jos55 instaslot88 Pusat Togel Online กูรูทางการบริหารสามคนแรกของโลกที่เป็นต้นกำเนิดของการบริหารสมัยใหม่ : เฟดเดอริค เทเลอร์ เฮนรี่ ฟายอล และแมกซ์ เวเบอร์ (ตอนแรก) - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

กูรูทางการบริหารสามคนแรกของโลกที่เป็นต้นกำเนิดของการบริหารสมัยใหม่ : เฟดเดอริค เทเลอร์ เฮนรี่ ฟายอล และแมกซ์ เวเบอร์ (ตอนแรก)



กูรูทางการบริหารสามคนแรกของโลกที่เป็นต้นกำเนิดของการบริหารสมัยใหม่ : เฟดเดอริค เทเลอร์ เฮนรี่ ฟายอล และแมกซ์ เวเบอร์

วิวัฒนาการของทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม ได้เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมภายในอังกฤษ การปฏิวัติอุตสาหกรรมจะเป็นเวลาที่นวัตกรรมได้เริ่มต้นอย่างแท้จริงเปลี่ยนแปลงจากการผลิตภายในครัวเรือน ไปเป็นการผลิตภายในโรงงาน การคิดค้นเครื่องจักรเพื่อการผลิตภายในศตวรรษที่ 19 ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างน่าทึ่ง การผลิตจำนวนมากทำให้ต้นทุนต่ำลง และราคาที่ต่ำลงได้ทำให้อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น ตามมาด้วยความต้องการโรงงานและคนงานเพิ่มมากขึ้น
เมื่อจำนวนโรงงานและคนงานเพิ่มมากขึ้น ผู้บริหารได้เริ่มต้นค้นหาวิถีทางเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและคนงาน จุดมุ่งได้เปลี่ยนแปลงจากการใช้เครื่องจักรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของคนงาน เมื่อผู้บริหารได้กระทำสิ่งเหล่านี้ พวกเขาไ้ด้มองเห็นว่าคนงานจะไม่พอใจต่อสภาวะการทำงาน และคนงานขาดการฝึกอบรมที่จำเป็นต่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ นักคิดทางการบริหารได้เริ่มต้นกำหนดและทดสอบข้อแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ การค้นหาวิถีทางการทำงานที่ดีที่สุดแก่คนงาน การวิจัยเหล่านี้ได้นำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีการบริหารสมัยเดิมระหว่าง ค.ศ 1900 – 1930 เราจะมีนักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดสามคนคืือ เฟดเดอริค เทเลอร์ วิศวกรเครื่องกล ชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกแนวคิดของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ เฮนรี่ ฟายอล วิศวกรเหมืองแร่ ชาวฝรั่งเศส ผู้บุกเบิกแนวคิดของการบริหารทั่วไป และแมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกแนวคิดของการบริหารแบบราชการ

เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 เฟดเดอริค เทเลอร์ วิศวกรเครื่องกล ชาวอเมริกัน ได้นำเสนอแนวคิดของการเพิ่มประสิทธิภาพทางอุตสาหกรรม ก่อนหน้านี้หัวหน้าคนงานเพียงแต่ร้องตะโกนใ่ส่คนงานที่จะจูงใจพวกเขา เฟดเดอริค
เทเลอร์รับรู้ว่าปัญหาไม่ใช่คนงาน แต่ปัญหาอยู่ที่กระบวนการ เฟดเดอริค
เทเลอร์เชื่อว่าเขาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของคนงานภายในทุกโรงงานได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เขายืนยันว่างานควรจะถูกศึกษาและวิเคราะห์อย่างมีระบบ
