คำสอนพระไพศาล วิสาโล
คำสอนพระไพศาล วิสาโล
โดยพระไพศาล วิสาโล
คำสอนพระไพศาล วิสาโล คือพระภิกษุ นักบวชในพระพุทธศาสนาที่นำธรรมะของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้ หยิบยืมมาแล้วเทศนาสั่งสอนแทนพระพุทธเจ้า และยังเผยแผ่ในอีกหลายรูปแบบ การแสดงธรรมผ่านสื่อ งานเสวนา หนังสือ บทความ และอื่น ก่อนที่จะเข้าใจ คำสอนพระไพศาล วิสาโล ควรที่จะเข้าใจว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไรเสียก่อน ธรรมะ หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม,
ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที่ ศาสนาพุทธเรียกธรรมว่าพระธรรม คือหลักความเป็นไปของโลก เน้นความจริงที่เกิดขึ้นกับโลก การเกิด ดับ ไม่มุ่งเน้นความสบาย พระพุทธศาสนาสอนให้มุ่งเน้นในส่วนที่โลกกำลังดำเนินอยู่ เกี่ยวพัน เกี่ ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาจะพบคำว่า ธรรมและวินัย ควบกันไปเช่นพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า
” อานนท์ ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา “
หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
คำว่า ธรรมะ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คือ สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ ธรรมะ อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น แม้จะมีจำนวนมากมาย แยกแยะเป็นหลายประเภท หากบุคคลรู้จักเลือกสรรเอาหัวข้อธรรมมาปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและชีวิตของตน ครอบครัว และสังคมแล้ว ย่อมจะเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของศาสดาผู้นำหลักธรรมมาประกาศ หลักธรรมอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ล้วนเป็นจริง เป็นสิ่งที่พาไปสู่ความสงบสุข และประโยชน์เกื้อกูล คุณของพระธรรมที่เรียกว่า “ธรรมคุณ” สรุปได้ 6 ประการคือ
1. สฺวากขาโต ภควา ธมฺโม แปลว่า พระธรรมอันธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว คือ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น(ละชั่ว : ประพฤติศีล) งามในท่ามกลาง (ทำดี : สมาธิ) และงามในที่สุด (ทำใจให้บริสุทธิ์ : ปัญญา) พร้อมทั้งอรรถ (เนื้อความ, ใจความ)พร้อมทั้งพยัญชนะ (อักษร) ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
2. สนฺทิฏฺฐิโก แปลว่า อันผู้ปฏิบัติธรรมจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติธรรม ผู้ใดบรรลุธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำบอกของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติธรรม ไม่บรรลุธรรม ถึงผู้อื่นจะบอกก็เห็นชัดเจนไม่ได้
3. อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยกาล คือ การปฏิบัติธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า ความเจริญเป็นอยู่อย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้นไม่จำกัดด้วยกาลเวลา
4. เอหิปสฺสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ได้ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง
5. โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา คือ ควรน้อมนำหลักธรรมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงหลักธรรม ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่าเชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดู อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือ นิพพาน
6. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิติ แปลว่า อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตนเองเท่านั้น หรือรู้ได้จำเพาะตน ต้องทำ ต้องปฏิบัติ จึงรับรู้หรือรู้ได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้น เป็นหลักให้แก่การดำเนินชีวิตของเราเมื่อเราปฏิบัติถูกต้องตามธรรมนั้น ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ของเราก็จะเจริญปรากฏออกมา จนกระทั่งเราเข้าถึงความจริงของธรรมชาติมีชีวิตที่ดีงามมีความสุขอย่างแท้จริง พระธรรมจึงเป็นรัตนะที่ 2 ในพระรัตนตรัย ดังนั้นผู้ปฏิบัติธรรมจะได้รับผลดังนี้
1. รักษาผู้ปฏิบัติธรรมให้อยู่เย็นเป็นสุข
2. เป็นดุจอาภรณ์ประดับใจให้งดงาม
3. พัฒนาคนไปสู่ความเป็นกัลยาณชน
4. ขจัดความชั่วออกจากจิตใจ