jos55 instaslot88 Pusat Togel Online มหาตมะ คานธี โมเดลบทบาทแก่ผู้ประกอบการเพื่อสังคมทั่วโลก - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

มหาตมะ คานธี โมเดลบทบาทแก่ผู้ประกอบการเพื่อสังคมทั่วโลก

มหาตมะ คานธี โมเดลบทบาทแก่ผู้ประกอบการเพื่อสังคมทั่วโลก

บางแห่งภายในโลกปัจจุบันนี้ บุคคลกำลังทุ่มเทชีวิตของเขาต่อสังคมหรือความไม่ยุติธรรมที่กดดัน ที่พวกเขาเชื่อว่าต้องแก้ไข พวกเขาจะต่อสู้กับ
การเลือกปฏิบัติต่อบุคคล การขาดน้ำดื่มที่สะอาด หรือการจัดหาการศึกษา
ที่มีคุณภาพแก่บุคคลวัยหนุ่มสาว พวกเขาได้ถูกบันดาลใจโดยมหาตมะ คานธี
แต่อ่านจากหนังสือของ ซี เค พราฮาลาด และพัฒนาโมเดลธุรกิจคล้ายกับ
มูฮัมหม้ด ยูนุส
เมื่อ ค.ศ 2019 โลกได้ฉลองวันเกิด 150 ปี ของมหาตมะ คานธี ตลอดเส้นทางชีวิตของเขา มหาตมะ คานธี ได้นำการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เขาได้กลายเป็นโมเดลบทบาทแก่ผู้นำการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่บรรลุความสำเร็จของศตวรรษที่
20 ตั้งแต่มาร์ติน ลูเธอ คิง เลช วาเลซา ซีซาร์ ชาเวส และเนลสัน มานเดลา
มากกว่าใครก็ตามภายในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ มหาตมะ คานธีสามารถที่จะสร้างองค์การและระดมบุคคลสิบล้านคนภายในการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสรภาพและความเสมอภาค
ทั่วทุกมุมโลก ผู้ประกอบการเพื่อสังคมและนักเคลื่อนไหววัยหนุ่มสาวกำลังทุ่มเทชีวิตของพวกเขาที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งที่พวกเขาเชื่อ ไม่ว่ามันจะเป็นการกดดันทางสังคมหรือความไม่ยุติธรรมทางการเมือง
ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กำลังต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติ การสร้างข้อแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ และการผลักดันเพื่อการออกกฏหมายใหม่ เราจะมีสิ่งหนึ่งที่พวกเขาทุกคนมีร่วมกัน และนั่นคือโมเดลบทบาทของพวกเขาคือ มหาตมะ คานธี
อัลเบิรติื ไอน์สไตน์ ได้ยกย่องมหาตมะ คานธี ด้วยการกล่าวว่า คนรุ่นหลังที่จะมาถึง…… ยากที่จะเชื่อมนุษย์ที่มีเนื้อหนังมังสาอย่างคานธีจะเดินอยู่บนโลกนี้ แนวคิดสัตยาเคราะห์ของคานธีี หมายถึงการยึดมั่นต่อความจริง ได้ดึงดูดอัลเบิรตไอน์สไตน์อย่างมาก
มหาตมะ คานธีได้ใช้วิธีการต่อต้านแบบไม่ต่อสู้ภายในการเคลื่อนไหวและได้เปลี่ยนมาใช้ถ้อยคำว่าสัตยาเคราะห์ สัตยาเคราะห์เกลือหรือการเดินขบวนเกลือ เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ 1930 ภายในอินเดีย เป็นความไม่เชื่อฟังของประชาชนนำโดยมหาตมะ คานธีที่จะประท้วงการปกครองของอังกฤษภายในอินเดีย
ชาวอินเดียจำนวนมากได้เดินตามคานธีระยะทาง 240 ไมล์ – 384 กิโลเมตร การรณรงค์การต่อต้านภาษีเกลือและการประท้วงที่ไม่ใช้ความรุนแรงต่อต้านการผูกขาดเกลือของอังกฤษ การเดินขบวนทำให้เกิดการจับกุมบุคคลเกือบ 60,000 คน รวมทั้งตัวคานธีด้วย ในที่สุดอินเดียได้รับอิสระภาพเมื่อ ค.ศ 1947 กฏหมายเกลือของอังกฤษเมื่อ ค.ศ 1882 ได้ห้ามชาวอินเดียจากการเก็บเกลือหรือการขายเกลือ อาหารหลักของชาวอินเดีย
ชาวอินเดียได้ถูกบังคับให้ซื้อเกลือจากผู้ปกครองอังกฤษของพวกเขา นอกเหนือจากการผูกขาดต่อการผลิตและการขายเกลือ และได้เรียกเก็บภาษีเกลือที่สูงด้วย คนยากจนของอินเดียได้ทุกข์ยากภายใต้ภาษีเกลือ เนื่องจากชาวอินเดียทุกคนต้องการเกลือ
การรณรงค์สัตยาเคราะห์เกลืออยู่บนพื้นฐานหลักการคานธีของการต่อต้านไม่ใช้ความรุนแรงเรียกว่าสัตยคราหะ หมายถึงพลังความจริง มาจากภาษาสันสกฤติ สัตยะ แปลว่า ความจริง และอาครหะ แปลว่า การยึดมั่น
ทุกครั้งที่เราได้อ่านการยกย่องคานธีของไอน์สไตน์ มันทำให้ความเชื่อของเราเข้มแข็งขึ้นเกี่ยวกับผู้ประกอบการเพื่อสังคมทุกคน ไม่ว่าพวกเขากำลังทำงานภายในหมู่บ้านเล็กที่จะแก้ปัญหาทางสังคม หรือกำลังนำนวัตกรรมที่จะแก้ปัญหาของชุมชนที่ไม่เคยแก้ไขโดยรัฐบาลหรือพลังทางตลาด พวกเขาเป็นมนุษย์ไม่ธรรมดาที่ให้ความมุ่งหมายมาก่อนกำไร และทำงานอย่างไม่ย่อท้อที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคและความยุติธรรมภายในชีวิตจำนวนมากที่พวกเขาได้สัมผัส
มหาตมะ คานธี ได้มีคำพูดอ้างอิงว่า ครั้งแรกพวกเขาไม่สนใจเรา จากนั้นพวกเขาจะหัวเราะเรา พวกเขาต่อสู้เรา จากนั้นเราจะชน นี่จะเป็นความจริงเมื่อผู้ประกอบการกำลังเริ่มต้นธุรกิจของพวกเขา ผู้ก่อตั้งจะต้องผ่านช่วงเวลาที่ยุ่งยาก เมื่อพวกเขาต้องดำเนินการความคิดสตารทอัพของพวกเขา และชักจูงผู้มีส่วนได้คนอื่น
วันเกิดคานธีเป็นวันที่สำคัญภายในประวัติศาสตร์อินเดีย สัญลักษณ์การเกิดชองบิดาแห่งชาติ ที่หลักการของความจริง ความซื่อสัตย์ ความเรียบง่าย
ได้บันดาลใจผู้ประกอบการจำนวนมากจนถึงวันนี้ การเคลื่อนไหวของคานธีได้เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ 1918 เพื่อการส่งเสริมความคิดที่ชาวอินเดียสามารถผลิตเสื้อผ้าของพวกเขาเองด้วยทรัพยากรท้องที่โดยไม่ต้องอาศัยเสื้อผ้าต่างประเทศต้นทุนสูง การเคลื่อนไหวได้แสดงชาวอินเดียต้องการอิสรภาพและสามารถพึ่งพาตัวเองและควบคุมตัวเอง
มหาตมะ คานธี ได้กล่าวว่า โลกมีทรัพยากรเพียงพอต่อความต้องการของเรา แต่ไม่เพียงพอต่อความโลภของเรา คานธีไม่เพียงแต่ทำงานมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในสังคมอินเดียเท่านั้น เขาได้กระตุ้นบุคคลที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย
สตารทอัพทำงานที่จะแก้ปัญหาภายในสังคม การทำให้ชีวิตง่ายขึ้นแก่บุคคล
และทำการเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศสตารทอัพที่เจริญเติบโตกำลังมองที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่รวดเร็วและยกระดับขึ้น ดังนั้นการเดินตามหลักการของคานธีที่จะรักษาความมุ่งมั่นอย่างเข้มแข็งที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
จะสำคัญต่อผู้ประกอบการ
ทำนองเดียวกับการสัตยาเคราะห์เกลือของอินเดียได้ถูกสรรเสริญไปทั่วโลกต่อความผูกพันที่แน่นอนของชาติที่จะไม่ใช้ความรุนแรง เราจะมีคลื่นของเทคโนโลยี ชีววิทยาศาสตร์ และการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมบันดาลใจโดยการสอนของคานธีที่ถูกยกย่องไปทั่วโลกเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก
เครื่องมือที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสังคมตามมุมมองของมหาตมะ คานธี คือ หลักการและการปฏิบัติของสวาเดซีื หมายถึงการพึ่งพาตนเอง
และการเลี้ยงตัวเองได้ ณ ระดับของบุคคล หมู่บ้าน และประเทศ ด้วยการทำตามหลัการของสวาเดซี่ ความเชื่อมั่นและความเจริญรุ่งเรืองของชาติสามารถถูกรับรองได้ การเคลื่อนไหวของคาดีของคานธี ได้เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ 1918 เพื่อที่จะส่งเสริมความคิดที่ชาวอินเดียสามารถผลิตเสื้อผ้าของพวกเขาเองด้วยทรัพยากรท้องที่ ไม่ต้องพึ่งพาเสื้อผ้าต่างประเทศต้นทุนสูง คาดีหมายถึงเสื้อผ้าปั่นด้วยมือและทอด้วยมือ คาดีจะมีความหมายที่ลึึกซึ้งมากภายในอินเดีย มันไม่ได้เป็นเพียงผ้าที่ทอด้วยมืออย่างเรียบง่าย มันจะเป็นการเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง การเคลื่อนไหวคาดีได้ส่งเสริมอุดมการณ์ที่ชาวอินเดียสามารถพึ่งพาตัวเองบนฝ้าย และเป็นอิสระจากเสื้อผ้าต่างประเทศ อังกฤษซื้อฝ้ายราคาถูกจากอินเดีย ส่งออกมันไปยังกฤษเพื่อทอเป็นเสื้อผ้า เสื้อผ้าเหล่านี้ถูกส่งกลับมาที่อินเดีย และขายราคาที่แพง
การเคลื่อนไหวคาดีมุ่งที่การต่อต้านสินค้าต่างประทศรวมทั้งฝ้าย และส่งเสริมสินค้าอินเดีย เพื่อการปรับปรุงเศรษฐกิจของอินเดีย มหาตมะ คานธี ได้เริ่มต้นส่งเสริมการทอคาดี เพื่อการจ้างงานตัวเองภายในชนบทและการพึ่งพาตนเองภายในอินเดีย ไม่ใช่การใช้ผ้าที่ผลิตจากอุตสาหกรรมภายในอังกฤษ
การทำให้คาดีเป็นส่วนที่สำคัญและสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวสวาเดซี่
การพัฒนาความคิดของคานธีเกี่ยวกับถ้อยคำคาดีเป็นผ้าเพื่อเอกราชของอินเดีย และเป็นทั้งสัญลักษณ์ของการเลี้ยงตัวเองทางเศรษฐกิจ และสื่อกลางเพื่อการสื่อสารต่ออังกฤษถึงศักดิ์ศรีของความยากจนและความเสมอภาคของอารยธรรมอินเดีย
มหาตมะ คานธี ได้ริเริ่มแนวคิดของสังคมซาร์โวดายา แปลว่า ความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน ความก้าวหน้าของทุกคน เขาไม่สนใจถ้าเราจะเป็นฮินดู พุธ คริสเตียน ยิว หรือมุสลิม เขาไม่สนใจถ้าเราจะเป็นขาว หรือดำ แดง น้ำตาล หรือเหลือง เขามีวิสัยทัศน์ประเภทของสังคมที่ดำรงชีวิตอย่างสันติภาพระหว่างกันและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
มหาตมะคานธี ระหว่างช่วงชีวิตของเขา ได้ต่อสู้บนความคิดของการมีชีวิตอยู่ด้วยการประกาศของตัวเขาเองว่า เราต้องเปลี่ยนแปลงตามที่เราต้องการมองเห็นภายในโลก เขาได้ปลุกทุกเซลล์ของเขาให้อยู่กับความมุ่งหมายนี้ และใช้มันเพื่อการปฏิรูปตัวเขาเอง การปฏิรูปนี้มีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงโลก การทดลองทุกอย่างของคานธีจะเริ่มต้นด้วยตัวเขาเอง เเละเขาจะนำประสบการณ์ของเขาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
ความเชื่อมั่นตนเองจะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรจะรับไว้ เพื่อที่จะเอาชนะความท้าทายที่เข้ามาภายในวิถีทางของความก้าวหน้าของพวกเขา บุคคลควรจะชื่นชมและเดินตามคือ หลัการความเชื่อมั่นตนเองของคานธี โดยเฉพาะเมื่อรูัว่าเขากำลังเดินตามเส้นทางที่ไม่ธรรมดาอย่างมากและไม่ได้ถูกสำรวจ ด้วยกลยุทธ์ที่ไม่เคยถูกพิสูจน์ความสำเร็จเวลาไหนมาก่อน ผู้ประกอบการทุกคนควรจะซึมซับค่านิยมนี่ไว้ โดยเฉพาะภายในสภาพแวดล้อมของสตารทอัพ เมื่อเรากำลังดำเนินการความคิดที่ไม่เคยพยายามและทดสอบ ผืดธรรมดาและอยู่ภายนอกกล่องอย่างแน่นอน
เรามีหลายสิ่งที่ผู้ก่อตั้งสตารทอัพสามารถเรียนรู้จากมหาตมะ คานธี บทเรียนที่สำคัญอย่างหนึ่งจากมหาตมะ คานธี คือ ความเป็นผู้นำ เขาจะสนับสนุนและซื่อสัตย์ต่อบุคคลรายรอบเขา และมักจะกระตุ้นพวกเขาให้พูดตรงไปตรงมากับเขา คานธีจะเป็นอุดมการณ์แห่งแรงบันดาลใจ ผู้ประกอบการเพื่อสังคมจะต้องมีทักษะเหมือนเช่น ความซื่อสัตย์ ความอดกลั้น ความแน่นอน
ความเห็นอกเห็นใจ มหาตมะ คานธี มีทักษะเหล่านี้ทุกอย่าง
ผู้ประกอบการจะต้องปลูกฝังทักษะของการมองภาพใหญ่ แทนการไล่ล่ากำไรระยะสั้น เราต้องใคร่ครวญตัวเองเหมือนที่คานธีได้ทำอย่างสม่ำเสมอ
การประมาณการเคลื่อนไหวตามผลกระทบระยะยาว เขาไม่เคยสูญเสียการมองเห็นของสิ่งที่เขาฝันถึงอินเดียภายหลังจากอิสรภาพ
หลักการของมหาตมะ คานธีบันดาลใจบุคคลที่จะทำการเปลี่ยนแปลง ด้วยหลักการของความจริงและการไม่ใช้ไม่รุนแรง คานธีได้ทำการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมผ่านทางความมุ่งมั่นของเขาและความรักบุคคล ปรัชญาและบทเรียนของเขาได้จูงใจผู้นำที่ยิ่งใหญ่เหมือนเช่น มาร์ติน ลูเธอร์ คิง และเนลสัน แมนเดลา ที่จะผลักดันการปฏิรูปภายในชุมชนของพวกเขาเองถึงแม้ว่าเป็นไปได้น้อย
เรามีเหตุผลหลายอย่างที่ผู้ประกอบการ นักเคลื่อนไหว และผู้นำวัยหนุ่มสาวมองที่มหาตมะ คานธีเป็นโมเดลบทบาทของพวกเขา ความคิดร่วมกันเหมือนเช่นคานธี คือพวกเขากำลังใช้วิถีทางใหม่ – วิถีทางของผู้ประกอบการ ที่จะจัดการความไม่ยุติธรรมหรือปัญหาทางสังคมที่บาดตา
มหาตมะ คานธี ได้จัดระบบชีวิตของเขา และความเป็นผู้นำของเขา ล้อมรอบค่านิยมส่วนบุคคลและความผูกพันที่ไม่เคยลังเล ความผูกพันตลอดชีวตของเขาต่ออิสรภาพ ความเสมอภาค ความหลากหลาย และการให้อำนาจทางเศรษฐกิจ แสดงตัวมันเองผ่านทางความเชื่อส่วนบุคคลและพฤติกรรมของเขาเอง ความเรียบง่ายของหลักการของคานธีและความสม่ำเสมอที่เขาได้ประยุกต์ใช้มันยังคงเป็นวิธีการดีที่สุดของความเป็นผู้นำ ต่อผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทะเยอทะยานใครก็ตามจะดำเนินตาม
การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมจะเป็นการแต่งงานระหว่างเทคนิคทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและสิ่งที่ดีทางสังคม เป็นบางสิ่งบางอย่างที่มหาตมะ คานธี ได้บุกเบิก เราสามารถยืนยันได้ว่ามหาตมะ คานธีเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ผู้ประกอบการเพื่อสังคมไม่ได้เป็นเพียงแต่เกี่ยวกับองค์การสาธารณะประโยชน์สมัยเดิม แต่พวกเขากำลังใช้เทคนิคใหม่ สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ

ซี เค พราฮาลาด ได้กล่าวว่าเมื่อเปิดโทรทัศน์ของเรา เราจะมองเห็นการขอเงินที่จะช่วยเหลือคนยากจน 4 พันล้านคนของโลก – บุคคลที่ดำรงชีวิตด้วยเงินต่ำกว่า 2 เหรียญต่อวัน ที่จริงแล้วการร้องขอจะสม่ำเสมอและความต้องการจะเรื้อรังที่บุคคลจำนวนมากจะกลับกลายภาพเหล่านี้เป็นข่าวสาร ธนาคารโลกได้บริจาคแก่ประเทศยากจนมาตลอด แต่ไม่สามารถกำจัดความยากจนได้
ซี เค พราฮาลาดได้พิมพ์หนังสือของเขาชื่อ The Fortune at the Bottom of the Pyramid เขาได้ยืนยันว่าบริษัทข้ามชาติไม่เพียงแต่สามารถทำเงินจากการขายแก่คนยากจนที่สุดของโลกแล้ว แต่ความพยายามเหล่านี้จะจำเป็น
เป็นวิถีทางอย่างหนึ่งที่จะปิดช่องว่างมากขึ้นระว่างประเทศร่ำรวยและยากจน จุดสำคัญข้อยืนยันของเขา
ต่อการมุ่งเป้าหมายคนยากจนที่สุดของโลกคือ ขนาดที่แท้จริงของตลาดนั้น
– ประมาณบุคคลสี่พันล้านคน ความมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้ต้องการจะเปลี่ยนแปลงภาพที่เคยชินบนทีวี มันจะแสดงว่าภาพของความยากจนโดยทั่วไปจะปิดบังข้อเท็จจริงที่คนยากจนยากจะแสดงคุณค่าและผู้ประกอบการ
ที่ปรับตัวได้ – ลูกค้าที่มีสติ
แนวคิดของบีโอพี ได้เข้ามาสู่คำศัพท์เฉพาะของเรา ภายในช่วงเวลาของ
แฟรงคลิน โรสเวลท์ อดีตประธานาธิบดีของอเมริกา คนงานของบริษัทใหญ่ไม่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ที่พวกเขากำลังผลิตได้
การสันนิษฐานว่าพวกเขาได้ถูกกำหนดราคาแพงเกินไป และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ แฟรงคลิน โรสเวลท์ไม่เชื่อว่านี่จะเป็นความจริง จุดมุ่งของเขาในฐานะของประธานาธิบดีควรจะถูกสร้างจากล่างขึ้นบน และสร้างโอกาสเพื่อระดับล่างของพีระมิด
ปัจจุบันนี้เราได้ใช้บีโอพีที่จะอ้างถึงบุคคล 4 ล้านคนที่มีรายได้ไม่ถึง 1,500 เหรียญต่อปี ผู้ประกอบการเพื่อสังคมจะมุ่งการเข้ามาสู่ตลาดนี้
และมันไม่ได้เป็นเพียงแค่ตลาดอะไรก็ตาม มูลค่าของมันได้ถูกประมาณไว้ 5 ล้านล้านเหรียญ การสร้างตลาดที่ไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ใหญ่ที่สุดภายในโลก ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการเพื่อสังคมนำเข้ามาได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของลูกค้าเหล่านี้
เราทุกคนจะได้ประโยชน์เมื่อบุคคลมากขึ้นมีส่วนร่วมภายในเศรษฐกิจ ซี เค พราฮาลาด ได้เขียนเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ภายใน The Fortune at the Bottom of the Pyramid เมื่อเขาได้นำตลาดโลกนี้มาสู่แถวหน้าครั้งแรก หนังสือจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงเกม บิลล์ เกตส์ ได้อ้างหนังสือเล่มนี้เป็นพิมพ์เขียวที่น่าสนใจ เพื่อที่จะต่อสู้ความยากจนด้วยการทำกำไรอย่างไร
ภายในทศวรรษนับแต่นั้นมา บริษัทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกแบบโดยเฉพาะเพื่อบุคคลรายได้ต่ำกว่า 2 เหรียญต่อวัน มันจะไม่ง่ายเลย เนื่องจากต้นทุนคงที่ จะลดลงตามขนาด เราต้องการลูกค้าจำนวนมาก เพื่อการลงทุนที่จะมีผลตอบแทน การตลาดต่อบีโอพีต้องการวิถีทางใหม่ทั้งหมดต่อการตลาด
เมื่อ ค.ศ 1953 ระหว่างการประชุมของสมาคมการตลาดอเมริกัน นิล บอร์เด็น นักวิชาการ คณะบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด ได้สร้างถ้อยคำใหม่ “ส่วนประสมทางการตลาด” มันยังคงถูกใช้อยู่จนถึงวันนี้ ถ้อยคำส่วนประสมทางการตลาดได้กลายเป็นที่นิยมแพร่หลาย ภายหลังจากที่ นิล บอร์เด็น ได้พิมพ์บทความของเขา The Concepts of the Marketing Mix เมื่อ ค.ศ 1964
ต้นกำเนิดของ 4Ps สามารถย้อนหลังไปถึงปลาย ค.ศ 1940 บุคคลแรกที่ได้กล่าวถึงส่วนประสม ได้ถูกอ้างถึงนักวิชาการการตลาด มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจมส์ คูลลิตัน
เมื่อ ค.ศ 1948 เจมส์ คูลลิตัน ได้พิมพ์บทความ The Management of Marketing Costs
เขาได้พรรณาผู้บริหารการตลาดเป็นผู้ผสมของส่วนประสม ต่อมาเพื่อนร่วมงานของเจมส์ คูลลิตัน นิล บอร์เด็น ได้พิมพ์บทความของเขาตามมากล่าวถึงรายละเอียดประวัติเริ่มแรกของส่วนประสมทางการตลาด นิล บอร์เด็น ยืนยันว่าเขาได้ถูกบันดาลใจจากความคิดผู้ผสมของคูลลิตัน และยกย่องตัวเขาเองด้วยความนิยมแพร่หลายของแนวคิดของส่วนประสมทางการตลาด
แม้ว่าความคิดของนักการตลาดเป็นผู้ผสมของส่วนประสมได้รู้จักกันดี นักการตลาดไม่สามารถบรรลุการเห็นพ้องอย่างแท้จริงเกี่ยวกับองค์ประกอบอะไรควรจะรวมเข้าไว้ภายในส่วนประสม จนกระทั่ง ค.ศ 1960 4Ps ภายใต้รูปแบบใหม่ได้ถูกนำเสนอครั้งแรกโดย เจอร์โรม แมคคาร์ธี
ภายในบทความของนิล บอร์เดน เขาได้ระบุ
ส่วนประสมเหล่านี้ท่ามกลางตัวอื่นหลายตัวเป็นผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่าย
การวางแผน การกำหนดราคา การสร้างตราสินค้า การโฆษณา การบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการขาย การนำแสดง และการขายส่วนบุคคล เจอร์โรม แมคคาร์ธี ได้รวมกลุ่มส่วนประสมเหล่านี้เป็นส่วนประสมการตลาด 4Ps
– ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย
เขาได้นำเสนอมันภายในวิถึทางการบริหารที่ครอบคลุมการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค การวิจัยตลาด การแบ่งส่วนตลาด และการวางแผน
ฟิลลิป คอตเลอร์ ได้ทำให้วิถีทางนี้แพร่หลาย และช่วยแพร่กระจาย 4Ps
4Ps ของเจอร์โรม แมคคาร์ธี ได้ถูกรับเข้าไว้อย่างกว้างขวางทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติทางการตลาด ส่วนประสมการตลาดต้นกำเนิดหรือ 4Ps ที่นำเสนอเริ่มแรกโดยเจอร์โรม แมคคาร์ธี ได้ให้กรอบข่ายเพื่อการตัดสินใจทางการตลาด นับแต่นั้นมาได้กลายเป็นกรอบข่ายยาวนานที่สุดและยอมรับอย่างกว้างขวางภายในการตลาด
เพื่อที่จะก้าวออกไปจากการคิดสมัยเดิม ซี เค พราฮาลาด ยืนยันว่าเราจะต้องปฏิรูปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ภายในกลยุทธ์การตลาดสมัยเดิม
พราฮาลาดมีความคิดเห็นมายาวนานว่ากลยุทธ์การตลาดสมัยเดิมไม่สอดคล้องที่จะตอบสนองตลาดระดับล่างของพีระมิด เขามองว่ากลยุทธ์การตลาดสมัยเดิมเหล่านี้มุ่งที่ความคิดตะวันตกมากเกินไป และไม่ได้รับรู้ต่อลักษณะเฉพาะของตลาดบีโอพีและความหลากหลายที่สูง
ซี เค พราฮาลาด ได้แสดงถึงความต้องการของการเปลี่ยนแปลง : นักการตลาดสมัยเดิมจะดำเนินตามสมการ ต้้นทุน + กำไร = ราคา ที่จะกำหนดราคา ในขณะที่ตรรกที่ถูกต้องภายในโลกของบีโอพี คือ ราคา – กำไร = ต้นทุน พราฮาลาด ได้กล่าวว่า บีโอพี ต้องการการขายผลิตภัณฑ์ ณ ราคาที่ต่ำ ดังนั้นต้นทุนทุกอย่างของบริษัทต้องถูกลดลงอย่างมาก ทุกสิ่งทุกอย่างต้องถูกแคบลงไปสู่แกน และทางเลือกและกระบวนการที่ไม่จำเป็นต้องทิ้งไป
ซี เค พราฮาลาด ได้เสนอแนะวิถีทางของส่วนผสมการตลาดใหม่ : 4As ภายในบทความของเขา Bottom of the Pyramid as a Source of Breakthrough Innovations ภายใน Journal
of Product Innovation Management ค.ศ 2012 ภายในบทความนี้ ซี เค พราฮาลาด ได้ระบุระดับล่างของพีระมิดเป็นแหล่งใหม่ของนวัตกรรมรากฐาน ด้วยการมุ่งความสนใจทางการบริหารต่อการสร้างการรับรู้ การเข้าหา การรับภาระได้ และการหามาได้ : 4As ผู้บริหารสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ตื่นเด้นเพื่อนวัตกรรม เขาได้เสนอแนะว่าข้อจำกัดภายนอกสามารถถูกใช้ประโยชน์ที่จะสร้างกระบะทรายนวัตกรรมที่ผลิตภัณฑ์และโมเดลธุรกิจสามารถถูกสร้างได้ จุดมุ่งของเขาอยู่ที่บีโอพี เป็นแหล่งที่มาของนวัตกรรมที่ล้ำหน้า
การพิจารณายุทธวิธีอะไรที่บริษัทขายผลิตภัณฑ์ของพวกเขาภายในตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ 4Ps คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย ได้ถูกใช้อย่างกว้างขวาง แต่กระนั้นกลยุทธ์เพื่อระดับล่างของพีระมิด ซี เค พราฮาลาด ได้พัฒนาส่วนประสมการตลาดที่แตกต่างกัน เขาได้พิจารณาสถานการณ์ อุปสรรค ความท้าทาย และโอกาสที่เฉพาะของการเข้าไปสู่ภายในตลาดนี้ ดังนั้น ซี เค พราฮาลาด ได้เสนอแนะกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดหรือโมเดล 4 As คือ การรับรู้ การเข้าสู่ การรับภาระได้ และการหามาได้ ที่สอดคล้องเพื่อการเข้าสู่ตลาดระดับล่างของพีระมิด

ยิ่งกว่านั้นการลงทุนของเอ็มเอ็นซี ณ ระดับล่างของพีระมิด หมายถึงยกบุคคลพันล้านคนออกจากความยากจนและความหมดหวัง ป้องกันความเสื่อมโทรมทางสังคม ความวุ่นวายทางการเมือง การก่อการร้าย และความล่มสลายทางสิ่งแวดล้อม เราจะต้องดำเนินอยู่ต่อไป ถ้าช่องว่างระหว่างประเทศร่ำรวยและยากจนได้กว้างขึ้นอยู่ต่อไป
การทำธุรกิจกับคนยากจนที่สุด 4 ล้านคนของโลก -สองในสามของพลเมืองโลก ต้องการนวัตกรรมที่ลึกซึ้งภายในเทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจ มันจะกำหนดให้เอ็มเอ็นซีประเมินราคาใหม่ มันต้องการระดับใหม่ของประสิทธิภาพของเงินทุน และวิถีทางใหม่ของการวัดความสำเร็จทางการเงิน บริษัทจะถูกบังคับให้ปฏิรูปความเข้าใจขนาดของพวกเขาจากความคิด “ยิ่งใหญ่ยิ่งดี” ไปสู่การดำเนินงานขนาดเล็กที่กระจาย
ซี เค พราฮาลาด ได้กล่าวถึงตัวอย่างของบริษัทที่ได้ใช้หลักการของเขาคือ เน็ตบุค คอมพิวเตอร์ 200 เหรียญที่กำลังขายดีเทน้ำเทท่าภายในอเมริกา ขายได้มากกว่าสองล้านเครื่องต่อปี ความคิดเริ่มแรกคือการมีแลปท็อปที่เหมาะสม
ล้ำหน้าพอสมควรแก่คนยากจนภายในประเทศเหมือนเช่นอินเดีย ดังนั้นความคิดไม่เพียงแต่บรรลุความสำเร็จภายในอินเดีย มันได้เดินทางกลับไปยังอเมริกาและบรรลุความสำเร็จอย่างมาก เราจะมีเรื่องราวทำนองนี้หลายเรื่องของนวัตกรรมมาจากระดับล่างของพีระมิด
ซี เค พราฮาลาด ได้เสนอแนะโมเดล 4As เพื่อการเข้าไปสูตลาดระดับล่างของพีระมิดคคือ
1 การเรับรู้ – Awareness
สิ่งแรกที่เราจะต้องทำกับตลาดบีโอพีคือ การสร้างการรับรู้ของผลิตภัณฑ์ โดยพื้นฐานการรับรู้จะถ่ายทอดลงมาที่จะมั่นใจว่าบุคคลทุกคนที่นี่เข้าใจว่ามันหามาได้และรู้จะใช้มันอย่างไร การสร้างการรับรู้จะซับซ้อนด้วยข้อเท็จจริงว่าบุคคลจำนวนมาก ณ ระดับล่างของพีระมิดอยู่ภายในบริเวณมืดสื่อ และไม่รู้หนังสือ
และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาส่วนน้อย ภายในระดับล่างของพีระมิด ปากต่อปาก อะไรที่พูดโดยบุคคลที่พวกเขารู้จักและไว้วางใจ และลำดับชั้นตำแหน่งที่รับรู้ภายในชุมชน จะมีบทบาทที่สำคัญภายในการเพิ่มการรับรู้ เมื่อสื่อสมัยเดิม
มีอยู่น้อย เช่นโทรทัศน์และวิทยุ ด้วยการสร้างการรับรู้ของผลิตภัณฑ์ ลูกค้าและผู้ผลิตของบีโอพีควรจะรู้อะไรที่หามาได้ การนำเสนอและการใช้มันอย่างไร บริษัทต้องค้นหาช่องทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์เพื่อที่จะสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์
2 การเข้าหา – Access
บริษัทควรจะเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งผลิตภัณฑ์ไปเป็นการเข้าหา การเข้าหาหมายถึงความสามารถที่จะเข้าไป ออกไป หรือสื่อสารกับบุคคลบางคน การพัฒนาของการนำเสนอต่อระดับล่างของพีระมิดควรจะพิจารณาขนาดความจำเป็นและศักยภาพที่จะเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า บริษัทควรจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยอมรับข้อจำกัดของระดับล่างของพีระมิด การทำมันให้เป็นไปได้แก่ลูกค้าที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มิฉะนั้นแล้วหามาไม่ได้ การเข้าหาคือ เมื่อลูกค้าอยู่ภายในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าหาผลิตภัณฑ์ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าไม่สามารถถูกขายภายในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าได้ ทำนองเดียวกันพื้นที่ไม่มีถนนจะเข้าหาไม่ได้ด้วยรถบันทุกที่ส่งผลิตภัณฑ์ ดังนั้นลูกค้าภายในพื้นที่ห่างไกลเหล่านี้จะต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้ ความท้าทายที่สำคัญของตลาดบีโอพีจะอยู่ที่ช่องทางการจัดจำหน่ายที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานไม่ดี
3 การรับภาระได้ – Affordability
ลูกค้าระดับล่างของพีระมิดมีรายได้ต่ำ และผลิตภัณฑ์ควรจะสอดคล้องกับกระแสเงินสดของลูกค้า พวกเขาจะได้รับรายได้บนพื้นฐานประจำวัน ไม่ใช่สัปดาห์หรือเดือน เราจะมีกลยุทธ์การกำหนดราคาอยู่สองประเภท กำไรต่ำและปริมาณสูง หรือกำไรสูงและปริมาณต่ำ ระหว่างกลางเราจะมีกลยุทธ์การกำหนดราคาแตกต่างกันที่สามารถถูกใช้โดยบริษัท เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างตัวพวกเขาเองภายในตลาด อุปทานควรจะรับภาระได้ต่อกระเป๋าของคนท้องที่ บริษัทจะต้องแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอสามารถรับภาระได้ บริษัทที่เจริญเติบโตภายในตลาดบีโอพีจะใช้ราคากำไรต่ำแต่ปริมาณขายสูง
พวกเขาจะต้องลดราคาและการใช้งานของผลิตภัณฑ์ลงประมาณ 70% ที่เพียงพอแก่ลูกค้า ในขณะที่ลูกค้าภายในตลาดที่พัฒนาแล้วต้องการผลิตภัณฑ์ใช้งานสูง ตรงกันข้ามตลาดระดับล่างของพีระมิดต้องการผลิตภัณฑ์พื้นฐาน
นี่จะเป็นความท้าทายอย่างแท้จริง หมายความว่าหารราคาผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเลขครึ่งหนึ่ง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ควรจะเรียบง่ายและกำจัดคุณลักษณะที่ไม่จำเป็นที่ไม่ต้องการโดยลูกค้า เทคนิคการเงินที่ผิดแบบแผนและสร้างสรรค์อาจจะถูกต้องการ เช่น การชำระเงินด้วยการผ่อนชำระไม่ใช่การจ่ายทั้งหมด
แก่ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ
4 การหามาได้ – Availability
ผลิตภัณฑ์อะไรที่ถูกผลิตควรจะหามาได้ เพื่อการสร้างฐานลูกค้า ณ ระดับล่างของพีระมิด เราจะต้องมีอุปทานและการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ที่ไม่สะดุด นี่จะเป็นความพยายามที่ท้าทายภายในตลาดที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งที่มั่นคง ลูกค้าบีโอพีจะซื้อผลิตภัณฑ์เมื่อพวกเขามีเงินและผลิตภัณฑ์หามาได้อยู่แล้วภายในตลาดเท่านั้น บริษัทต้องรับรองว่าผลิตภัณฑ์จะหามาได้ตลอดเวลา ผลิตภัณฑ์ควรจะถูกหามาได้ภายในระยะทางเดินได้แก่ลูกค้าบีโอพี เนื่องจากความไม่สามารถของพวกเขาที่จะเดินทางไกล ไม่เหมือนภายในเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ช่องทางการจัดจำหน่ายภายในตลาดบีโอพีจะกระจายหรือไม่มีอยู่เลย ดังนั้นมันจะเป็นที่งานยากต่อการนำผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดบีโอพี พวกเขาจะต้องเอาชนะปัญหาการเข้าหา ด้วยการยืดลูกโซ่อุปทาน ต้นทุนของบริษัทจะเพิ่มสูงขึ้น ช่องทางที่ไม่เป็นทางการเหมือนเช่นเครีอข่ายทางสังคมเชื่อมต่อกับบีโอพีจะสำคัญต่อการหามาได้ของผลิตภัณฑ์ภายในตลาดบีโอพี เพื่อที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์หามาได้ต่อตลาดบีโอพี บริษัทควรจะให้ผู้ประกอบการท้องที่และองค์การที่ไม่เป็นรัฐบาลมีส่วนร่วมภายในระบบการจัดจำหน่ายของพวกเขา

นวัตกรรมแบบลบล้างสามารถให้โอกาสที่ดีที่จะเข้าไปสู่ตลาดระดับล่างของพีระมิดได้บรรลุความสำเร็จ การสร้างสถานการณ์แบบชนะ – ชนะที่บริษัทสามารถทำกำไรและลูกค้าสามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้ การทบทวนวรรณกรรมได้เสนอแนะความต้องการนวัตกรรม
ที่จะใช้ปรับกับผลิตภัณฑ์ให้บรรลุความสำเร็จภายในตลาดบีโอพีเหล่านี้ การวิจัยนวัตกรรมแบบลบล้างได้เสนอแนะว่านวัตกรรมเหล่านี้จะให้โอกาสที่ดีภายในตลาดใหม่ ตรงกันข้ามกับตลาดกระแสหลักของลูกค้า บีโอพีสามารถนำเสนอตลาดใหม่ที่มีศักยภาพต่อบริษัทที่ใช้นวัตกรรมแบบลบล้าง ดังนั้นนักวิชาการที่ศึกษาโอกาสของตลาดบีโอพีจากมุมมองนวัตกรรมได้เอากลับแนวคิดของนวัตกรรมแบบลบล้างสร้างโดยเคลย์ตัน คริสเทนเซ็น ค.ศ 1997 และนำเสนอนวัตกรรมแบบลบล้างเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของความพยายามของการเป็นผู้ประกอบการมุ่งหมายที่บีโอพี
บริษัทกำลังแสวงหาการเจริญเติบโตมากขึ้นภายในระดับล่างของพีระมิด
นั่นคือบุคคลประมาณสี่พันล้านคนมีชีวิตอยู่ภายในตลาดรายได้ต่ำ นวัตกรรมแบบลบล้างได้เปิดประตูตลาดอย่างสำคัญด้วยการแนะนำคนยากจนที่ไม่เป็นลูกค้าจำนวนมากโดยการสร้างผลิตภัณฑ์ราคาถูกลง สะดวกมากขึ้น และใช้ได้ง่ายขึ้น และมีศักยภาพที่จะเจริญเติบโต ณ ตลาดบีโอพี เราจะมีหลาย
ตัวอย่างของนวัตกรรมแบบลบล้างต่อบีโอพีภายในอินเดียที่ถูกเรียกว่านวัตกรรมแบบประหยัดด้วย ตามเคลย์ตัน คริสเตนเซนแล้ว มันจะเป็นนวัตกรรมลบล้างที่ทำให้ญี่ปุ่นเจริญเติบโตภายหลังการล่มสลายจากสงครามโลกครั้งที่สอง และมันจะเป็นนวัตกรรมแบบลบล้างที่สามารถยกประเทศบีโอพีออกจากความยากจนได้
เราไม่มีข้อสงสัยเลยที่นวัตกรรมจำนวนมากกำลังเกิดขึ้นที่บีโอพี เช่น โปรเจ็ค ชาคติ ของยูนิลิเวอร์ – การใช้ผู้ประกอบการหญิงไปขายผลิตภัณฑ์ยูนิลิเวอร์แก่ผู้หญิงภายในหมู่บ้านที่ห่างไกล ได้สร้างจินตนาการสาธารณะอย่างแน่นอน และได้รับความสนใจอย่างมากจากสื่อ
ฮินดูสตาน ยูนิลีเวอร์ ลิมิเต็ด – เอชแอลแอล บริษัทลูกของยูนิลีเวอร์ พีแอลซี ของอังกฤษ และได้ถูกมองอย่างกว้างขวางเป็นบริษัทบริหารดีที่สุดภายในอินเดีย
ได้เป็นผู้บุกเบิกท่ามกลางเอ็มเอ็นซี การสำรวจตลาด ณ ระดับล่างของพีระมิด
นานกว่า 50 ปี เอชแอลแอล ได้ตอบสนองคนร่ำรวยจำนวนน้้อยที่สามารถรับภาระผลิตภัณฑ์ของเอ็มเอ็นซีได้ เมื่อ ค.ศ 1990 บริษัทท้องถิ่น นิร์มา ได้เริ่มต้นนำเสนอผงซักฟอกแก่ลูกค้ายากจนส่วนใหญ่ภายในพื้นที่ชนบท ที่จริงแล้ว
นิร์มา ได้สร้างระบบธุรกิจใหม่ รวมทั้งการคิดสูตรผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตต้นทุนต่ำ เครือข่ายการจัดจำหน่ายอย่างกว้างขวาง การบรรจุภัณฑ์เฉพาะเพื่อการซื้อประจำวัน และการกำหนดราคาตามคุณค่า
เอชแอลแอล เริ่มแรกไม่สนใจกลยุทธ์ของนิร์มา แต่กระนั้นเมื่อนิร์มาได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เอชแอลแอล ได้มองเห็นคู่แข่งขันท้องที่ของพวกเขา
ได้ชนะตลาดที่พวกเขาไม่ได้มอง ในที่สุดเอชแอลแอลได้มองช่องโหว่และโอกาสของมัน เมื่อ ค.ศ 1995 เอชแอลแอลได้ตอบสนองด้วยการนำเสนอเองต่อตลาดนี้ การเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจของพวกเขาอย่างที่สุด
ผงซักฟอกใหม่ของเอชแอลแอลเรียกว่า วีล ถูกผลิตที่จะลดอัตราส่วนของน้ำมันต่อน้ำอย่างมากภายในผลิตภัณฑ์ การตอบสนองต่อข้อเท็จจริงที่คนยากจนมักจะซักผ้าของพวกเขาภายในแม่น้ำและระบบน้ำสาธารณะอื่น เอชแอลแอล ได้กระจายอำนาจการผลิต การตลาด และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ประโยชน์แรงงานเหลือใช้ภายในชนบทอินเดีย การสร้างช่องทางขายอย่างรวดเร็วผ่านร้านค้าเล็กจำนวนมากที่บุคคล ณ ระดับล่างของพีระมิดไปซื้อสินค้า เอชแอลแอล ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างต้นทุนของธุรกิจผงซักฟอกของพวกเขา เพื่อที่พวกเขาสามารถแนะนำวีล ณ ราคาที่ต่ำ
ปัจจุบันนี้นิร์มาและเอชแอลแอล จะเป็นคู่แข่งขันที่ใกล้ชิดภายในตลาดผงซักฟอกด้วยส่วนแบ่งตลาด 38% เท่ากัน นิร์มาได้กลายเป็นผู้ผลิตผงซักฟอกใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก ภายใต้โปรเจ็ค ชาคติ ของเอชแอลแอล พวกเขา
จะมีผู้ประกอบการหญิง 48,000 คน และผู้ประกอบการชาย 3,000 คน ฮิน
สตาน ยูนิลิเวอร ลิมิเต็ด ได้เข้าถึงมากกว่าสามล้านครอบครัวภายในหลายหมู่บ้าน 15 รัฐ โปรเจ็ค ชาคติ ทำให้ผู้หญิงชนบทภายในหมู่บ้านสามารถรักษาความคิดทางการเป็นผู้ประกอบการ และกลายเป็นพึ่งพาตนเอง ภายในความพยายามที่จะหารายได้ประจำ ผู้ประกอบการหญิง – เรียกว่าชาคติ แอมมาส์
ได้ถูกฝึกอบรมหลักการของการบริหารการจัดจำหน่าย และการสร้างความ
คุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์
ชื่อของยูนิลีเวอร์ภายในอินเดียคือ ฮินดูสตาน ยูนิลีเวอร์ ลิมิเต็ด โปรเจ็ค
ชาคติ จะเป็นหนึ่งของการริเริ่มใหม่เจ็ดอย่างที่จะใช้ประโยชน์ลูกค้าจำนวนมากภายในชนบทของอินเดีย ชาคติ หมายถึง ความเข้มแข็ง หรือ พลัง
และเป็นแผนทะเยอทะยานที่จะกระตุ้นอุปสงค์ใหม่ ณ ระดับล่างของตลาด
ด้วยการสร้างวงจรการเจริญเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืนด้วยตนเองผ่านทางการเจริญเติบโตของบุคคล
เอชแอลแอล ได้วางแผนที่จะพัฒนาการเป็นหุ้นส่วนชนะ – ชนะ กับกลุ่มช่วยเหลือตนเองชนบท ด้วยการช่วยเหลือพวกเขาเข้าสู่สินเชื่อรายย่อย ซื้อผลิตภัณฑ์เอชแอลแอล และขายผลิตภัณฑ์แก่หมู่บ้านของพวกเขา ผลิตภัณฑ์จะสร้างงานหลายร้อยงาน ฝึกอบรมผู้ประกอบการใหม่ และขยายการจัดจำหน่ายของเอชแอลแอล ไปสู่หมู่บ้านชนบทของอินเดิยที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ การเจาะภาคที่ไม่เป็นทางการภายในวิถีทางนี้จะเป็นความพยายามที่เสี่ยงภัยต่อเอชแอลแอลด้วย

Cr : รศ สมยศ นาวีการ

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *