jos55 instaslot88 Pusat Togel Online วิพากษ์ ชาลส์ ดาร์วิน กับทฤษฎีวิวัฒนาการ - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

วิพากษ์ ชาลส์ ดาร์วิน กับทฤษฎีวิวัฒนาการ


วิพากษ์ ชาลส์ ดาร์วิน กับทฤษฎีวิวัฒนาการ

 

โดย  ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

ศูนย์อิสลามศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

 

รู้ไหมว่า มีคำถามหนึ่งที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุดในท่ามกลางประวัติศาสตร์มนุษยชาติ นั่นคือ มนุษย์คืออะไร?  ปัจจุบันนี้ แท้จริงตัวตนของมนุษย์ได้ถูกค้นพบและถูกทำให้รู้จักมากขึ้น ไม่ว่าในด้านธรรมชาติวิทยา หรือด้านจิตวิญญาณ  โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์หรือจากพยากรณ์ทางลัทธิความเชื่อศาสนา

แต่ทว่าบรรดานักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ทั้งฟากตะวันตกและตะวันออก ต่างก็พยายามจะหาคำนิยามที่สมบูรณ์ที่สุดมานิยามเกี่ยวกับมนุษย์  แต่ทว่าไม่มีใครทำได้ จริงหรือ? เป็นไปได้อย่างไร?

ถ้าหากว่ามนุษย์ เป็นแค่สสารหรือวัตถุ  ก็จงไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือทำให้ยุ่งยากหรอก  เพราะว่ามนุษย์สามารถจะสร้างขึ้นมาได้เหมือนสสารอื่นๆ  เช่นอะตอม หรือโมเลกุลอื่นๆ  หรือจะทดลองส่องผ่านกล้อง แล้วสังเคราะห์หาส่วนต่างๆ ของมัน  (แต่มนุษย์ไม่เป็นเช่นนั้น)  แล้วทำไมการจะรู้จักตัวตนของมนุษย์ยังเป็นเรื่องปริศนาจนถึงวันนี้?

ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์ ( Charles Robert Darwin) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี ค.ศ. 1859 ในหนังสือชื่อ The Origin of Species (กำเนิดของสรรพชีวิต) ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ผลงานนี้ปฏิเสธแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสปีชีส์

ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ชุมชนวิทยาศาสตร์และสาธารณชนส่วนมากจึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการในฐานะที่เป็นความจริง อย่างไรก็ดี ยังมีคำอธิบายที่เป็นไปได้ทางอื่นๆ อีก และยังไม่มีการยอมรับทฤษฎีนี้เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ตราบจนกระทั่งเกิดแนวคิดการสังเคราะห์วิวัฒนาการยุคใหม่ (modern evolutionary synthesis) ขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1950[3][4] การค้นพบของดาร์วินยังถือเป็นรูปแบบการรวบรวมทางทฤษฏีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ที่อธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต

ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติตั้งแต่วัยเด็กทำให้ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยเอดินเบอระเลย แต่กลับหันไปช่วยการตรวจสอบสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ช่วยกระตุ้นความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมากขึ้น การเดินทางออกไปยังท้องทะเลเป็นเวลา 5 ปีกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอส เป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขา ผลงานตีพิมพ์เรื่อง การผจญภัยกับบีเกิล (The Voyage of the Beagle) ทำให้เขามีชื่อเสียงในฐานะนักเขียน

ด้วยความพิศวงกับการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตในภูมิภาคที่แตกต่างกัน กับฟอสซิลที่เขาสะสมมาระหว่างการเดินทาง ดาร์วินเริ่มการศึกษาอย่างละเอียด และในปี ค.ศ. 1838 จึงได้สรุปเป็นทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติ[9] แม้ว่าเขาจะอภิปรายแนวคิดของตนกับนักธรรมชาติวิทยาหลายคน แต่ก็ยังต้องการเวลาเพื่อการวิจัยเพิ่มเติม โดยให้ความสำคัญกับงานด้านธรณีวิทยา เขาเขียนทฤษฎีของตนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1858 เมื่อ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ส่งบทความชุดหนึ่งที่อธิบายแนวคิดเดียวกันนี้มาให้เขา และทำให้เกิดการรวมงานตีพิมพ์ของทฤษฎีทั้งสองนี้เข้าด้วยกันในทันที[11] งานของดาร์วินทำให้เกิดวิวัฒนาการสืบเนื่องต่อมา โดยดัดแปลงมาเป็นคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลยิ่งต่อแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางชีววิทยาในธรรมชาติ[3] ในปี ค.ศ. 1871, เขาได้ตรวจดู วิวัฒนาการของมนุษย์ และ การคัดเลือกทางเพศ ใน The Descent of Man, and Selection in Relation to Sex ตามด้วย The Expression of the Emotions in Man and Animals. งานวิจัยเกี่ยวกับพืชได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดหลายเล่ม ในเล่มสุดท้ายเขาได้ตรวจสอบ ไส้เดือน และอิทธิพลที่มันมีต่อดิน(อ้างอิงจาก วิกีพิเดีย หมวดชาลส์ ดาร์วิน )

ชาลส์ ดาร์วิน ได้มีความเชื่อว่า ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต(มนุษย์ สัตว์) มีบรรพบุรุษปู่ทวดแหล่งเดียวกัน  บนโครงสร้างของความเป็นสัตว์และสิ่งมีชีวิตแล้วผ่านการวิวัฒนาการ จึงเกิดปรากฏเป็นชนิดและประเภทต่างๆ ของสัตว์บนโลกใบนี้  เขาได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อว่า” รากเหง้าของมนุษย์ เขาได้กล่าวถึงที่มาของมนุษย์  เขาได้ปฏิเสธความแตกต่างในระดับโครงสร้างระหว่างสัตว์ต่างๆ กับมนุษย์ไว้ในหนังสือของเขา  และเขายังถือว่า การพัฒนาการของมนุษย์ทางด้านร่างกายและทางด้านจิตได้ผ่านการวิวัฒนาการจากสัตว์ประเภทอื่น  เขากล่าวว่า”  สมองของมนุษย์นั้นมีความฉลาดและเฉลียวกว่าสองของลิง เพียงแต่มนุษย์มีภาวะสมบูรณ์มากกว่าลิง และแท้จริงมนุษย์ชาวป่าชาวเขา ถือว่าเป็นข้อกลางระหว่างมนุษย์ปัจจุบันและลิง และมนุษย์ได้วิวัฒนาการมาจากลิง  เพราะมนุษย์และลิงมีขนตามลำตัว ถือว่ามีที่มาแหล่งเดียวกัน”

ชาลส์ ดาร์วิน ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความแตกต่างทั้งหมด ไม่ว่าในเรื่องการเดินด้วยสองเท้า  การยืนตรง  รูปหน้าตา  การเคลื่อนไหวของมือ  และคุณลักษณะอื่นๆ ทางด้านจิตใจ เช่นการคาดเดา  การเพ้อฝัน หรือการคาดคิดเดาที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ เขาได้ถือว่ามนุษย์วิวัฒนาการมาจากลิง หรือแม้กระทั้งคุณลักษณะ พฤติกรรมต่างๆ ไม่ว่าความเสียสละ  ความรัก ความเห็นอกเห็นใจ(เหมือนกัน) อยู่ภายใต้ กฎที่ว่าการเลือกสรรทางธรรมชาติ

ลัทธิ ชาลส์ ดาร์วินกับการไร้ระบบในการรังสรรค์สร้างเอกภพและมนุษย์

บนพื้นฐานที่ได้กล่าวถึงข้อพิสูจน์ทฤษฎีความเป็นระบบระเบียบของเอกภพ  และความเป็นระบอบทางธรรมชาตินั้น มีความมหัศจรรย์และพิศวงยิ่งนัก  อีกทั้งมีความเป็นระบบที่เฉพาะ  และอีกทั้งได้พิสูจน์แล้วว่า ผู้ให้ความเป็นระบบนั้น ทรงวิทยปัญญาและทรงรอบรู้ คือ พระผู้เป็นเจ้า

แต่จากความเข้าใจที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับความเชื่อของลัทธิดาร์วิน  แท้จริงพวกเขาได้เชื่อและยอมรับว่าธรรมชาติมีความเป็นระบบระเบียบ  แต่ทว่าการเชื่อ(ในเรื่องวิวัฒนาการทางสายพันธุกรรม)ถือว่าเป็นการขัดแย้งกับข้อพิสูจน์ในเรื่องหลักความเป็นระบบระเบียบทางเอกภพและการมีผู้ควบคุมการบริหารในการสร้างสรรค์อย่างมากมีเดียว  เพราะว่า การยอมรับในเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการทางด้านกฎธรรมชาติ  ก็จะเกิดผลสะท้อนว่า แท้จริงธรรมชาติทั้งหมดเกิดขึ้นโดยความบังเอิญ และจะมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของชนิดต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตอย่างไร้ความจำกัด(โดยปราศจากระบอบที่ถูกกำหนดสร้างไว้)  กล่าวอีกนัยว่า  การเปลี่ยนแปลงต่างๆ  พื้นฐานนั้นเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ ไร้แบบแผน  และไม่มีผู้กำหนดหรือผู้วางระบบใด

 

วิพากษ์ ทฤษฎีชาลส์ ดาร์วิน

สิ่งที่ชาลส์ ดาร์วิน  ได้กล่าวถึง ทฤษฎีการวิวัฒนาการนั้น  ด้วยกับการค้นคว้าอย่างละเอียดของนักวิทยาศาสตร์และบางกลุ่มที่ได้สนับสนุนทัศนะของเขา  ยังมีความเห็นต่าง และมีความเข้าใจที่ขัดแย้งกันอยู่ทั้งในด้านโครงสร้างและเนื้อหา  และชาร์ล ดาร์วินเองก็ยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้า  และถือว่าเป็นคนมีศาสนาคนหนึ่ง  และเป็นไปไม่ได้ที่เขาต้องการจะให้คนรุ่นหลังสรุปในความเชื่อของเขาถึงการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า

ชาร์ล ดาร์วิน เขาได้ยอมรับถึงการมีระบบของโลกธรรมชาติ และเป็นไปโดยลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และอยู่ภายใต้กฎของการวิวัฒนาการ  แต่ทว่าผู้ที่ได้ปฏิบัติตามและเชื่อตามเขา มีความผิดพลาดในโลกทัศน์ที่วาโลกนี้ไม่จำเป็นต้องมีผู้วางระบบระเบียบ และแล้วก็ได้ทำการเผยแพร่แบะโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องอย่างเป็นล่ำเป็นสัน  และสิ่งที่ลัทธิชาร์ล ดาร์วิน ได้ใช้ประโยชน์ในการจะเป็นข้ออ้างต่อการปฏิเสธ ข้อพิสูจน์ว่าด้วยความเป็นระบบระเบียบของโลก และจะกล่าวว่า แท้จริงเอกภพนี้ยังไม่จำเป็นต้องมีผู้ให้ความเป็นระบบระเบียบ

ในความเป็นจริงแล้วด้วยกับกฎของธรรมชาติที่เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา หรือการวิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิตนั้น  ไม่ได้มีทีท่าจะมีความขัดแย้งในเรื่องการมีผู้วางระบบระเบียบต่อเอกภพแต่ประการใด  และเพื่อให้เกิดความมั่นคงและเข้มข้นและชัดเจนมากกว่า จำเป็นต้องมีผู้วางระบบระเบียบ ที่ทรงมีวิทยปัญญา และมีความรอบรู้

เมื่อชาลส์ ดาร์วิน กล่าวว่า ธรรมชาติจะเลือกสรรในสิ่งที่เหมาะสมกว่า  ดังนั้นการเลือกนี้ เป็นสาเหตุของการขับเคลื่อนของสิ่งมีชีวิต ไปสู่ความสมบูรณ์ และไปสู่ความมีอยู่ที่ดีกว่า  และสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่จะชี้ให้เห็นว่า  ได้มีผู้วางระบบแก่มัน ที่ทรงวิทยปัญญายิ่ง และได้บริหารจัดการอยู่เบื้องหลังความเหมาะสมและความลงตัวต่างๆ นั้น(ทางธรรมชาติ)  โดยเป็นผู้นำทางให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ นั้นไปสู่ความก้าวหน้าและความสมบูรณ์แบบ  และการเลือกในสิ่งที่ดีกว่าทางธรรมชาติ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ  และเรายังได้เห็นถึงความมีระบบระเบียบของโลกใบนี้ ผ่านการชี้นำของผู้อภิบาลและผู้บริหารที่มีความรอบรู้ยิ่ง  โดยเป็นพลังอำนาจที่อยู่เบื้องหลังธรรมชาตินั่นเอง

ทัศนะนักวิชาการด้านชีวะวิทยา

หลักความเป็นจริงในเรื่องทฤษฎีการวิวัฒนาการ  คือต้องการจะเปลี่ยนโครงสร้างหลักของธรรมชาติหนึ่ง  ซึ่งตอนนี้เป็นเพียงสมมติฐานหนึ่ง ซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นร้อยเปอร์เซนต์  และยังไม่ให้การเชื่อมั่นถึงขั้นสูงสุด เพราะยังมีคำถามและข้อสงสัยอีกมากมายที่เกิดขึ้น  และมีนักวิชาการ และนักวิทยาศาสตร์ ทั้งที่ยอมรับและไม่เห็นด้วยอีกจำนวนมากทีเดียว  และส่วนมากนักวิชาการที่ได้ต่อต้าน ชาร์ล ดาร์วิน ได้ยอมรับในเรื่องการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  และการเปลี่ยนหรือโยกย้ายชนิดของสิ่งมีชีวิตไปเป็นอีกชนิดหนึ่ง  ยังคงถกเถียงกัน และเราจะหยิบทัศนะของนักวิชาการที่ได้ตอบโต้ทฤษฎีของ ชาร์ล ดาร์วิน  ดังนี้

ศาสตราจารย์ เซียนซิ ซัง(Jianzhi Zhang)นักชีวะวิทยาชื่อดัง พร้อมกับเพื่อนร่วมงานของเขา จากมหาวิทยาลัย มิชิแกน สหรัฐอเมริกา เขาได้นำ ดี เอ็น เอ ของมนุษย์กับลิงชิมแปนซี และทำการวิจัย ได้ผลลัพธ์ออกมาว่า แท้จริงเกือบประมาณหกล้านปีที่แล้ว มนุษย์กับลิงชิมแปนซีได้แยกโครงสร้างออกจากกัน จาก 232 สายพันธุ์ของลิง ได้มีการเปลี่ยนแปลงออกจากโครงสร้างบรรพรุษของมนุษย์  ดังนั้นจากสิ่งที่นักชีวะวิทยาได้ตั้งสมมติฐานไว้เกี่ยวกับการวิวัฒนาการในสัตว์ระหว่างมนุษย์กับลิง  มีความเห็นขัดแย้งกัน  เพราะว่าผลลัพธ์ของการทดลองและการวิจัย พบว่า ในตัวของลิงชิมแปนซีเองวันนี้ ได้เปลี่ยนโครงสร้างไปหมดแล้วจากจุดร่วมที่จะเกิดขึ้นในมนุษย์  ดังนั้นที่ว่ามีพรรพบุรุษเดียวกันระหว่างลิงกับมนุษย์ ได้เปลียนแปลงไปอย่างมากมาย  ดังนั้นจะพบว่า ลิงชิมแปนซี จะมีความพัฒนาการมากกว่าตัวของมนุษย์  ดังนั้นดังที่ท่านผู้อ่านได้รู้เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ทังหลายได้ค้นพบว่า ลิงชิมแปนซีทั้งหลาย จะมีการวิวัฒนาการไปสู่ความสมบูรณ์ของมันแล้วและไปไกลกว่ามนุษย์เสียด้วยซ้ำ กับในสภาพที่ว่าจะกล่าวอ้างว่ามนุษย์ได้วิวัฒนาการมาจากลิงได้อย่างไร

บางคนจากผู้สนับสนุนทัศนะของดาร์วิลเอง ได้อ้างและพูดเสียงดังว่า เราจะต้องพิสูจน์ ฟอสซิล(Fossil) แต่ทว่ากลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับทัศนะนี้ได้กล่าวว่า แท้จริงแต่ละฟอสซิลก็มีอุปสรรคและปัญหาอยู่มากในการจะพิสูจน์มัน  กล่าวคือบางชนิดของสัตว์มีฟอสซิลหลงเหลืออยู่แต่บางชนิดไม่มีฟอสซิลให้เห็นอีกแล้ว  ดังนั้นนี่คือความบกพร่องของลัทธิดาร์วิลในการจะไปให้ถึงสมมติฐานนั้น เพียงแค่ภาวนากันว่า สักวันหนึ่งจะค้นพบฟอสซิลต่างๆเหล่านั้น(ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้)

กลุ่มศาสนาเทวนิยม กับการรังสรรค์สร้างสิ่งมีชีวิตแบบวิทฤษฎีวัฒนาการ

โองการต่างๆของคัมภีร์เก่าแก่ ไม่ว่าคัมภีร์โตราห์ หรือคัมภีร์ไบเบิล  หรือแม้แต่ในอัลกุรอาน ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นในเรื่องการรังสรรค์สร้างสิ่งมีชีวิตของพระเจ้า  โดยเฉพาะการสร้างมนุษย์ ว่าเป็นการสร้างแบบพัฒนาการ โดยให้มีสรีระ พัฒนา จนมีสมรรถนะทางปัญญา และการมีสัญชาตญาณ ทางผัสสะ  ดังนั้นถ้าตรวจสอบทฤษฎีของ ชาร์ล ดาร์วิน จะมีความขัดแย้งกับคำสอนคัมภีร์จากพระเจ้า

อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอี ได้กล่าวในหนังสือ ตัฟซีร อัลมีซานว่า…

โองการต่างๆ อัลกุรอานได้บ่งชี้ว่า แท้จริงมนุษยชาติได้เกิดขึ้นมาจากชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง  และชายนั้น กุรอานเรียกว่า “อาดัม”   และชายและหญิงคู่แรกนั้น ไม่ได้เกิดมาจากบิดาหรือมารดามาก่อน  แต่มาจากดินเหนียว หรือมาจากดินโคลน

สาเหตุการปฏิเสธของอัลลามะฮ์ฎอบะฎอบะอี ต่อทฤษฎี ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า ทุกๆ สิ่งมีชีวิต มีบรรพบุรุษร่วมกัน แล้วได้เกิดขึ้นเป็นชนิดและเผ่าพันธุ์ต่างๆบนโลกใบนี้  นั้นก็คือไม่สอดคล้องกับโองการอัลกุรอาน   ประการที่สอง ทัศนะของชาร์ล ดาร์วิน เป็นแค่เพียงสมมติฐานหนึ่ง ยังไม่ถึงขั้นร้อยเปอร์เซนต์ที่จะนำมาเพื่อเป็นหลักฐานและข้อจะอ้างสนับสนุนในประเด็นปัญหาอื่นๆได้   และยังไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานที่ชัดแจ้งในประเด็นนี้ทางหลักปรัชญา  ดังนั้นจึงไม่สามารถ จะนำสมมติฐานนี้ ที่อยู่ในภาวะของการคาดการณ์(ว่าอาจจะเป็นไปได้)มาสนับสนุนกับตัวบทของโองการอัลกุรอาน

ข้อโต้แย้งประการที่สอง ของอัลลามะฮ์ฎอบะฎอบะอี ต่อทฤษฎี ชาร์ล ดาร์วิน  คือความเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความสัมพันธภาพของสายพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับลิง  และการโต้แย้งนี้ได้ถูกทำมาตีแผ่โดยนักวิชาการตะวันตกเองและยังมีความขัดแย้งในระหว่างนักชีวะวิทยากันเองอีกด้วย

อายาตุลลอฮ์ มะการีม ชีรอซี ได้กล่าวถึงเรื่องนี้หนังสือ ตัฟซีน นะมูเนะ ของโองการที่ ๒๖  – ๔๔ ซูเราะฮ์อัลฮิจร์ ว่า“ด้วยกับการเพียรพยายามอย่างหนักหน่วงเกี่ยวกับสมมติฐานนี้ และปัญหาในเรื่องหลักความเชื่อต่อพระเจ้า ซึ่งถือว่ามีความขัดแย้งกันนั้น  และสัจธรรมก็คงจะเป็นเช่นนั้น  ทำไม? ก็เพราะว่า มีการทำสงครามกันหนักระหว่างบาตรหลวง นักบวช กับคนที่ได้นิยมต่อความเชื่อในเรื่องการวิวัฒนาการ … แต่ทว่าในวันนี้ เป็นที่กระจ่างสำหรับเราแล้วว่า  ทั้งสองกลุ่มนั้น ไม่ได้มีความขัดแย้งกัน  กล่าวคือถึงแม้ว่าเราจะเชื่อในเรื่องการวิวัฒนาการ หรือเราจะปฏิเสธ  ก็สามารถจะเป็นคนเชื่อในพระเจ้าได้เหมือนกัน  ถึงแม้ว่าอัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการวิวัฒนาการไว้โดยตรง  แต่ทว่าโองการอัลกุรอานได้กล่าวถึงการสร้างมนุษย์โดยตรง(ไม่ผ่านการวิวัฒนาการ) ถือว่าเหมาะสมที่สุด ถึงแม้ว่าไม่พูดให้ชัดๆ ไว้ก็ตาม  นั่นคือภายนอกของโองการ ได้กล่าวถึงการสร้าง อาดัม ก่อนการสร้างชนิตต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ   แต่ในเรื่องสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  อัลกุรอานได้นิ่งเงียบ”

สรุป

๑, ทฤษฎีวิวัฒนาการในการตั้งสมมติฐานว่าถูกต้อง ก็ไม่ขัดแย้งต่อประเด็นปัญหาเรื่องหลักเอกภาพของพระเจ้า  และไม่ขัดแย้งในเรื่องที่ว่า โลกนี้มีความต้องการผู้สร้างหนึ่งองค์และผู้บริหารที่ทรงรู้รอบ ทรงวิทยปัญญา  ส่วนประเด็นที่คิดว่ามีข้อกังขากับ ข้อพิสูจน์ในเรื่องความเป็นระบบระเบียบของโลก  เป็นแค่การคิดผิวเผินเท่านั้น

๒. จากมุมมองของวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยหลักการของการวิวัฒนาการ ให้ความหมายว่า คือ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างของยีนหรือพันธุกรรม เกิดจากเหตุปัจจัยของน้ำหรืออากาศ ที่เป็นเงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นได้  ส่วนในเรื่องสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตทั้งหมด มีพันธุกรรมเดียวกันหรือร่วมกัน และทุกๆ สายพันธุ์ได้ย้อนกลับไปยังพันธุ์หนึ่งเดียว  นี่คือขาดเหตุผลและขาดหลักฐานที่ยอมรับได้ และยังขัดแย้งกับหลักชีวะวิทยาอีกด้วย

ทัศนะของชาลส์ ดาร์วิน กับผลสะท้อนต่อความคิดของมนุษยชาติ

ถึงแม้จะทัศนะของชาร์ล ดาร์วิน จะถูกแพร่หลายและมีการพูดถึงกันมากในแวดวงด้านชีวะวิทยา  ธรณีวิทยา หรือแม้แต่ในด้านการแพทยศาสตร์ก็ตาม  แต่หลังจากที่เขาได้เสียชีวิตลง ได้มีนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการคนอื่นๆ ได้ทำการทดลอง และค้นพบสิ่งใหม่อื่นอีก และยังได้ค้นพบระบอบเรื่อง DNA และในด้านอื่น เสมือนดังเป็นต้นแบบ หรือแบบอย่างสำหรับผู้ที่จะนำเสนอทัศนะและความคิดเห็น โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรมและวิชาด้านจริยศาสตร์ด้วย และปรากฏเป็นเนื้อหา”จริยศาสตร์ตามลัทธิชาร์ล ดาร์วิน”  และความลับและผลสะท้อนต่อวงการวิชาการและสถาบันการทางวิชาการ เหมือนกับ วิทยาการด้านสังคมศาสตร์ หรือปรัชญา  หรือ จริยศาสตร์หรือเทววิทยา

หลักจริยธรรมกับลัทธิ ดาร์วินนิสม์

บนพื้นฐานของทัศนะชาร์ล ดาร์วิน  จะต้องปรากฏเกิดทางธรรมชาติหนึ่งในการแย่งชิงเพื่อการอยู่รอดและการเลือกหนทางที่เหมาะสมกว่าหรือจะต้องมีกำลังมากกว่า  และนั่นคือ กฎธรรมชาติ  ดังนั้นในสังคมและโลกของมนุษย์ ก็จะต้องมีพฤติกรรมเช่นนี้ด้วย  เพราะจะต้องให้สอดคล้องกับกฎนั้น ซึ่งเป็นกฎแห่งความโหดร้ายและป่าเถื่อน  กล่าวคือ ผู้ที่พลังอำนาจมาก หรือแข็งแรงกว่า มีสิทธิ์ทำลายผู้อ่อนแอกว่า และถือว่าเป็นระบบของผู้มีกำลังอยู่เหนือผู้อ่อนแอ และการมีอำนาจอำนาจมากกว่า คือคุณค่า   และทุกๆ ย่างก้าวที่ได้ขัดแย้งกับเส้นทางของการวิวัฒนาการเพื่อให้ตนคงอยู่ ถือว่าขัดแย้งและต่อต้านกับความมีคุณค่า  ดังนั้นมีคำถามว่า แล้วอะไรมันชั่งเป็นเสมือนภัยพิบัติที่จะไหลเทลงความมีคุณค่าของมนุษย์และหลักจริยธรรม?  และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมได้คือ การทำสงคราม การเข่นฆ่า  การนองเลือดในสังคมมนุษยชาติ หรือสังคมสัตว์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  เพราะว่าชนิดของมนุษย์ก็มาจากประเภทของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ที่มีการใช้ชีวิตแบบธรรมดา  และผลของการเพิ่มประชาชาติและลูกหลาน จะเป็นเหตุให้ที่อยู่อาศัยและอาหารลดน้อยลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  และที่จะตามมาคือความขัดแย้งต่างๆ ที่จะเกิดกับสิ่งมีชีวิต ด้วยเหตุของความขัดแย้งและการแข่งแย่งกันและกัน จำเป็นต้องเลือกทางที่ดีกว่าและเหมาะสมกว่า

สรุปของทฤษฎีนี้ เราจะได้ประจักษ์ว่า  ความขัดสน และการแข่งแย่ง  หรือ การดูแลคนเร่ร่อน คนอ่อนแอ เพิ่มขึ้น และยังต้องเพิ่มในเรื่องสุขอนามัย  การรักษาคนป่วย  การช่วยเหลือในการรักษาและอื่นๆ   อีกร้อยพันปัญหา  ซึ่งนั่นคือ ความชั่วร้าย  และวาทกรรมต่างๆ  เช่น ความเมตตา การเห็นอกเห็นใจ  ความเป็นพี่น้อง  มิตรภาพ  และการเกื้อกูล  ระหว่างเผ่าพันธุ์ด้วยกัน และอื่นๆ  จะขาดหายไป

เป็นที่กระจ่างชัดว่า ระบอบทางจริยธรรมแบบนี้ กับระบอบจริยธรรมแบบศาสนา ย่อมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งศาสนาสอนได้มีมิตรภาพ สอนให้เกื้อกูลและเห็นอกเห็นใจต่อกันและกัน

ชนชั้นทุนนิยมก็จะเข้ามามีบทบาทใกล้ชิดมากขึ้นในสังคม และด้วยกับการอ้างอิงถึงหลักคิดนี้ ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จและชัยชนะเหนือผู้อ่อนแอ  และจะยิ่งทำให้พวกเขามีความชอบธรรมในการใช้ทุนและอำนาจทางสังคมมากยิ่งขึ้น(และปัญหาต่างๆ จะปรากฏขึ้นอย่างไม่เป็นธรรม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้) ในที่สุดเรามนุษย์ตกหลุมพรางของทฤษฎีชาร์ล ดาวิล โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง.

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *