เฮนรี่ ฟอร์ด ต้นกำเนิดการผลิตแบบลีน
เฮนรี่ ฟอร์ด ต้นกำเนิดการผลิตแบบลีน
เมื่อ ค.ศ 1972 มาซาโตชิ อิโต ได้เข้าหาเซ้าธ์แลนด์ คอรปอเรชั่น ครั้งแรก
เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการเปิดร้านสะดวกซื้อ เซเวน อีเลฟเวน ภายในญี่ปุ่น ภายหลังจากการปฏิเสธคำร้องขอเริ่มแรกของเขา เซ้าธ์แลนด์ ได้ตกลงภายใน ค.ศ 1973 ต่อข้อตกลงการให้ใบอนุญาติ ภายในการแลก
เปลี่ยนเพื่อ 0.6% ของยอดขายรวม เซ้าธ์แลนด์ได้ให้อิโตสิทธิเพียงราย
เดียวทั่วทั้งญี่ปุ่น เมื่อ ค.ศ 1974 ร้านสะดวกซื้อเซเวน อีเลฟเวน แห่งเเรก
ได้เปิดภายในโตเกียว
ในไม่ช้าการบริหารของยอร์ค เซเวน โค. ได้วางระบบการขายที่รวมร้าน
ของพวกเขาทั่วทั้งญี่ปุ่น ข้อมูลที่รวบรวมได้ถูกใช้อย่างมีประสืทธิภาพ
เพื่อการร่วมข้อมูลท่ามกลางบริษัทและร้าน – โฮเร็นโซ มันได้ถูกใช้เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง – ไคเซน การสต็อคอย่างมีประสิทธิภาพ และการวางผลิตภัณฑ์ – เซตง การบริหารสินคงเหลือที่ดีขึ้นลดความสูญเสีย – เซริ
การทำให้กระบวนการเป็นมาตรฐาน – เซเคทซึ และการตรวจสอบความบกพร่องของกระบวนการอย่างรวดเร็วและแก้ไขมัน – เซโซ
5 เอส : 5 ส เป็นวิธีการจัดระเบียบสถานที่ทำงานอย่างหนึ่งที่ใช้ถ้อยคำญี่ปุ่นห้าตัว ถ้อยคำแต่ละตัวเริ่มต้นด้วยตัวเอสคือ เซริ เซตอง เซโซ เซเคทซึ
ซึืทซึเคะ ถ้อยคำเหล่านี้ได้ถูกแปลเป็น สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ
สร้าวนิสัย
5 เอส ได้พัฒนาภายในญี่ปุ่น และระบุเป็นวิธึการอย่างหนึ่งของการผลิตทันเวลา 5 เอส เป็นวิถีทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มันได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มเเข็งโดยอุตสาหกรรมภายในญี่ปุ่น
ทำไม 5 เอส กลายเป็นที่นิยมแพร่หลายของการปรับปรุงสภาพแวดล้อม
ของงานท่ามกลางบริษัทภายในญี่ปุ่น เพราะว่าสถานที่ทำงานกลายเป็นสะอาดและเป็นระเบียบ การดำเนินงานของพื้นที่โรงงานและสำนักงานกลายเป็นง่ายและปลอดภัย ผลลัพธ์ได้ถูก
มองเห็นโดยบุคคลทุกคนทั้งภายในและภายนอก บุคคลมีระเบียบวินัยโดย
อัตโนมัติ บุคคลรู้สึกภูมิใจต่อสถานที่ทำงานที่สะอาดเเละเป็นระเบียบ และ
ภาพพจน์ของบริษัทที่ดีสร้างธุรกิจมากขึ้น
5 เอส กำเนิดด้วยนักคิดค้นญี่ปุน ซาคิขิ โตโยดะ ผู้ก่อตั้งของโตโยต้า รู้จักกันเป็น บิดาของการปฏิรูปอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ภายในการปลุกของสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุนได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของประเทศ
และสนับสนุนระบบการผลิตใหม่ โตโยดะ และลูกชายของเขา คิอิชิโร
พร้อมด้วยวิศวกรโตโยต้า ทาอิชิ โอนิ ได้ใช้หลายปีหลังสงครามค้นหา
วิถีทางที่จะลดความอ้วนของกระบวนการผลิต หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ
ได้หยิบวิธีการผลิตที่พวกเขากำลังพัฒนาเรียกว่าการผลิตทันเวลา – รู้จัก
กันเป็นระบบการผลิตโตโยต้าด้วย
ภายในอดีต 5 เอส รู้จักกันเป็นระบบการผลิตโตโยต้า ภายหลังการปรับปรุงใหม่บางอย่างภายในระบบเก่า พวกเขาได้ออกแบบใหม่ทีพีเอส และเรียกชื่อว่า 5 เอส
5 เอส ได้เริ่มต้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตโตโยต้า ทีพีเอสมักจะ
ถูกอ้างเป็นการผลิตแบบลีนภายในตะวันตก มุ่งหมายที่จะเพิ่มคุณค่าของ
ผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า และการค้นหาและการกำจัดความสูญเสียจากกระบวน
การผลิต การผลิตแบบลีนใช้เครื่องมือหลายอย่าง เช่น 5 เอส ไคเซน คัมบัง
5 เอส ได้ถูกพิจารณาเป็นรากฐานอย่างหนึ่งของทีพีเอส เพราะว่าถ้าสถานที่ทำงานไม่สะอาดและเป็นระเบียบ เราไม่สามารถดำเนินการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่โรงงานที่ยุ่งเหยิงและสกปรกทำให้การผลิตผิดพลาด
และช้าลง และแม้แต่อุบัติเหตุ
ต้นกำเนิดแท้จริงของ 5 เอส เป็นความสับสนเล็กน้อย มันได้ถูกแนะนำเป็น
ทางการครั้งแรกเมื่อ ค.ศ 1970 ภายในโตโยต้า แต่เเนวคิดเบื้องหลั งการเริ่มต้น
5 เอส ย้อนหลังไปไกลถึงศตวรรษที่ 16 ผู้สร้างเรือแห่งเวนิช ได้ทำให้กระบวนการสายพานประกอบคล่องตัว ด้วยการใช้วิธีการคล้ายกับ 5 ส
พวกเขาสามารถสร้างเรือภายในเพียงแค่ชั่วโมงไม่ใช่วันหรือสัปดาห์
แต่กระนั้นต่อการดำเนินการสมัยใหม 5 เอส เริ่มต้นอย่างแท้จริง เมื่อวิศวกร
โตโยต้าได้วิเคราะห์สายพานประกอบของฟอร์ด มอเตอร์ และกระบวนการ
สินค้าคงเหลือของพิกก์ลี่ วิกก์ลี่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่นิยมแพร่หลาย เมื่อ ค.ศ 1996 เฮนรี ฟอร์ด ได้เเนะนำ “แคนดู” คำย่อของ ทำความสะอาด เตรียมการ ความเรียบร้อย ระเบียบวินัย และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คล้ายกับวิธีการ 5 เอส
เฮนรี ฟอร์ด ไม่ได้รับรู้ถ้อยคำ 5 เอสที่ใช้กันว้นนี้ แต่กระนั้นอาณาจักรธุรกิจและความสำเร็จของเขาพื้น
ฐานเชื่อมโยงกับหลักการที่เราทุกคนรับรู้วันนี้ ระบบของเขารู้จักกันเป็นแคนดู เเคนดูง่ายที่จะเดินตาม ชัดเจนและปฏิบัติได้ แต่ในขณะนี้เรารู้จักมันเป็น 5 เอส เชื่อมโยงอย่างเข้มแข็งกับไคเซน – การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ประวัติของการผลิตแบบลีนเริ่มต้นอย่างแท้จริงด้วยเฮนรี่ ฟอร์ดและบริษัทผลิตรถยนต์ของเขาเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ทาอิชิ โอโนะ วิศวกรของโตโยต้า
ได้กล่าวว่า เราต้องศึกษาวิธีการของฟอร์ดที่จะสร้างวิธีการผลิตยกย่องกันโดยทั่วไปของผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น
ระบบทันเวลาแสวงหาที่จะลดต้นทุน เพิ่มความพอใจของคนงาน และกำจัดความสูญเสียด้วยการบริหารทุกด้านของกระบวนการผลิตอย่างเข้มงวด การรวมเเนวคิดเหมือนเช่นการรักษาเครื่องมือให้มองเห็นได้ และพื้นที่งานสะอาด และให้ความรู้สึกความเป็นอิสระแก่คนงาน แนวคิดทันวลาเกิดขึ้นจากความคิด 5 เอสของโตโยดะและโอโนะ
เฮนรี่ ฟอร์ด ได้สร้างการมีส่วนช่วยที่สำคัญต่อการคิดแบบลีน และปูเส้นทางห้าสิบปีก่อนที่ลีนกำเนิด หลักการฟอร์ดที่สำคัญคือ “แคนดู” คิดค้นน่าจะก่อน ค.ศ 1920 เป็นคำย่อของขั้นตอนห้าขั้น : ทำความสะอาด เตรียมการ ความเรียบร้อย ระเบียบสินัย และปรับปรุงต่อเนื่อง
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นกระหายที่จะเรียนรู้จากอเมริกา ทีมจากโตโยต้าได้ไปเยี่ยมฟอร์ดเมื่อ ค.ศ 1950 ทีมได้กลัวต่อขนาดของฟอร์ด โตโยต้าผลิตรถยนต์เพียงแค่ 40 คันต่อวัน ในขณะที่ฟอร์ดผลิตรถยนต์ 8,000 คันต่อวัน โตโยต้าได้ตัดสินใจรับเอาวิธีการผลิตรถยนต์จำนวนมากของอเมริกา ด้วยการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ทีมโตโยต้าได้ถูกทำการ
ฝึกอบรม ณ ฟอร์ด ด้วย
บนพื้นฐานการมองเห็นเหล่านี้จากฟอร์ด มอเตอร์ ทาอิชิ โอโนะ ได้เริ่มต้นการพัฒนาของระบบการผลิตโตโยต้า ในที่สุดนำไปสู่การสร้างของ 5 เอส
พวกเขาได้ปรับ แคนดู เป็น 5 เอส หมายถึงถ้อยคำญี่ปุ่นห้าตัวที่เริ่มต้นด้วย
อักษรตัวเอส : เซริ เซตง เซโซ เซเคทซึ ซึทซึเคะ ปรัชญาแคนดูของฟอร์ด คล้ายคลึงกับ 5 เอสที่ยกย่อง
แก่ทาอิชิ โอโนะ ที่จริงแล้วระบบการผลิตฟอร์ดเป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่ง
ของเขา
หลักการของเฮนรี ฟอร์ดมีรากเหง้าอเมริกันที่เข้มแข็ง เมื่อ ค.ศ 1827 ชารลส์ กูดริช นักเขียนอเมริกัน ได้แพร่หลายสุภาษิต “สถานที่เพื่อทุกสิ่งทุกอย่างและทุกสิ่งทุกอย่างภายในสถานที่ของมัน” เมื่อเขาเขียนและพิมพ์บทความชื่อ “Neatness”
เฮนรี ฟอร์ด ได้เขียนภายในหนังสือของเขา Today and Tomorrow 1926
งานอย่างแรกคือ ทำความสะอาด นั่นเป็นสิ่งแรกอยู่เสมอ เพื่อที่จะค้นหาคุณ
ทำอะไร เราไม่สามารถมีความสกปรกโดยรอบได้ มันราคาแพงเกินไป
ทุกสิ่งทุกอย่างถูกทาสี และทาสีด้วยสีอ่อน ดังนั้นความสกปรกจะมองเห็น
เราไม่ทาสีปกปิดสิ่งสกปรก เราทาสีขาวหรือสีเทาอ่อน เพื่อที่ความสะอาด
เป็นสำดับของการกระทำและไม่ใช่ข้อยกเว้น
เฮนรี ฟอร์ด ได้อธิบายการมีส่วนช่วยที่สำคัญของเขาคือ การดำเนินการเเนวคิดการบริหารแบบวิทยาศาสตร์หลายอย่างที่บรรลุความสำเร็จ
การควมคุมคุณภาพของการผลิตเเบบจำนวนมากอย่างมีประสิทธิภาพ
และวิถีทางของทันเวลาเพื่อทรัพยากรการผลิตรวมกับกระบวนการ
ลดการขนส่งวัตถุสำเร็จรูปให้น้อยที่สุด เมื่อเราสัมภาษณ์ทาอิชิ โอโนะ
ที่ถูกยกย่องต่อการสร้างระบบการผลิตโตโยต้า เขาได้ตอบว่าเขาได้เรียน
รู้มันทุกอย่างจากหนังสือ Today and Tomorrow ของเฮนรี่ ฟอร์ด ภายใน
การค้นหาต่อไปเพื่อต้นกำเนิดของนวัตกรรมนี้ บุคคลได้ยืนยันว่าเฟดเดอริค
เทย์เลอร์ อาจจะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จนี้ ณ ฟอร์ด มอเตอร์
เฮนรี่ ฟอร์ด เป็นบุคคลที่เพิ่มค้าจ้างเป็นสองเท่า ลดต้นทุนลงครึ่งหนึ่ง ลดราคารถยนต์ลงครึ่งหนึ่ง และผลิตรถยนต์มากกว่า 2 ล้านคันต่อปี เวลาไม่ได้ลดน้อยถอยลงความก้าวหน้าของปรัชญาธุรกิจ หรืออิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ของเขาต่ออุตสาหกรรมทั่วโลก เขาทำให้รถยนต์กลายเป็นอุตสาหกรรม
ปฏิรูปโลกของการทำเกษตรด้วยเเทรกเตอร์ และเปิดตัวเครื่องบินไปสู่
ยุคใหม่ของการผลิตแบบจำนวนมาก
เฮนรี ฟอร์ด เกลียดความสูญเสีย เขาขับเคลื่อนตัวเขาเอง…..และบุคคล
ของเขา แก้ไขความไม่มีประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ในขณะที่สร้าง
ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นด้วย ความทะเยอทะยานของเขาคือ การสร้างสายการ
ผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อการผลิตรถยนต์โมเดล ที ของเขา
เฮนรี ฟอร์ด ได้สร้างสายพานประกอบเคลื่อนที่ผลิตรถยนต์ คนงานทุกคนต้องประกอบชิ้นส่วนตามแต่ละสถานีงาน เขามีสำนักงานอยู่บนชั้นสอง ดังนั้นเขาสามารถมองดูทั้งสายการผลิต ถ้าเขามองเห็นว่าส่วนหนึ่งของสายการผลิตช้าเกินไป หรือคนงานต้องเคลื่อนรวดเร็วเกินไป เขาจเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตจนมันมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคนิคของเขามีทั้งการทำให้เป็นมาตรฐาน การจ่ายค่าจ้างที่ดี และการลดความสูญเสีย เฮนรี่ ฟอร์ด ได้ถูกพิจารณาเป็น “บิดาของการผลิตแบบลีน”
โตโยต้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดภายในโลก และระบบการผลิตของ
โตโยต้า อยู่บนพื้นฐานของความคิดต้นกำเนิดของเฮนรี่ ฟอร์ด
เฮนรี่ ฟอร์ด ได้เริ่มต้นแนวคิดของการผลิตแบบลีน ทำให้การใช้ทรัพยากร
น้อยลง และลดต้นทุนการผลิตลง เขาได้แนะนำการประกอบชิ้นส่วนตาม
สายพาน ด้วยการทำให้ชิ้นส่วนเป็นมาตรฐาน สามารถประกอบโดยคนงาน
ที่มีทักษะน้อย
เฮนรี ฟอร์ด พร้อมด้วยผู้บุกเบิก เช่น เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ และเเฟรงค์
กิลเบิรธ ได้แสดงห่วงใยต่อความสกปรกภายในการผลิต และได้ทำงาน
เพื่อการลดมัน
วิธีการผลิตแบบทันเวลานิยมแพร่หลายโดยโตโยต้า และกลายเป็น
ความดึงดูดต่อชาวอเมริกันที่พยายามเข้าใจวิธีการผลิตของญี่ปุ่น ใน
ขณะที่ทาอิชิ โอโนะ ผู้สร้างระบบการผลิตโตโยต้า ยกย่องเฮนรี่ ฟอร์ด
เป็นผู้ต้นกำเนิด เรารู้กันในขณะนี้ว่า เอิรนเนสท์ คานซเลอร์ บุคคลหนึ่ง
ของฟอร์ด มีบทบาทที่สำคัญภายในการพััฒนาวิธีการผลิตทันเวลา บทความฉบับบหนึ่งได้รายงาน ฟอร์ด และคานซ์เลอร์ ได้สำรวจอิทธิพลที่เป็น
ไปได้ของเฟดเดอริค เทย์เลอร์ที่มีต่อการพัฒนาการผลิตทันเวลา ณ ฟอร์ด
มอเตอร์
ทาอิชิ โอโนะ ผู้สร้างกรอบข่าย 5 เอส เป็นนักปฏิบัติที่ไม่สนใจมากต่อ
รายงานหรือโมเดล แต่กระนั้นเมื่อได้แนะนำภายในตะวันตก 5 เอสได้ถูกเรียกชื่ออย่างไม่ถูกต้องเป็น “การดูเเลบ้าน” ความมุ่งหมายของ 5 เอสคือ
ส่งเสริมการมองเห็นได้และทำให้โอกาสไคเซน ชัดเจนทันที
ลีนหมายถึงวิถีทางเป็นระบบที่จะระบุและกำจัดมูดะ – ความสูญเสีย ผ่านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มันดูเหมือนว่าเฮนรี ฟอร์ดได้ใช้ส่วนหนึ่งของลีนตั้งแต่ตอนต้นของ ค.ศ 1920 แต่ทีพีเอสเป็นรากฐานเพื่อขบวนการลีนที่ครอบงำสภาพแวดล้อมการผลิตสิบห้าที่ผ่านมา
ขบวนการลีนได้เจาะไปสู่อุตสาหกรรมอื่น เช่น การค้าปลีก ในขณะนี้การค้าปลีกแบบลีนเป็นความจริง การบังคับให้ผู้ผลิตสร้างผลิตภัณฑ์มาตรฐานบนความต้องการด้วยการใช้เทคนิคผลิตตามคำสั่งซื้อ ตลาดค้าปลีกมีการแข่งขันรุนแรง วงจรผลิตภัณฑ์สั้น เวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาว และอุปสงค์ขึ้นลงสูง
ผู้ค้าปลีกที่มีพลังวันนี้ยืนยันราคาต่ำ และไม่ยอมถือสินค้าคงเหลือ นั่นคือทำไมผู้ค้าปลีกแบบลีนกำลังคาดหวังให้ผู้ผลิตให้การเติมเต็มผลิตภัณฑ์ค้าปลีกรวดเร็วและบ่อยครั้ง บนพื้นฐานการขายจริง ด้วยคำพูดอีกอย่างหนึ่ง
ผู้ผลิตกำลังเผชิญแรงกดดันค้าปลีกแบบลีน การค้าปลีกแบบลีนตัวมันเองมีส่วนช่วยต่อการปฏิรูปของการผลิต
ลีนได้ให้วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนแก่เซเวน อีเลฟเวน แจเเปน การมองเห็นตลาดต้องการอะไร ดังนั้นการค้าปลีกแบบลีนได้ให้ความสามารถแข่งขันต่อร้านสะดวกซื้อใหญ่ที่สุดนี้ภายในญี่ปุ่น
เราสามารถเปรียบเทียบการบริหารแบบลีนระหว่างการผลิตและการค้าปลีก คัมบังที่ใช้ภายในทีพีเอสบังคับให้กระบวนการต่อมาส่งความต้องการไปยังกระบวนการก่อนหน้า มันหมายความว่าอุปสงค์แสดงการกระตุ้น
ภายในอุตสาหกรรมผลิต แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับการบริหารลูกโซ่อุปสงค์ภายในอุตสหกรรมค้าปลีก
เฟดเดอริค เทย์เลอร์ ได้ถูกรับรู้เป็นบุคคลแรกที่ศึกษางานเป็นวิทยาศาสตร์ ผลงานของเขามีอิทธิพลสูงมากต่อการศึกษาการบริหาร
และยังคงถูกศึกษาภายในวิชาการบริหาร เขาได้ถูกเรียงลำดับอย่าง
สม่ำเสมอเป็นบุคคลมีอิทธิพลมากที่สุดของประวัติศาสตร์การบริหาร
และธุรกิจ หนังสือของเขา “The Principles of Scientific Management”
ได้ถูกแปลเป็นหลายภาษา
การบริหารแบบวิทยาศาสตร์เรียกกันว่าเทยเลอร์นิยมด้วย เมื่อ ค.ศ 1911
เฟดเดอริค เทย์เลอร์ ได้เขียน ” The Principles of Scientific
Management” ความคิดของเฟดเดอริค เทย์เลอร์
ได้สร้างรากฐานเพื่อการบริหารของศตวรรษที่ 20 หลักการและวิธีการ
วิทยาศาสตร์ของเขา เพื่อประสิทธิภาพและการสร้างมาตรฐานของคนงาน กำหนดรากฐานเพื่อผู้ผลิตเหล็กเเละรถยนต์ เจริญรุ่งเรืองอย่างมากภายในต้นศตวรรษที่ 20
เฮนรี ฟอร์ดได้ใช้ความคิดหลายอย่างของเฟดเดอริค เทย์เล่อร์ หยิบตรง
ที่เฟดเดอริค เทย์เลอร์ทิ้งไว้ ดังนั้นบุคคลหลายคนมองว่าสายพานประกอบชิ้นส่วนของเขาเป็นการขยายการศึกษาเริ่มแรกของเทย์เลอร์ เมื่อ ค.ศ 1927 เฮนรี่ ฟอร์ด ได้บรรลุการลดภายในวงจรการผลิตจาก 750 เป็น 93 นาที ในขณะที่ลดต้นทุนของรถยนต์จาก 850 เหรียญเป็น 300 เหรียญ
เฟดเดอริค เทย์เลอร์ ได้สร้างการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ จนกลายเป็นความนิยมของชาวอเมริกัน ตั้งแต่การพิมพ์ดีดไปจนถึงการผ่าตัด แม้แต่แม่บ้าน
ได้รับเอาความคิดของเทย์เลอร์ภายในตอนเริ่มแรกของศตวรรษที่ 20 อัลเฟรด สโลน ซีอีโอของเจ็นเนอรัลมอเตอรตั้งแต่ ค.ศ 1923 ถึง ค.ศ
1956 ได้ยกระดับหลักการเทย์เลอร์บริหารจีเอ็ม จนกลายเป็นบริษัทใหญ่ที่สุดของโลก บุคคลบางคนอ้างว่า เฟดเดอริค เทย์เลอร์ เฮนรี ฟอร์ด และ
อัลเฟรด สโลน ได้สร้างเวทีเพื่อการเจริญเติบโตอย่างไม่เคยมีมาก่อนมากที่สุดของอเมริกาภายในศตวรรษที่ 20
ความสัมพันธ์ระหว่างปีเตอร์ ดรัคเกอร์ และมาซาโตชิ อิโต เริ่มต้นภายในวิถีทางของผู้รับบริการ-ที่ปรึกษา แต่กระนั้นมันไม่ใช้เวลานานต่อทั้งสองคนพบแกนร่วมกันของค่านิยมร่วม ความเป็นเพื่อนที่เกิดขึ้นมายาวนานกว่าสามทศวรรษ และมีผลกระทบที่สำคัญต่อบัณฑิตวิทยาลัยการบริหารปีเตอร์
ดรัคเกอร์และมาซาโตชิ อิโต มหาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาแคลร์มองท์
ตามปีเตอร์ ดรัคเกอร์ มาซาโตชิ อิโต เป็นผู้ประกอบการและผู้สร้างธุรกิจ
โดดเด่นคนหนึ่งของโลก ผู้สนับสนุนที่สำคัญของดรัคเกอร์ สกูล เขาได้
บริจาค 23 ล้านเหรียญสร้างบัณฑิตวิทยาลัยแห่งนี้
มาซาโตชิ อิโตเป็นผู้ก่อตั้งและประธานกิติมศักดิ์ของเซเวน แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ กลุ่มค้าปลีกใหญ่ที่สุดลำดับสองภายในโลก เขาได้สร้่างบริษัทจากร้าน
เสื้อผ้ารายเล็กภายในโตเกียวเป็นบริษัทด้วยรายได้ต่อปีมากกว่า 54 พัน
ล้านเหรียญ เซเวน แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ มีร้านมากกว่า 79,000 แห่งภายใน
19 ประเทศ
บริษัทรู้จักกันดีที่สุดต่อร้านสะดวกซื้อเซเวน อีเลฟเวนจำนวนมากภายในญี่ปุ่น จีน และอเมริกา บริษัทได้ดำเนินงานร้านอาหารของเด็นนี่ย์ภายใน
ญี่ปุ่น และเป็นเจ้าของร้านสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และบริษัทบริการ
การเงิน
มาซาโตชิ อิโต ได้นำเเนวคิดของเซเวน อีเลฟเวน มาสู่ญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ 1973
ผ่านข้อตกลงกับเซ้าธ์แลนด์ เมื่อ ค.ศ 1991 อิโต โยคะโด ของเขา ในที่สุด
เซเวน แอนด์ ไอ ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ภายในเซ้าธ์แลนด์ คอรปอเรชั่น
ทั้งอิโต โยคะโด และเซเวน อีเลฟเวน แจเเปน ก่อตั้งโดยมาซาโตชิ อิโต
เขาเริ่มต้นอาณาจักรค้าปลีกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเขาได้
เข้าร่วมกับแม่ของเขา และเริ่มต้นทำงานภายในร้านเสื้อผ้ารายเล็ก ภายใน โตเกียว
Cr : รศ สมยศ นาวีการ