เฟดเดอริค เทเล่อร์ได้เรียกวิธีการศึกษาของเขาว่า การบริหารแบบวิทยาศาสตร์ ผลงานที่บุกเบิกของเขาคือ การประยุกต์ใช้หลักการทางวิศวกรรมกับการทำงานภายในโรงงาน และได้นำไปสู่การพัฒนาสาชาวิชา
ทางวิศวกรรมปัจจุบันนี้คือ วิศวกรรมอุตสาหการ
เมื่อเฟดเดอริค เทเลอรเริ่มต้นการทำงาน การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ทำให้เกิดโรงงานไปทั่วภายในอเมริกา การลงทุนโรงงาน เครื่องจักร และคนงาน เป็นจำนวนมาก เฟดเดอริค เทเลอรทำงานอยู่ที่มิดเวล สตีล ยี่สิบปี เริ่มต้นจากการเป็นคนงาน และได้กลายเป็นที่ปรึกษาแก่เบธลีแฮม สตีล เพนซิลวาเนีย ตลอดเวลาเขาได้พยายามศึกษาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของคนงานภายในโรงงานได้อย่างไร เขาได้ทำการทดลองหลายอย่าง เพื่อที่จะค้นหาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างไร ดังนั้นคำตอบของเขาต่อปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของเขาเอง ต่อมาเขาได้เขียนเกี่ยวกับการทดลองของเขา ข้อเขียนเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมและพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ 1947 ภายในหนังสือชื่อ Principles of Scientific Management
เมื่อเฟดเดอริค เทเลอร์ อยู่ที่เบธลีแฮม สตีล เขาได้วิจารณ์ผู้บริหารและคนงาน เขารู้สึกว่าผู้บริหารไม่ได้ใช้วิธีการที่ถูกต้อง และคนงานไม่ได้ทุ่มเทกับงานของพวกเขา คนงานจะทำงานให้น้อยอยู่เสมอ เฟดเดอริค เทเลอร์ต้องการให้ทั้งสองกลุ่มใช้วิธีการใหม่กับงานของพวกเขาด้วยการปฏิรูปความคิด
เฟดเดอริค เทเล่อร์ เหมือนกับนักคิดทางการบริหารหลายคน ได้ฝึกอบรมเริ่มแรกเป็นวิศวกร เขาเริ่มต้นชีวิตการทำงานภายในโรงงาน ประสบการณ์ได้อัดฉีดทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาได้คิดค้นนับตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเขาได้ไปทำงานที่มิดเวล สตีล ณ ที่นี่เขาได้กลายเป็นวิศวกร เขาได้พบว่าภายในอุตสาหกรรมเหล็ก คนงานได้พยายามทำงานให้น้อยที่สุด และใช้เวลาให้นานที่สุด เฟด
เดอริค เทเล่อร์ ได้สร้างถ้อยคำขึ้นมาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Soldiering” ที่เกิดจากสาเหตุ 3 ข้อคือ
1 คนงานมีความเชื่อว่าถ้าพวกเขามีประสิทธิภาพมากขึ้น คนงานจะถูกต้องการน้อยลง และงานจะถูกยกเลิกไป
2 ระบบค่าจ้างที่ไม่จูงใจได้ส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำ คนงานได้รับรายได้เท่ากัน ไม่ว่าพวกเขาจะผลิตได้มากหรือน้อย
3 คนงานได้สูญเสียพลังไปจากการใช้วิธีการแบบลองผิดลองถูก แทนที่จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดภายในการผลิต
ดังนั้นเฟดเดอริค เทเล่อร์ได้เสนอแนะว่าผู้บริหารควรจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์วัดประสิทธิภาพการผลิต และกำหนดเป้าหมายการผลิตที่สูงแก่คนงาน และการจูงใจคนงานให้เพิ่มประสิิทธิภาพการผลิตด้วยระบบค่าจ้างรายชิ้น การบริหารแบบวิทยาศาสตร์จะแตกต่างจากวิธีการความคิดริเริ่ม – สิ่งจูงใจ ของการจูงใจคนงาน วิธีการนี้ได้เสนอสิ่งจูงใจเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ได้มอบหมายความรับผิดชอบแก่คนงานค้นหาว่าจะทำอย่างไร เฟด
เดอริค เทเลอร์ ได้อธิบายวิธีการของเขาว่าเป็น “การวางยาพิษ”
ผลงานยิ่งใหญ่ที่สุดของเฟดเดอริค เทเล่อร์ คือ The Principles of Scientific Management หนังสือทางธุรกิจเล่มแรก หนังสือเล่มนี้ได้ถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส และได้กลายเป็นแรงบันดาลแก่เฮนรี่ ฟายอล บิดาของการบริหารสมัยใหม่ ณ เวลานั้นอย่างมาก แม้แต่วลาดิมี่ร์ เลนิน ผู้นำรัสเซีย ได้กระตุ้นให้คนงานรัสเซีย พยายามกับข้อแนะนำของระบบเทย์เล่อร์
ณ แกนของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ของเฟดเดอริค เทเล่อร์ คือ หลักการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ 4 ข้อ เราจะเพียงแต่เรียกหลักการบริหารแบบวิทยาศาสตร์เหล่านี้ว่าระบบเทเลอร์ ด้วย
1 การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ทดแทนวิธีการแบบลองผิดลองถูกกับการทำงานของคนงาน
2 การคัดเลือก การฝึกอบรม และการพัฒนาคนงานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ยอมให้คนงานเลือกงานเอง และฝึกอบรมด้วยตัวเอง
3 การทำงานร่วมกับคนงาน เพื่อเป็นหลักประกันของการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์กับการทำงาน
4 การแบ่งงานและความรับผิดชอบเกือบจะเท่ากัน ระหว่างผู้บริหารและคนงาน ผู้บริหารควรจะรับผิดชอบการวางแผน และคนงานควรจะรับผิดชอบการปฏิบัติ
แนวคิดอย่างหนึ่งของเฟดเดอริค เทย์เลอร์ ที่นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์คือ การศีกษาการเคลื่อนไหวและเวลา เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น เขาได้วิเคราะห์และจับเวลาการเคลื่อนไหวการทำงานของคนงาน และการกำหนดเวลาของการเคลื่อนไหวแต่ละอย่าง คนงานควรจะทำงานได้มากน้อยแค่ไหนด้วยวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่มีอยู่
การทดลองกับเหล็กดิบของเฟดเดอริค เทเล่อร์ ณ เบธลีแฮม สตีลคือ
การเริ่มต้นของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ เมื่อ ค.ศ 1898 เบธลีแฮม สตีล ได้ว่าจ้างเทเลอร์ เป็นที่ปรึกษา เฟดเดอริค เทเลอร์ต้องการกำจัดวิธีการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นเขาได้ทำการทดลองณ เบธลีแฮม สตีล เบธลีแฮม สตีล มีเตาหลอมเหล็ก 5 เตา กลุ่มคนงาน 95 คน ต้องขนเหล็กดิบหนักประมาณ 92 ปอนด์ ด้วยมือจากเตาหลอมเหล็ก เดินขึ้นไปบนแผ่นกระดานพาดอยู่บนรถราง เฟดเดอริค เทเลอร์ ได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของคนงานอย่างละเอียด เช่น วิธีการยกเหล็กดิบ ช่วงก้าวเดิน และระยะเวลาหยุดพัก
คนงานได้รับค่าจ้าง 1.15 เหรียญต่อวัน คนงานขนเหล็กดิบได้เฉลี่ยวันละ 12. 5 ตัน โดยนิสัยแล้วคนงานจะทำงานช้า ชมิดท์ จะเป็นคนงานตัวแสดงภายในหลัการบริหารแบบวิทยศาสตร์
เขาได้ถูกจูงใจให้ขนเหล็กดิบเพิ่มสูงขึ้นจาก 12.5 ตัน
และได้ให้คำสัญญาแก่ชมิดท์ด้วยการเพิมค่าจ้าง ตัวอย่างของชมิดท์ของเฟดเดอริค เทเลอร์ ได้ถูกใช้สอนอย่างกว้างขวางภายในการศึกษาทางการบริหาร
ชมิดท์จะต้องทำตามคำสั่งงานทุกอย่างของเขาอย่างถูกต้อง เขาจะได้รับค่าจ้างรายชิ้นเพิ่มสูงขึ้น ผลลัพธ์คือชมิดท์สามารถขนเหล็กดิบได้ 47.5 ตันต่อวัน
นานเป็นทษวรรษที่ไม่ชัดเจนว่าชมิดท์เป็นบุคคลจริงหรือไม่ หรือการทดลองได้บรรลุความสำเร็จตามที่เฟดเดอริค เทเลอร์จำได้หรือไม่ เมื่อ ค.ศ 1974 นักวิจัย ได้เปิดเผยว่าชมิดท์เคยมีอยู่จริง ชื่อจริงของเขาคือ เฮนรี่ นอลล์

ก่อนการทดลอง ภายหลังการทดลอง
ผลผลิต/คนงาน/วัน 12.5 ตัน 47.5 ตัน
ค่าจ้าง/คนงาน/วัน 1.15 เหรียญ 1.85 เหรียญ
ต้นทุนแรงงานต่อตัน 9.2 เหรียญ 3.9 เหรียญ


ณ มิดเวล สตีล วิธีการศึกษาอย่างหนึ่งของเฟดเดอริค เทเลอร์ นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการบริหารแบบวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เขาได้ใช้การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลากับคนงาน การชี้ให้เห็นว่าคนงานควรจะผลิตมากน้อยแค่ไหนด้วยเครื่องมือและวัตถุดิบที่มีอยู่ เฟดเดอริค เทเลอร์ยืนยันว่าคนงานกลัวการทำงานอย่างรวดเร็ว จะทำให้พวกเขาถูกปลดออกจากงาน เพื่อที่จะกำจัดความกลัวของคนงาน เฟดเดอริค เทเลอร์ ไดกำหนดค่าจ้างแบบจูงใจขึ้นมา ถ้าคนงานผลิตได้ตามมาตรฐาน พวกเขาจะได้ค่าจ้างอัตราหนึ่ง ถ้าผลิตได้สูงกว่ามาตราฐาน คนงานจะได้ค่าจ้างอัตราที่สูงกว่า คนงานจะไม่กลัวต่อการถูกปลดออกจากงาน เพราะว่าบริษัทจะได้รับผลประโยชน์จากการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตด้วย
ตามมุมมองของเฟดเดอริค เทเล่อร์ แล้ว “สิ่งที่คนงานต้องการเหนือสิ่งอื่นใดคือ ค่าจ้างที่สูง” คนงานทุกคนถูกจูงใจด้วยเงิน ดังนั้นเขาได้ส่งเสริมแนวคิดของ “A Fair Day’s Pay A Fair Day’s Work” ข้อสมมุติฐานของมนุษย์ทางเศรษฐกิจ ได้ทำให้เขาเชื่อว่าค่าจ้างรายชิ้นมีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คนงานยิ่งมีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นเท่าไร พวกเขายิ่งมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น ค่าจ้างจะต้องมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลผลิต เราไม่ควรจะมีการรับประกันค่าจ้างขั้นต่ำโดยไม่มีความเกี่ยวพันกับผลผลิต ดังนั้นเขาได้ปรับปรุงวิธีการจ่ายค่าจ้างรายชิ้นแบบดั้งเดิมด้วยวิธีการจ่ายค่ารายชิ้นแบบสองระดับของเขา
รูปจะแสดงให้เห็นผลกระทบของสิ่งจูงใจที่เพิ่มขึ้นของวิธีการจ่ายค่าจ้างรายชิ้นแบบสองระดับของเฟดเดอริค เทเล่อร์ ภายใต้วิธีการจ่ายค่าจ้างรายชิ้นแบบดั้งเดิม คนงานได้รับค่าจ้างรายชิ้นคงที่ (เช่น
5 เซ็นต์) คนงานที่มีผลผลิต 15 หน่วยจะมีรายได้ 75 เซ็นต์ และ 20 หน่วย มีรายได้ 1 เหรียญ วิธีการจ่ายค่าจ้างรายชิ้นของเฟดเดอริค เทเลอร์ มีสองระดับ คนงานที่มีผลผลิตต่ำกว่าผลผลิตมาตรฐานของบริษัทจะได้อัตราต่ำ แต่คนงานที่มีผลผลิตเท่ากับหรือสูงกว่าผลผลิตมาตรฐานของบริษัทจะได้อัตราสูง ดังนั้นคนงานที่มีผลผลิต 25 หน่วย จะได้รายได้ 1.2 เหรียญ
การทดลองการตักวัตถุของเฟดเดอริค เทเลอร์ ณ เบธลีแฮม สตีล จะมุ่งที่การศึกษาการใช้พลั่วตักวัตถุของคนงาน เพื่อจะที่จะค้นหาน้ำหนักที่ดีที่สุดของว้ตถุที่ตักขึ้นมา ณ เวลานั้น คนงานจะใช้พลั่วของพวกเขาเอง และเลือกพลั่วตามอำเภอใจ คนงานใช้พลั่วตักถ่านหินหนัก 3.5 ปอนด์ และใช้พลั่วอันเดียวกันตักแร่ดิบหนัก 38 ปอนด์ ภายใต้การศึกษาของเฟดเดอริค เทเล่อร์ เขาได้กำหนดขนาดของพลั่วที่มีขนาดเหมาะสมกับน้ำหนักวัตถุที่จะตัก การกำหนดรูปร่างและขนาดของพลั่ว และน้ำหนักของวัตถุ เขาชี้ให้เห็นว่าน้ำหนักของวัตถุสองอย่างที่ตักอยู่ในขณะนั้นยังไมถูกต้อง เขาได้ค้ดเลือกคนงานเพื่อทำการทดลองด้วยการใช้พลั่วขนาดแตกต่างกัน เขาได้ให้พลั่วขนาดเล็กเพื่อการตักแร่ดิบ และพลั่วขนาดใหญ่เพื่อการตักฝุ่น
การทดลองชี้ให้เห็นว่าน้ำหนักเฉลี่ยของวัตถุที่ตักควรจะเป็น 21 ปอนด์ ดังนั้นขนาดของพลั่วควรจะแตกต่างกันตามความหนาแน่นของวัตถุที่ตัก เช่น หินปูน ถ่านหิน ฝุ่น และแร่เหล็ก ความมุ่งหมายของเฟดเดอริค เทเล่อร์ ไม่ได้อยู่ที่การป้องกันสุขภาพของคนงาน แต่จะอยู่ที่ผลผลิตสูงสุด ภายใต้การทำตามข้อแนะนำของเขา เบธลีแฮม สตีล สามารถเพิ่มน้ำหนักที่ตักประจำวันของคนงานแต่ละคนจาก 16 ตัน เป็น 59 ตัน

เฟดเดอริค เทเล่อร์ หลุมฝังศพอยู่ที่เพนซิลวาเนีย ข้อความได้จารึกว่า “บิดาของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์” จนเราอาจจะเรียกเขาได้ว่าเป็นปู่ของการให้คำปรึกษาทางการบริหารได้ เฟดเดอริค เทเล่อร์เชื่่อว่าการบริหารที่ดีที่สุดคือศาสตร์ที่แท้จริง ขึ้นอยู่กับการระบุกฏอย่างชัดเจน เขาได้เรียกว่าเป็นการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ การบริหารแบบวิทยาศาสตร์เป็นแนวคิดแรกของการบริหารที่ยิ่งใหญ่ที่ได้เข้าไปสู่มวลชน และได้แพร่กระจายไปยังบริษัทอเมริกันเมื่อต้นศตวรรษที่ 20
ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ ได้กล่าวถึงเฟดเดอริค เทเลอร์ ว่าเป็นบุคคลแรกภายในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้คิดเองอย่างไม่มีข้อเท็จจริง แต่ได้ค้นหาและศึกษางาน วิธีการศึกษางานของเขายังคงเป็นรากฐานพื้นฐานอยู่ในปัจจุบันนี้ ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ มักจะถูกเรียกว่า ” The Guru’s Guru” กูรูทางการบริหารที่ยั่งยืนมากที่สุด เขียนหนังสือ 39 เล่ม แปลเป็นภาษาต่างประเทศเกือบทุกภาษา
เมื่อ ค.ศ 1997 แมคคินซี่ย์ ควอเตอรี่ย์ ได้กล่าวว่า ภายในโลกของกูรูทางการบริหารแล้ว เราไม่มีการการถกเถียงกันเลย ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ คือ กูรูคนหนึ่งที่กูรูคนอื่นยอมก้มหัวให้ แต่ไม่เหมือนกับกูรูคนอื่นที่ก้มหัวให้ ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ เป็นกูรูที่มีสเน่์ห์ที่ไม่เคยดูหมิ่นคนอื่น นักวิจารณ์บางคนได้มองว่า แม้ว่าปีเตอร์ ดรัคเกอร์ได้ฝังตัวอยู่กับสำนักการบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์ แต่ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ บอกว่ากูรูที่เขาชื่นชอบมากที่สุดคือ เฟดเดอริค เทเล่อร์ ิ ปีเตอร์ ดรัคเกอร์เอง ได้เสนอะแนะว่าเราควรจะให้เกียรติ The Guru’s Guru แก่เฟดเดอริค เทเล่อร์ เขาได้กล่าวว่า ชาร์ล ดาวิน ซิกมันด์ ฟอรยด์ และเฟดเดอริค เทเล่อร์ คือผู้สร้างโลกสมัยใหม่
เฮนรี่ ฟอรฺ์ด ผู้ก่อตั้งฟอร์ด มอเตอร์ ไดัรับอิทธิพลอย่างมากจากแนวคิดการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ของเฟดเดอริค เทเล่อร์ ณ เวลานั้น เขาเป็นบุคคลแรกที่ได้ใช้วิธีการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ภายในโรงงานคือ การแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน ข้อได้เปรียบของการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้านได้ถูกกล่าวถึง
โดยอดัม สมิธ ผู้เขียนตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก อดัม สมิธ ได้อธิบายการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของคนงานผลิตเข็มหมุด การแบ่งงานกันทำเฉพาะด้านของคนงานสิบคนจะผลิตเข็มหมุดได้ 48,000 ตัวต่อวัน แต่ถ้าไม่มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน คนงานแต่ละคนจะผลิตเข็มหมุดได้ 10 ตัวต่อ
วันเท่านั้น ตัวอย่างที่ดีที่สุดของข้อได้เปรียบของการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้านคือการประกอบชิ้นส่วนตามสายพานของอุตสาหกรรมรถยนต์
เฮนรี่ ฟอร์ด ได้บุกเบิกการประกอบชิ้นส่วนตามสายพานภายในการผลิตรถยนต์เป็นครั้งแรก การแบ่งการผลิตรถยนต์เป็นขั้นตอนทำซ้ำที่ไม่ซับซ้อน และไม่ต้องใช้คนงานที่มีทักษะอะไร คนงานสามารถเรียนรู้งานได้อย่างรวดเร็ว การผลิตจำนวนมากได้เกิดขึ้นจากการใช้การประกอบชิ้นส่วนตามสายพานที่มีผลกระทบไปทั่วโลก
รถฟอร์ดโมเดล T เป็นรถยนต์คันแรกที่ได้ถูกผลิตเป็นจำนวนมากครั้งแรกของโลกด้วยการประกอบชิ้นส่วนตามสายพาน ก่อนหน้านี้ฟอร์ด มอเตอร์ ได้ผลิตรถยนต์ด้วยช่างทำด้วยมือราคาแพง ฟอร์ด มอเมอต์ได้สร้างความประหยัดจากขนาดจากการผลิตแบบจำนวนมาก ต้นทุนการผลิตได้ลดลงอย่างมากจาก 3000 เหรียญต่อคันเหลือเพียง 900 เหรียญต่อคัน(ค่าเงิน ค.ศ 2501
แฟรงค์ และลิลเลียน กิลเบรธ ได้มีความสนใจต่อการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ บุคคลทั้งสองเป็นวิศวกร ได้ร่วมมือกันเป็นทีมสามีภรรยาศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา แฟรงค์ และลิเลี่ยน กิลเบรธ ได้มีส่วนช่วยอย่างสำคัญต่อการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา พวกเขามักจะใช้ลูก 12 คน เป็นเรื่องของการทดลองอยู่เสมอ การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลาของ แฟรงค์ กิลเบรธ และเฟดเดอริค เทเล่อร์ มีความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เฟด
เดอรริค เทเล่อร์ มุ่งที่การบรรลุประสิทธิภาพด้ายความรวดเร็วของการทำงาน แต่แฟรงค์ กิลเบรธ มุ่งที่การบรรลุประสิทธิภาพด้วย
การลดจำนวนการเคลื่อนไหวของการทำงาน การกำจัดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นออกไป สัญลักษณ์ของระบบเทเล่อร์คือ นาฬิกาจับเวลา แฟรงค์ กิลเบรธ ได้กล่าวว่า ความเข้าใจผิดยิ่งใหญ่ที่สุดได้เกิดขึ้นกับความมุ่งหมายของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ ความมุ่งหมายรากฐานของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์คือ การกำจัดความสูญเสีย การบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างคุ้มค่า ด้วยจำนวนของเวลาและความพยายามที่จำเป็นน้อยที่สุด แฟรงค์ กิลเบรธ เคยเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เขาได้สังเกตุการเคลื่อนไหวของคนงานก่ออิฐ และได้เสนอแนะการกำจัดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น ทำให้คนงานก่ออิฐเพิ่มสูงขึ้นเป็นสามเท่าต่อวัน จาก 1,000 เป็น 2,700 ก้อน
แฟรงค์ กิลเบรธ มองว่าการเคลื่อนไวและความเหนื่อยจะต้องคู่กัน การลดจำนวนการเคลื่อนไหวย่อมจะทำให้ความเหนื่อยลดลง คนงานก่ออิฐยิ่งทำงานได้มากขึ้น เขาได้ใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ศึกษาการเคลื่อนไหวที่ประหยัดที่สุดของงานแต่ละอย่าง
แฟรงค์ กิลเบรธ ได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของมือและได้แบ่งย่อยการเคลื่อนไหวของมือเป็น 17 หน่วยที่แตกต่างกันเรียกว่า 17 Therbligs Therblig เป็นชื่อของ Gilbreth สะกดย้อนหลัง ยกเว้นตัว t และ h แพทย์ปัจจุบันได้เป็นหนี้บุญคุณต่อแฟรงค์ กิลเบรธ นับตั้งแต่เขาเป็นบุคคลแรกที่ได้เกิดความคิดว่าแพทย์ผ่าตัดควรจะใช้พยาบาลเป็น “แคดดี้” ส่งเครื่องมิอที่ต้องการแก่แพทย์ผ่าตัด ก่อนหน้านี้แพทย์ผ่าตัดต้องค้นหาและรับเครื่องมือมาเองในขณะที่กำลังผ่าตัดอยู่
Cheaper by Dozen : เหมาโหลถูกกว่า เป็นหนังสือนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติ เขียนโดย แฟรงค์ จูเนียร์ ลูกชาย และเอิรนเนสทิน ลูกสาวของแฟรงค์ และลิเลี่ยน กิลเบรธ เมื่อ ค.ศ 1948 หนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงครอบครัวกิลเบรธใช้การค้นพบใหม่ของการเคลื่อนไหวและเวลาดูแลบ้าน และเลี้ยงลูก 12 คนอย่างไร และหนังสือเล่มนี้ได้ถูกบันดาลใจสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย
ชื่อหนังสือเกิดจากเรื่องตลกที่ชอบเรื่องหนึ่งของแฟรงค์ กิลเบรธ มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อเขาและครอบครัวขับรถยนต์ไปข้างนอกและหยุดตรงไฟแดง
คนเดินถนนได้ถามว่า ” เฮ้ นาย มีลูกหลายคนทำไม” แฟรงค์ กิลเบรธ แสร้งทำเป็นสงสัยต่อคำถาม และเมื่อไฟเขียว เขาได้ตอบว่า ” พวกเขาออกมาเป็นโหลย่อมจะถูกกว่า คุณรู้ไหม”

เนื่องจากหัวหน้าคนงานเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการผลิต และเป็นคนงานระดับสูงสุด เพื่อที่จะปรับปรุงคุณภาพของการควบคุม ณ ระดับหัวหน้าคนงาน เฟดเดอริค เทเล่อร์ ได้พัฒนาแนวคิดของการเป็นหัวหน้าคนงานตามหน้าที่ ขึ้นมา ตามแนวคิดนี้ เรามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลายคนควบคุมคนงาน หัวหน้าคนงานตามหน้าที่เป็นเทคนิคการบริหารอย่างหนึ่งที่ได้กระจายหน้าที่ของหัวหน้าคนงานของอุตสาหกรรมดั้งเดิม เฟดเดอริค เทเลอร์ มองว่าเราได้คาดหวังมากเกินไปที่จะให้บุคคลเดียวเป็นผู้เชี่ยวชาญภายในทุกด้านของการเป็นหัวหน้าคนงาน
เฟดเดอริค เทเลอร์ ได้เสนอแนะหัวหน้าคนงานตามหน้าที่แปดคน แยกเป็นหน้าที่การว่งแผนสี่คนคือ บัตรคำแนะนำ .เวลาและต้นทุน การกำหนดตารางเวลา และการรักษาระเบียบวินัย และหน้าที่การผลิตสี่คนคือ การควบคุมกลุ่มคนงาน การซ่อมแซม ความเร็วของการผลิต และการควบคุมคุณภาพ

ลิลเลียน กิลเบิรธ เป็นผู้หญิงที่มีการศึกษาดี เธอจบปริญาตรีทางวรรณคดีอังกฤษ และปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิรคลี่ย์ เธอทำงานเคียงข้างสามีของเธอภายในการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว ณ เวลาที่พวกเขาได้ติดต่อกับเฟดเดอริค เทเลอร์ พวกเขาไม่ได้เป็นผู้เริ่มต้นของการศึกษาการเคลื่อนไหว พวกเขาได้ทำการวิจัยและทดสอบของพวกเขาเอง พวกเขาทำงานด้วยกันค้นหาอย่างละเอียดภายในการศึกษาการเคลื่อนไหว การช่วยให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้สูงสุด
แฟรงค์ และลิลเลียน กิลเบิรธ เป็นผู้บุกเบิกที่ยิ่งใหญ่สองคนของการศึกษาการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ การเขียนหนังสือที่สำคัญของพวกเขาคือการศึกษาความเหนื่อยและการเคลื่อนไหว นักวิชาการได้ใช้หนังสือของพวกเขาอยู่เสมอ
เฮนรี่ แกนท์ เป็นวิศวกรเครื่องกล เขาเคยทำงานร่วมกับเฟดเดอริค เทเลอร์ และต่อมาเขาได้แยกตัวออกมา จุดมุ่งของเขาจะอยู่ที่การประยกต์ใช้การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ภายในทุกด้านของการทำงาน เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต การบุกเบิกที่สำคัญของเขาจะมีอยู่สองอย่างคือ ระบบโบนัส และแผนภูมิแกนท์ เฮนรี่ แกนท์ไม่เห็นด้วยกับแผนค่าจ้างต่อหน่วยของเทเลอร์ เพราะว่ามันจะมีผลกระทบต่อแรงจูงใจน้อย เฮนรี แกนท์ได้เสนอแนะแนวคิดใหม่ของการจูงใจคนงานคือ
1 คนงานที่บรรลุข้อกำหนดประจำวันควรจะได้รับโบนัส 50%
2 หัวหน้าคนงานควรจะได้โบนัสที่คนงานแต่ละคนบรรลุมาตรฐานประจำวัน
3 หัวหน้าคนงานจะได้โบนัสพิเศษ ถ้าคนงานทุกคนบรรลุมาตรฐาน เหตุผลของเฮนรี่ แกนท์ คือ การกระตุ้นให้หัวหน้าคนงานฝึกอบรมคนงานให้ทำงานดีขึ้น
เมื่อปลาย ค.ศ 1800 คารอล อดาเมียซคี วิศวกรชาวโปแลนด์ ณ โรงงานเหล็ก โปแลนด์ใต้ ได้พัฒนาแผนภูมิกระแสงานที่มองเห็นด้วยตาที่เขาเรียกว่า ฮาร์โมโนแกรม ขึ้นมา ต่อมาเฮนรี่ แกนท์ ได้นำแนวคิดของเขาไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาแผนภูมิของการกำหนดตารางเวลาของการผลิต เมื่อ ค.ศ 1910 แผนภูมิของเขาได้ถูกอออกแบบที่จะช่วยให้หัวหน้าคนงานภายในโรงงานมองเห็นได้ว่างานของพวกเขาเป็นไปตาม นำหน้า หรือล้าหลังตารางเวลาของการผลิต แผนภูมิแกนท์ได้ถูกใช้กับการวางแผนและการควบคุมโครงการทุกขนาด
แผนภูมิแกนท์ได้ถูกใช้กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของอเมริกา เช่น การสร้างเขื่อนฮูเวอร์ และระบบทางหลวงระหว่างรัฐ และแผนภูมิแกนท์ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญของการบริหารโครงการปัจจุบันนี้ แผนภูมิแกนท์ เป็นแผนภูมิแท่งที่แสดงให็เห็นความคืบหน้าของระยะเวลาตามขั้นตอนของโครงการ แกนตั้งจะแสดงรายการกิจกรรมที่ต้องกระทำ และแกนนอนจะแสดงช่วงเวลา กิจกรรมแต่ละอย่างจะนำแสดงด้วยแท่ง ตำแหน่งและความยาวของแท่งจะแสดงวันที่เริ่มต้น ระยะเวลา และวันที่สิ้นสุดของกิจกรรม แผนภูมิแกนท์จะช่วยให้เรามองเห็นวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของโครงการด้วย

>>คลิกเพื่ออ่านต่อ part 2

Facebook Comments