jos55 instaslot88 Pusat Togel Online เทววิทยาอิสลาม: ความสำคัญกับการเข้าใจระหว่างสำนักคิดในอิสลาม ตอนที่3 - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

เทววิทยาอิสลาม: ความสำคัญกับการเข้าใจระหว่างสำนักคิดในอิสลาม ตอนที่3

    

แปล/เรียบเรียงโดย  ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

หลักปรัชญาเทววิทยาของสำนักคิดมุตะซีละฮ์

ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 1 หรือช่วงแรก ๆ ของศตวรรษที่ 2 ของฮิจเราะฮ์ และเป็นช่วงสมัยการปกครองราชวงศ์บะนีอับบาซ(อับบาซียะฮฺ)   โลกอิสลามมีความรุ่งเรืองทางด้านวิทยาการและมีความก้าวทางทางศาสตร์ต่างๆ  จนทำให้มีบรรดาผู้รู้และปราชญ์ในโลกอิสลามเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย  และในช่วงแห่งความรุงเรืองนี้จึงมีสำนักคิดที่ยิ่งใหญ่หนึ่งเกิดขึ้น คือ สำนักคิดมุอ์ตะซีละฮ์(Mohtazilah)

สำนักคิดมุตะซีละฮ์  ถือว่าเป็นสำนักคิดที่ยิ่งใหญ่สำนักหนึ่งของโลกอิสลาม  ได้สร้างคุณูปการไว้อย่างน่าชื่นชมมากทีเดียว บรรดาปวงปราชญ์ในสำนักมุตะซีละฮ์ได้ปกป้องอิสลามจากกลุ่มของพวกต่างศาสนา ที่พยายามจะสอดแทรกแนวความคิดของพวกเขาเข้ามาในอิสลาม  และนักเทววิทยาในสำนักมุตะซีละฮ์ได้นำเสนอปัญหาทางเทววิทยากับกลุ่มต่างชาติด้วยหลักเหตุและผลอย่างน่าชื่นชม อีกทั้งยังได้เผชิญหน้ากับฝ่ายศัตรูอิสลามด้วยการโต้ตอบปัญหาทางศาสนาแบบนักปรัชญาและยึดหลักสันติวิธี

สำนักคิดมุอ์ตะซีละฮ์ ถือว่าเป็นสำนักคิดที่เป็นเอกเทศและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ซึ่งได้แยกตัวมาจากกลุ่มอื่น ๆ และมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในศตวรรษที่ 2 แห่ง ฮ.ศ. และได้แสดงจุดยืนของพวกเขาอย่างชัดเจน  และบุคคลแรกที่ได้นำหลักความเชื่อของสำนักคิดมุอ์ตะซีละฮ์มาเผยแพร่คือ วะซิล อิบนิ  อุฎฎอ

กล่าวคือแในสมัยของวะซิล อิบนิ อุฎฎอ ได้มีกลุ่มหนึ่งมีความเชื่อว่าการกระทำบาปใหญ่ไม่เป็นเหตุให้เป็นผู้ปฏิเสธพระเจ้า เพราะว่าการกระทำบาปไม่มีผลอะไรต่อความศรัทธา (อีมาน) และการกระทำบาปไม่ทำให้ความศรัทธาเสียหาย  กลุ่มนั้นคือพวก มุรญีอะฮ์  และระหว่างมีอีกกลุ่มเชื่อว่า การกระทำบาปใหญ่ถือว่าเป็นผู้ปฎิเสธพระเจ้า ทำให้มีคนถามฮาซัน  บุศรีย์ในเรื่องนี้  และเขาได้ครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง ทันใดนั้น วะซิล อิบนิ อุฎฎอ ได้ลุกขึ้นแล้วกล่าวว่า ฉันจะขอกล่าวเอง แท้จริงผู้กระทำบาปใหญ่ไม่ใช่ทั้งผู้ศรัทธาและไม่ใช่ทั้งผู้ปฏิเสธ แต่เขาอยู่ระหว่างกลาง”  หลังจากนั้น วะซิล อิบนิ อุฎฎอ จึงเดินออกไปจากมัสยิด และฮาซัน บัศรีย์จึงกล่าวว่า “วะซิลได้ออกไปจากเราแล้ว” (เอี๊ยะตะซาล่า วาซิล อันนา) ดังนั้น พวกมุอ์ตะซีลฮ์จึงถูกเรียกขานว่า มุตะซีละฮ์ แปลว่า ผู้ได้ออกห่าง  เนื่องจาก คำกล่าวของฮะซัน บัศรี

และหลักศรัทธาสำคัญมี ๕ ประการ คือ

  1. อัตเตาฮีด หมายถึง พระองค์ทรงมีความเอกะ ไม่มีการภาคีใด ๆ และพระองค์ไม่ถูกประกอบเข้ากับสิ่งใด
  2. อัลอัดลุ หมายถึง พระองค์ทรงมีความยุติธรรม ไม่กดขี่มนุษย์และให้อิสระต่อมนุษย์ในการงาน กล่าวคือ ทุกอย่างที่พระองค์กระทำคือสิ่งดีและสร้างสรรค์ และพระองค์ไม่กระทำสิ่งที่ชั่วเด็ดขาด
  3. อัลวะอ์ดุวะอีด หมายถึง คำสัญญาในเรื่องการตอบแทนและการลงโทษ ซึ่งพวกมุอ์ซีละฮ์มีความเชื่อว่าทุกอย่างที่อัลอฮ์ได้สัญญากับบ่าวของพระองค์ เช่น การมำความดีจะได้รับสวคค์เป็นการตอบแทน ดังนั้นถือว่าเป็นวิญิบที่พระองค์ต้องทำตามสัญญานั้น และถ้าพระองค์สัญญาว่าใครก็ตามที่ฝ่าฝืน เขาจะถูกลงโทษ ถือว่าเป็นวิญิบต่อพระองค์ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสัญญานั้นด้วย
  4. อัลมันซีละตุ บัยนัล  มันซีละตัย   หมายถึง ใครก็ตามกระทำบาปใหญ่ เขานั้นไม่ใช่มุอ์มินและไม่ใช่กาเฟร แต่ความบาปที่เขาจะได้รับอยู่ระหว่างกลาง
  5. อัลอัมรุบิลมะอ์รูฟ วัลนะฮ์ยุอะนิลมุนกัร หมายถึง การเชิญชวนให้กระทำความดีและห้ามปรามการกระทำความชั่ว ถือว่าเป็นการวาญิบ(ข้อบังคับ)ต้องกระทำ  ที่ยืนยันด้วยหลักสติปัญญา

หลักปรัชญาสำนักมุตะซีละฮ์

ก. เชื่อต่อหลักเอกภาพ(เตาฮีด) คือ ศรัทธาและเชื่อว่าองค์สัมบูรณ์พระผู้เป็นเจ้าปราศจากองค์ประกอบใดๆในองค์อาตมันและเชื่อว่าคุณลักษณะทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้าเป็นสิ่งเดียวกับองค์อาตมัน

ข. เชื่อต่อหลักความยุติธรรม(อัลอัดล์) คือ ศรัทธาว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงยุติธรรม ไม่เป็นผู้กดขี่และไม่ลำเอียงต่อบ่าวของพระองค์

ค. เชื่อต่อความทรงรักษาสัญญาทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ(อัลวะอ์ดุ วัลวะอีด) คือ ศรัทธาว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาที่จะมอบรางวัลผลตอบแทนสำหรับการเชื่อฟังปฏิบัติตามและทรงสัญญาการลงโทษสำหรับผู้ละเมิดฝ่าฝืน โดยที่สัญญานี้ที่จะมอบผลตอบแทนต่อผู้ปฏิบัติตามเชื่อฟังต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงและเช่นเดียวกันสัญญาบทลงลงโทษต่อผู้กระทำการฝ่าฟืนก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น การอภัยโทษจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบ่าวจะต้องขออภัยโทษ(เตาบะฮ์)เท่านั้น การอภัยโทษโดยปราศจากการขออภัยจะไม่เกิดขึ้นโดยเด็ดขาด

ง. เชื่อต่อกฏสภาวะระหว่างสองฐานภาพ(อัลมันซิละตุ้ บัยน่า มันซิละตัยน์) หมายถึงผู้ที่ฝ่าฝืนหรือผู้กระทำบาปใหญ่เช่น ผู้ดื่มสุรา ผู้กระทำผิดประเวณี และผู้โกหก เป็นต้น ฐานภาพของเขาไม่ใช่เป็นผู้ศรัทธาและไม่ใช่เป็นผู้ปฏิเสธ แต่การฝ่าฝืนและการละเมิด มีฐานภาพเป็นภาวะที่อยู่ระหว่างกลางระหว่างการปฏิเสธและการมีศรัทธา

จ. เชื่อต่อการสนับสนุนความดีและกำชับความชั่ว(อัลอัมรุ บิล มะรูฟ วะ นะฮุย์ อะนิลมุนกัร) กล่าวคือในสำนักมุตะซีละฮ์เชื่อว่า การเชิญชวนกระทำความดีและการห้ามปรามการกระทำชั่วถือว่าเป็นหลักศรัทธาและจะต้องปฎิบัติทุกคน และนี่คือทัศนะเฉพาะของสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์เกี่ยวกับหลักการในเรื่องนี้ กล่าวคือประการแรก แนวทางในการรู้จักกิจการงานที่ดีและกิจการงานที่ชั่วไม่ได้จำกัดอยู่แค่จากบทบัญญัติทางศาสนาเพียงหนทางเดียวเท่านั้น สติปัญญาก็สามารถที่จะแยกแยะสิ่งเหล่านี้ออกมาได้อย่างอิสระ ประการที่สอง ผู้ปกครองหรือผู้นำมิได้เป็นเงื่อนไขในการดำเนินการ แต่เป็นหน้าที่โดยรวมของมุสลิมที่บางครั้งอาจมีผู้นำหรือไม่มีผู้นำ แค่เฉพาะบางกรณีเท่านั้นที่การดำเนินการตามกฎเกณฑ์เหล่านี้เป็นหน้าที่ของผู้นำหรือผู้ปกครอง อย่างเช่น การดำเนินการจัดระเบียบประมวลกฏหมายประเทศ การปกป้องอธิปไตยของประเทศอิสลามและกิจการงานด้านการเมืองการปกครองอื่นๆ

นักวิชาการและปวงปราชญ์ประจำสำนักมุอ์ตะซิละฮ์ได้เขียนและประพันธ์ตำราด้านเทววิทยา ตำราที่เกี่ยวกับเรื่องหลักศรัทธาพื้นฐานห้าประการโดยตรงไว้หลาเล่มทีเดียวซึ่งเป็นมรดกทางวิชาการของสำนักคิดนี้ เช่น “อุศูลุ้ลคอมซะฮ์”(หลักศรัทธาพื้นฐานห้าประการ) เป็นตำราที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งเป็นผลงานของท่าน กอฎีย์ อับดุลญับบาร อัลมุอ์ตะซิลี  ซึ่งชีวิตอยู่รว่มสมัยเดียวกับท่าน ซอฮิบ บิน อับบาส และท่าน ซัยยิด มุรตะฎอ อะละมุลฮุดา(นักเทววิทยาของชีอะฮ์อิมามียะฮ)

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาและวิเคราะห์ดูแล้ว ก็จะวิจักษ์ได้ว่าแท้จริงหลักความเชื่อเรื่องหลักเอกภาพของพระเจ้าและหลักการความยุติธรรมของพระเจ้า ถือว่าเป็นหลักศรัทธาที่มีหลักคิดค่อนข้างจะเป็นเอกลักษณ์และมีความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองสูงทีเดียว และสามารถที่นับเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อและความศรัทธา ส่วนอีกสามสุดท้ายของหลักความเชื่อทั้งห้าเป็นเพียงเอกลักษณ์และความเชื่อเฉพาะของสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์เท่านั้น แม้กระทั่งหลักการความยุติธรรมหากมองในแง่มุมที่ว่ามีหลักฐานที่ชัดเจนจากคัมภีร์อัลกุรอาน และถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นข้อหนึ่งจากหลักศรัทธาของศาสนา และถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักศรัทธาพื้นฐานอีกด้วย ด้วยกับเหตุผลของการแก้ไขปัญหาอื่นๆทางด้านหลักการศรัทธาได้

แต่ถ้าพวกเขามองในแง่มุมการกำหนดในเรื่องหลักความยุติธรรมของพระเจ้าให้เป็นหลักศรัทธาพื้นฐานห้าประการนั้นอันเนื่องมาจากเป็นเอกลักษณ์และคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อเป้าหมายไม่ให้เหมือนกับสำนักคิดอื่นๆ ก็คงจะไม่มีเหตุผลเพียงพอเลยที่จะกระทำเช่นนั้น เพราะว่ายังมี คุณลักษณะอื่นๆ เช่น พระผู้ทรงวิทยปัญญา  ผู้ทรงอำนาจเด็ดขาด ผู้ทรงสัพพัญญู ผู้ทรงดำรงอยู่นิรันด์ ก็เป็นสิ่งจำเป็นตามหลักการศัรทธาของอิสลามและเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านหลักศรัทธา

หลักการพื้นฐานห้าประการที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเส้นหลักที่สร้างฐานขอบเขตทางความคิดด้านทางเทววิทยาของสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ ทว่า(ดังที่กล่าวไปแล้ว)หลักความเชื่อของสำนักมุอ์ตะซิละฮ์มิได้จำกัดอยู่แค่เพียงห้าประการนี้เท่านั้น พวกเขายังได้นำเสนอจุดยืนทางความเชื่ออันเฉพาะของตนเองอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ ทววิทยา ธรรมชาติวิทยา สังคมวิทยา มนุษย์ศาสตร์ หรือด้านปรัชญา

สำนักคิดมุอ์ตะซีละฮ์กับปรัชญาด้านธรรมชาติวิทยา

สำนักคิดมุตะซีละฮ์ได้นำเสนอประเด็นปัญหาต่างๆมากมายและได้ปกป้องจุดยืนอีกทั้งเผยแพร่ทัศนะเหล่านั้นต่อโลกภายนอก บางประเด็นเกี่ยวข้องด้านเทววิทยา บางประเด็นสัมพันธ์กับด้านธรรมชาติวิทยาและบางประเด็นกล่าวถึงในเรื่องสังคมวิทยา บางประเด็นเกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และบางประเด็นปัญหาเกี่ยวข้องด้านศาสตร์ปรัชญาและอภิปรัชญา ส่วนประเด็นปัญหาด้านเทววิทยาแบ่งออกเป็นสองส่วน  ส่วนที่หนึ่งเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางศาสตร์เทววิทยา ว่าด้วยกฎเกณท์ทั่วไปของศาสตร์นั้นที่สำเสนอของศาสตร์เบื้องต้นด้านตรรกวิทยาและธรรมชาติวิทยาและอภิปรัชญา และในส่วนที่สองประเด็นเกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อและหลักศรัทธาของอิสลามซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะที่พูดถึงหลักศรัทธา ดังนั้นสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์เหมือนกับนักวิชาการด้านเทววิทยาอิสลามในสำนักอื่นๆที่จะพยายามสร้างความเข้าใจเกี่วยกับด้านเทววิทยา แต่ได้แยกประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเทววิทยาที่เป็นหมวดความเชื่อและการศรัทธาซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะและจัดอยู่ในขอบข่ายความเชื่อทางศาสนา ส่วนประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับเทววิทยาว่าด้วยเรื่องทั่วไปโดยนำศาสตร์ธรรมชาติวิทยา อภิปรัชญามาถกและพูดคุยของปัญหานั้น ได้จัดให้อยู่ในหมวดของประเภทบทนำทั่วไป กล่าวคือ นักวิชาการสาขานี้ถกเถียงเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาในแง่มุมเพื่อให้เปิดหนทางสำหรับการพิสูจน์ยืนยันหลักการพื้นฐานทางศาสนาหรือค้นพบแนวทางแก้ไขปัญหาข้อสงสัยต่างๆ หรือเพื่อสนับสนุนหลักความเชื่อที่เป็นหลักศรัทธาเท่านั้น เราจะขอกล่าวหมวดและสารบัญของตำราทางเทววิทยาในสำนักคิดมุตะซีละฮ์ดังนี้

ก. หลักเอกภาพของพระเจ้า และประเภทความเป็นเอกภาพด้านต่างๆของพระเจ้า

ข. หลักความยุติธรรมแห่งพระเจ้า

ค. ประเด็นปัญหาเรื่องพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าคือสิ่งถูกสร้าง เป็นสิ่งใหม่

ง. ประเด็นปัญหาด้าการกระทำของพระผู้เป็นเจ้าและเป้าหมายของงานรังสรรค์พระเจ้า

จ. ประเด็นเรื่องการการอภัยโทษต่อพระเจ้าและเงื่อนไขของการได้รับการภัย(หลักการด้านการรักษาสัญญาของพระเจ้า)

ฉ. ภาวะความเป็นองค์สัมบูรณ์เดิมของพระเจ้ากับการกำเนิดภวันต์ต่างๆในเอกภพ

ช. ประเด็นปัญหาการกำหนดบทบัญญัติและการมอบภาระหน้าที่อันเกินความสามารถแก่ปวงบ่าวเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ซ. กิจกรรมและพฤติกรรมการกระทำของมนุษย์มิได้เป็นสิ่งถูกสร้างของพระผู้เป็นเจ้า และเจตนารมณ์ของพระองค์ไม่ได้สัมพันธ์ต่อการกระทำของมนุษย์แต่ประการใด

ญ. เอกภพและการกำเนิดเอกภพถือว่าเป็นสิ่งเกิดใหม่

ด. มนุษย์ไม่สามารถจะมองเห็นพระเจ้าด้วยสายตาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

 

ประเด็นปัญหาทางด้านธรรมชาติวิทยา

ก. สสารและองค์ประกอบของสสาร เป็นสิ่งที่มีขนาดและขอบเขตอีกทั้งมีอนุภาคที่เป็นสัดส่วน

ข. กลิ่นและการกำเนิดของกลิ่นคืออนุภาคหนึ่งของสสารและเป็นมูลสสารที่กระจัดกระจายอยู่ในอากาศ

ค. ความรู้สึกการสัมผัสรู้ต่อรสชาติคือส่วนของอนุภาคที่มีปฏิกิริยาต่อประสาทสัมผัสทางการสัมผัสรู้โดยผ่านอวัยวะลิ้น

ฅ. แสงคือสสารที่อรูปและมีอนุภาคที่กระจัดกระจายอยู่ในอากาศ

ง. สสารเป็นภาวะของการขยายตัวและเปลี่ยนแปลง ต้องการที่อยู่

ปัญหาเกี่ยวกับมานุษยวิทยา

ก. มนุษย์มีความเป็นสัตว์มีเสรีภาพและอิสรภาพ ไม่ถูกบังคับ

ข. มนุษย์มีศักยภาพและความสามารถในการคิดและการตัดสินใจ และมีเสรีภาพทางความคิด

ค. ผู้ศรัทธาสามารถจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาและผู้ปฏิเสธศรัทธาสามารถจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ศรัทธา

ง. ผู้ละเมิดฝ่าฝืนกระทำบาป อยู่ในฐานะระหว่างกลาง คือไม่ใช่ผู้ศรัทธาและไม่ใช่ผู้ปฏิเสธศรัทธา

จ. สติปัญญาสามารถเข้าใจและตัดสินสิ่งชั่วดีได้อย่างอิสระ

ฉ. เมื่อใดมีการขัดแย้งระหว่างอัลฮะดีษบทรายงานกับหลักคิดทางสติปัญญา ใหยึดหลักสติปัญญา

ช. อัลกุรอานไม่ขัดแย้งกับหลักปรัชญา แต่ทั้งสองจะเกื้อกูลสนับสนุนต่อกันและกัน และอัลกุรอานสามารถอรรถาธิบายได้ด้วยหลักสติปัญญา

ปัญหาด้านการเมืองและปรัชญาการเมือง

ก. หลักการส่งเสริมความดีและกำชับความชั่วเป็นเรื่องจำเป็นตามหลักศาสนา(วาญิบ)แม้ว่าต้องลุกขึ้นต่อสู้ด้วยอาวุธและก่อการปฎิวัติ

ข. ตำแหน่งผู้ปกครองทั้งสี่ท่าน(คอลีฟะฮ์อบูบักร์ คอลีฟะฮ์ อุมัร คอลีฟะฮ์อุษมาน และคอลีฟะฮ์อะลี)ถือว่าเป็นผู้ปกครองในระบอบอิสลามและถูกต้อง

สำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ไม่ได้ยอมรับทฤษฎีทางปรัชญาอย่างสิ้นเชิงต่อความคิดของปรัชญากรีกโบราณเสียเลยทีเดียว แต่ปราชญ์ผู้รู้ของพวกเรายังได้วิพากวิจารณ์ต่อสำนักปรัชญากรีกอีกด้วย ซึ่งปรัชญากรีกในช่วงความรุ่งเรืองของสำนักมุตะซีละฮ์ได้เข้ามามีบทบาทสูงมาในโลกอิสลาม บรรดาปวงปราชญ์และนักวิชาการประจำสำนักมุตะซีละฮ์ไม่ได้เหมารวมยอมรับโดยสิ้นเชิงต่อทฤษฎีทางปรัชญาของกรีกโบราณไปทั้งหมด แต่ทว่าพวกเขาได้เขียนตำราและบทความทางวิชาการตอบโต้ต่อปัญหาทางปรัชญาและนักปรัชญากรีกโบราณอย่างเอาจริงเอาจังทีเดียวอีกทั้งได้วิจารณ์ปรัชญากรีกในทางบวกเพื่อจะนำเสนอจุดยืนทางความคิดของตัวเองออกมา การสานเสวนาทางวิชาการของสำนักเทววิทยาและนักปรัชญาก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย หมายถึงมันได้นำไปสู่การพัฒนาจนในที่สุดได้ประสานความคิดของทั้งสองฝ่ายให้ใกล้เคียงกัน หลงเหลือเพียงไม่กี่ปัญหาที่ยังคงขัดแย้งกันอยู่และจะพูดแล้วมิใช่เป็นความขัดแย้งแต่เป็นทัศนะที่แตกต่างกันต่างหาก การที่จะอธิบายว่าเทววิทยาได้เอื้ออำนวยประโยชน์อะไรบ้างแก่ปรัชญาและปรัชญาได้สร้างประโยชน์อะไรบ้างแก่วิชาเทววิทยา หมายความว่าทั้งสองศาสตร์ต่างเกื้อกูลกันและกัน

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *