียจะนำเอามาจากหน้าหนังสือของอิสราเอล  ทั้งนี้อะไรก็ตามที่อิสราเอลกระทำขึ้นในเวสต์ แบงก์ และกาซ่าได้ถูกลอกเลียนแบบมาใช้ในหุบเขาแคชเมียร์  ก้าวต่อไปก็คือการนำเอาโครงการ”  ตั้งถิ่นฐานอาณานิคมมาใช้ในแบบที่อิสราเอลได้กระทำต่อดินแดนยึดครอง  ผู้สังเกตการณ์ในพื้นที่คาดหมายว่าเป็นแค่เรื่องของเวลาเท่านั้นก่อนที่แคชเมียร์จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของชาวฮินดู  ซึ่งเป็นการลอกแบบอย่างที่มีความใกล้เคียงกับอาณานิคมยิวที่เข้ายึดครองเวสต์ แบงก์

กองกำลังความมั่นคงของอินเดียได้รับการฝึกฝน “การต่อต้านการก่อการร้าย” จากอิสราเอล  อิสราเอลและอินเดียต้องการให้โลกเชื่อว่าการต่อสู้เพื่อการมีรัฐในปาเลสไตน์และการกำหนดใจตนเองในแคชเมียร์นั้นเป็น ความหายนะแห่งการก่อการร้ายของอิสลาม

ปฏิกิริยาจากโลกมุสลิม

อิมรอน ข่านโดยส่วนตัวได้เรียกร้องการสนับสนุนจากประเทศมุสลิมด้วยตัวเอง  เขาพูดคุยกับเรเซ็ป เออโดอัน (Recep Erdogan) และมหฏิร โมฮัมมัด (Mathir Mohammad)  นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย   ซึ่งทั้งสองผู้นำได้ชื่อว่าเป็นผู้นำเสนอทรรศนะของตนออกมาอย่างกว้างขวางเสมอ   แต่ทั้งสองก็ยังมิได้มีแถลงการณ์ใดๆ เกี่ยวกับแคชเมียร์ออกมา   แม้ว่ารัฐบาลของประเทศทั้งสองจะแสดงความห่วงใยออกมาให้เห็นก็ตาม

จนถึงบัดนี้  พันธมิตรของปากีสถานอย่างซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ (UAE) ก็ยังไม่ได้มีปฏิกิริยาใดๆ ออกมาอย่างเป็นทางการ

อะห์มัด อัล บันนา (Ahmad al Banna) ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตของ UAE ประจำอินเดียกล่าวว่าเรื่องแคชเมียร์เป็น “เรื่องภายใน” ของอินเดีย   มกุฎราชกุมาร มุฮัมมัด บินสัลมาน (Muhammad bin Salman) หรือ MBS มีความสนิทสนมกับโมดีถึงขั้นที่โมดี เรียกเขาว่า “น้องชาย”  ถึงเวลานี้ ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ได้ลดความสำคัญของปาเลสไตน์ลง  ปัญหาแคชเมียร์ก็เช่นกันได้ถูกลดความสำคัญจากประเทศทั้งสองลงไปได้ไม่นาน

อิหร่าน ซึ่งมีชายแดนติดกับปากีสถาน ก็ยังเงียบอยู่เนื่องจากกำลังยุ่งอยู่กับการเผชิญหน้ากับสหรัฐ   อย่างไรก็ตามผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณ อะยาตุลลอฮ์ อะลี คอเมเนอีได้เคยเปรียบเทียบเหตุการณ์ในแคชเมียร์มาก่อนว่าเหมือนกับเหตุการณ์ในเยเมนและบาห์เรน

เขาได้กล่าวเอาไว้เมื่อปี 2017 ว่าแคชเมียร์ต้องการ “การสนับสนุนจากชาติมุสลิมทุกๆ ชาติ”   องค์การความร่วมมืออิสลามหรือ OIC ที่มีกลุ่มทำงานว่าด้วยแคชเมียร์ (OIC Contact Group on Kashmir) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1994 เพื่อประสานงานเกี่ยวกับนโยบายของ OIC ที่มีต่อแคชเมียร์ ได้ออกมาประนามการตัดสินใจยกเลิกมาตรา 370 ของรัฐธรรมนูญอินเดีย   กลุ่มทำงานดังกล่าวมีอาเซอร์บัยญาน ซาอุดีอาระเบียไนเจอร์ ปากีสถานและตุรกีเป็นสมาชิก

OIC ซึ่งเป็นกลุ่มก้อนของประเทศอิสลาม 57 ประเทศ และมีจุดยืนที่เข้มแข็งในการต่อต้านอินเดียในเรื่องนี้  กระนั้นอินเดียมองว่า OIC เป็นกลุ่มก้อนที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง

ในคณะที่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระหว่างประเทศ (International Commission of Jurists) หรือ ICJ ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียง  ได้ออกแถลงการณ์ต่อต้านการยกเลิกเขตปกครองอิสระและสถานะพิเศษของรัฐจัมมูและแคชเมียร์  โดยการยกเลิกเขตปกครองดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิการเป็นตัวแทนและการมีส่วนร่วมของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญของอินเดียและกฎหมายระหว่างประเทศ

ICI กล่าวว่าการเคลื่อนไหวของรัฐบาลอินเดียเป็นการทำลายหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชนในรัฐและในอินเดีย  ทั้งนี้แถลงการณ์ของ ICI ได้วิพากษ์รัฐบาลอินเดียที่ผลักดันผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  ซึ่งค้านกับมาตรฐานภายในประเทศและภายนอกประเทศ

อย่างไรก็ตาม ICI ก็แสดงความหวังว่าระบบศาลยุติธรรม ของอินเดียจะติดตามอย่างใกล้ชิดในข้อเสนอของรัฐบาลที่จะยกเลิกมาตรา 370 ของรัฐธรรมนูญอินเดีย

แถลงการณ์ของ ICI ยังอ้างถึงรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งพูดถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงในหุบเขา

ICI ได้ตำหนิขั้นตอนทางกฎหมายที่นำมาใช้ในรัฐจัมมูและแคชเมียร์และเรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียปฏิบัติตามข้อแนะนำของสหประชาชาติ   ทั้งนี้รายงานของ UNHCR ได้สนับสนุนรัฐบาลอินเดียให้เคารพสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (self-determination) ของประชาชนชาวแคชเมียร์  ซึ่งได้รับการปกป้องโดยกฎหมายระหว่างประเทศ

ในแถลงการณ์ของวันที่ 8 สิงหาคม 2019 เลขาธิการสหประชาชาติ  อันโตนีโอ กูเตอร์เรสต์ (Antonio Guterrest) ได้เรียกร้องทุกฝ่ายให้หลีกเลี่ยงขั้นตอนที่จะนำไปสู่ผลกระทบต่อสถานะของจัมมูและแคชเมียร์

แถลงการณ์ได้แสดงอย่างชัดเจนถึงจุดยืนของสหประชาชาติที่มีต่อแคชเมียร์ว่าวางอยู่บนกฎบัตรและมติของสภาความมั่นคงสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องในประเด็นนี้

กูเตอร์เรสยังได้เรียกร้องให้อินเดียและปากีสถาน แสดงความอดกลั้นในประเด็นนี้อย่างที่สุด  ในขณะที่มีการหาแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาดินแดนแคชเมียร์ที่มีมายาวนานมาถึง 70 ปี แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้มาจนถึงทุกวันนี้

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *