jos55 instaslot88 Pusat Togel Online มหกรรมวัฒนธรรมที่สายบุรี : มุมมองด้านความมั่นคง - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

มหกรรมวัฒนธรรมที่สายบุรี : มุมมองด้านความมั่นคง

คอลัมน์ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ

ทหารประชาธิปไตย

มหกรรมวัฒนธรรมที่สายบุรี : มุมมองด้านความมั่นคง

เมื่อวันที่ 4 พ.ค.65 เวลา 13.30 น. มีเยาวชนจำนวนประมาณ 7,000 คน เดินทางเข้ามาที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยทั้งหมดแต่งกายแบบมลายู คาดว่าเป็นเยาวชนจากจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอจากสงขลา คือ จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี ซึ่งเยาวชนกลุ่มนี้ ได้จัดให้มีการแสดงดนตรีและการละเล่น เช่น วงดนตรีบูดู ลิตเติ้ล และวงดนตรีพื้นบ้าน จากนั้นเวลา 16.00 น. ได้มีการละหมาดร่วมกัน ตลอดจนถ่ายภาพร่วมกัน

            ด้านวัตถุประสงค์ในการจัดงาน ประธานจัดกิจกรรมแจ้งว่า เป็นการจัดงานเพื่อความสามัคคี และสืบสานประเพณีวัฒนธรรม และอัตลักษณ์มลายู ตลอดจนภาษาท้องถิ่นที่กำลังถูกทำลาย

ประเด็นที่ฝ่ายความมั่นคงตั้งเป็นปมปัญหาคือ

1.มีการตั้งด่านตรวจมิให้คนภายนอกเข้าไปปะปน ซึ่งประเด็นนี้ ฝ่ายความมั่นคงมองว่า ป้องกันเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ ซึ่งอาจเป็นมุมมองด้านลบ เพราะการป้องกันนั้นอาจจะเกรงว่ามีมือที่ 3 เข้าไปก่อเหตุอันจะทำให้ทางการเสียหายก็ได้

2.มีรายงานฝ่ายความมั่นคงว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการปลุกระดมให้มีการทำวันทยาหัตถ์ เพื่อทำความเคารพกลุ่มผกร.

3.มีการเดินทางไปเยี่ยมสุสานที่เป็นที่ฝังศพของ ผกร. ที่เป็นมือระเบิด

ใน 2 ประเด็นหลังนี้เป็นการคาดการและการใช้คำว่า ผกร.ตามรายงานก็น่าจะหมายความถึงคำว่า “ผู้ก่อการร้าย”

ซึ่งหากเรานิยามว่าบุคคลเหล่านั้นเป็น “ผู้ก่อการร้าย” มันก็จะมีข้อกฎหมาย และข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย “Terrorist” ไว้เป็นกรณีพิเศษ แต่โดยทั่วไปทางการไทยจะใช้คำว่า “ผู้เห็นต่าง” เพื่อมิให้เข้าข่ายกฎหมายดังกล่าว และยังเป็นการย้อนแย้งว่ามันเป็นเรื่องความขัดแย้งทางความคิดและทางการเมือง

            ดังนั้นเราจึงควรมาพิจารณาในมุมมองของนโยบาย 66/23 ที่ประกาศใช้ตั้งแต่สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และยังมิได้มีประกาศยกเลิกนั้นว่า มีวัตถุประสงค์ คือ ให้ระงับยับยั้งการต่อสู้ด้วยอาวุธ โดยเฉพาะในยุคนั้น หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและกองกำลัง แต่ให้เสรีในการออกมาสู้ทางการเมือง เพื่อยุติสงครามด้วยการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

และถ้านำมาพิจารณาในยุคปัจจุบันก็หมายถึงว่าให้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนเลิกการต่อสู้โดยใช้อาวุธ แต่เปิดเสรีให้มาต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งจะทำให้เป็นการยุติสงครามอันทำให้เสียเลือดเนื้อและทรัพย์สินจำนวนมาก ตลอดจนการสูญเปล่าของงบประมาณแผ่นดิน ที่ควรจะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศมากกว่า

            อย่างไรก็ตามการจัดกิจกรรมของเยาวชนใน 3 จชต.และ 4 อำเภอของสงขลา แม้จะเป็นการแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่น ก็มีมุมมองที่จะวิเคราะห์ได้ว่ามีการแฝงเร้นด้วยการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย

ทว่าในมุมมองของฝ่ายความมั่นคงนั้นก็เป็นหน้าที่ที่จะระแวงระวังว่าอาจจะบานปลายเป็นการก่อจราจลได้หากมีการจุดชนวน แต่ในสภาพปัจจุบันนั้นเมื่อยังไม่มีการกระทำใดๆที่ผิดกฎหมาย ก็ต้องถือว่าเป็นกิจกรรมในการแสดงวัฒนธรรมเท่านั้น จึงไม่ควรมีปฏิบัติการอะไรที่เป็นการเกินเลยในการใช้กำลัง หรือการตรวจสอบจับกุม

ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าหน่วยความมั่นคง จะนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย แต่เฝ้าติดตามเท่านั้น เพราะหากเรามองในด้านการเคลื่อนไหวในทางการเมือง ก็จะต้องมีการตอบสนองในทางการเมืองเหมือนที่เคยประกาศว่า “การเมืองนำการทหาร”

แล้วเราควรจะตอบสนองอย่างไร ผู้เขียนก็อยากให้กลับไปพิจารณาแนวทางพระราชดำริของล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ที่ทรงมอบให้นั่นคือ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”

ในประเด็นนี้แทนที่หน่วงานความมั่นคงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะใช้ท่าทีเป็นลบและมีแนวทางในการป้องปราม ซึ่งก็เป็นลบ จะทำให้เสียหายในด้านการเมือง และถ้าเข้าใจหลักเกรณฑ์ของนโยบาย 66/23 นั่นคือ การรุกทางการเมืองด้วยแล้วปฏิกิริยาตอบสนองควรจะเป็นบวกนั่นคือ ควรเข้าไปมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรม เช่น การจัดรางวัลการประกวดชุดแต่งกายตามวัฒนธรรม หรือสนับสนุนงบด้านบันเทิงต่างๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาด้านบวก

เพราะนั่นอย่างน้อยเป็นเบื้องต้นที่แสดงว่าฝ่ายความมั่นคงเริ่มซึมซับแนวพระราชดำริ “เข้าใจ” และ “เข้าถึง” ก่อนที่จะกระโดดไปสู่การพัฒนาโดยไม่เข้าใจและเข้าถึง

เราลองมาพิจารณาคำแถลงของโฆษก กอ.รมน. ภาค 4 ว่ามีปฏิกิริยาต่อเรื่องสืบสานวัฒนธรรมมลายูนี้อย่างไร

นักข่าวถามว่า “กิจกรรมเยาวชนมลายู มุสลิมชายแดนใต้ ซึ่งภาษาถิ่น ภาษามลายู เรียกว่า “เปอร์มูดอ” รวมตัวเพื่ออะไร ตอบ “ถ้าเป็นเรื่องของการประชันชุดมลายูจริง ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้วที่ให้ส่งเสริมอัตลักษณ์ ประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ เพราะทุกภาคของประเทศไทยก็มีอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่อยู่ ถือเป็นเรื่องดี

แต่ ถ้ามารวมตัวกันแล้ว มีการดำเนินการหรือทำอะไรที่ผิดกฎหมาย ทำอะไรที่ไม่ดี ก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง…

ประเด็นที่ต้องยกเอาคำพูดบางประการของโฆษก กอ.รมน.มากล่าวถึง เพื่อชี้ให้เห็นว่าปฏิกิริยาดังกล่าวสะท้อนมุมมองของความหวาดระแวง และการป้องปราม ซึ่งอาจแปลได้ว่าเป็นการขู่ ซึ่งในทางการเมืองถือว่าเป็นการพ่ายแพ้ทางการเมือง เพราะเราสร้างความหวาดระแวงให้เกิดขึ้น แล้วจะไปสร้างความเข้าใจ เข้าถึง กับคนในพื้นที่ได้อย่างไร ก็ในเมื่อการชุมนุมของเขานั้นยังมิได้มีการกระทำใดๆที่ผิดกฎหมาย หรือไม่ดี ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปพูดถึงเหมือนขู่ นั่นเป็นประเด็นสำคัญที่อยากจะกล่าวว่า “หากไม่ต้องการให้มีการต่อสู้ด้วยอาวุธ ตามแนวทางของนโยบาย 66/23 ก็ต้องเปิดประตูให้มีการต่อสู้ทางการเมือง

ดังนั้นการชุมนุมทางวัฒนธรรมที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล และพื้นเพของชนชาติไทยที่เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมนั้น แม้ว่าจะมีการแฝงไว้ซึ่งการเคลื่อนไหวทางการเมือง ฝ่ายความมั่นคงก็ควรหาแนวทางรุกทางการเมือง ด้วยแนวทางในพระราชดำริของล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 นั่นคือ เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา โดยใช้มุมมองทางบวกเข้ามาเป็นหลักยึด เพราะถ้าไปคิดในแง่ลบไปปิดกั้น นั่นก็จะเป็นการกดดันให้มีการต่อสู้ด้วยอาวุธ ซึ่งไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลมิใช่หรือ

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *