วิทยาการและศาสตร์อิสลาม
วิทยาการและศาสตร์อิสลาม
แปล/เรียบเรียงโดย ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน
ศูนย์อิสลามศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและการขยายตัวทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพในทุก ๆด้าน การมีส่วนร่วมของทุกชนชั้น หรือการหันเข้ามาช่วยเหลือของเผ่าต่าง ๆ ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งที่ทำให้อารยธรรมอิสลามคงอมตะและธำรงอยู่ ญุรญี ซีดานกล่าวว่า
“บรรดาชาวอาหรับ(มุสลิม) เพียงระยะเวลาหนึ่งศตวรรษกว่า ๆ เท่านั้นพวกเขาได้แปลตำรับตำราภาษาต่าง ๆ เป็นภาษาอาหรับ ซึ่งชาวโรมต้องใช้เวลาหลายศตวรรษในการทำในเรื่องนี้ และก็ยังไร้ความสามารถอยู่ ใช่เลยทีเดียว อารยธรรมอิสลามและมุสลิมได้สร้างอารยธรรมอิสลามขึ้นมาอย่างน่าทึ่งและน่ามหัศจรรย์ ซึ่งได้เจริญก้าวหน้าทุกแขนงและสาขา”(ตารีกตะมัตดุลอิสลาม แปลจากภาษาฟัรซี หน้า ๒๔๗)
บรรดามุสลิมได้เพียรพยายามในการค้นคว้าเพื่อจะเข้าใจต่อคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะของศาสดา จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิชาแขนงต่าง ๆ ที่จำเป็นได้แก่ วิชาด้านการอ่าน วิชาด้านอรรถาธิบายอัลกุรอาน เทววิทยา นิติศาสตร์ วจนะศาสดาศึกษา ไวยากรณ์อาหรับ นิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศาสดา และศาสตร์อื่น ๆ ที่ได้แตกสาขาย่อยอื่น ๆ และยังมีศาสตร์อื่น ๆ ที่ไม่ได้แตกสาขาย่อยมาจากอารยธรรมภายในของอิสลาม เช่นวิชาด้านเรขาคณิต คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์ อภิปรัชญา และอื่น ๆ พวกเขาได้แปลตำราของต่างชาติ และได้เพิ่มเติมองค์ความรู้เหล่านั้น ญุรญี ซีดานกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
“หนึ่งจากด้านต่าง ๆ หรือมุมต่าง ๆ ของอารยธรรมอิสลาม คือ การนำเอาศาสตร์ต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายของต่างชาติ ไม่ว่าจากกรีกโบราณ จากเปอร์เซีย อินเดีย ได้นำมาแปลเป็นภาษาอาหรับ และต่อมาได้เพิ่มเติม ค้นคว้าและวิจัยในเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอีย จนนำไปสู่กันพัฒนาการอย่างสมบูรณ์”(ตาริกตะมัดดุล อิสลาม หน้า ๑๗๘)
เขาได้กล่าวอีกว่า…
“บรรดามุสลิมได้นำเอาบางส่วนของศาสตร์สำคัญด้านปรัชญา ด้านเรขาคณิต การแพทย์และศิลปะศาสตร์จากต่างชาติที่มีอารยธรรมเก่าแก่มาแปลเป็นภาษาอาหรับ และภาษาที่เป็นที่รู้จักกันในยุคนั้น คือภาษาเปอร์เซีย ภาษาอินเดีย กรีก และถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่มุสลิมได้นำมาใช้ประโยชน์(โดยไม่มีการอคติ) เช่นศาสตร์ด้านตรรกวิทยา ปรัชญา อภิปรัชญา การแพทย์ และเรขาคณิตและการคำนวณ ได้นำมาจากกรีก และได้นำวิทยาการด้านดนตรี ดาราศาสตร์ ศิลปะศาสตร์จากชาวเปอร์เซีย ส่วนวิชาด้านการแพทย์ได้นำมาจากชาวอินเดีย และยังได้เรียนรู้วิทยาการด้านการคำนวน ดาราศาสตร์ พฤกษศาสตร์ จากอินเดียด้วย….. และอาจกล่าวได้ว่า ชาวอาหรับ (มุสลิม) ได้เรียนรู้วิทยาการต่าง ๆ จากชาวบาลิโลน ชาวอียิปต์ ชาวเปอร์เซีย ชาวอินเดียและชาวกรีก จนกระทั้งได้ผสมประสานวิทยาการเหล่านั้นกับวิทยาการ จนปรากฏเป็นอารยธรรมอิสลามที่ยิ่งใหญ่”(ตารีกตะมัดดุน อิสลาม หน้า๒๔๖-๒๔๗)
สถาบันทางการศึกษาแห่งแรกของโลกอิสลาม
วิทยาการและวัฒนธรรมอิสลาม ถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของศาสนาอิสลาม ได้เริ่มก่อตัวและเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากระดับหนึ่งสู่อีกระดับหนึ่ง เหมือนกับสิ่งมีชีวิตหนึ่ง เริ่มจากการมีเซลส์ต่าง ๆ ต่อมาได้ขยายและเติบโต จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มั่นคงและเข้มแข็ง ภายใต้เซลส์ต่าง ๆ ที่ได้ก่อตัวกันอย่างแน่นหนา จนปรากฏเป็นรูปร่าง เป็นสิ่งมีชีวิตที่งดงามและน่าชื่นชม
ดังนั้นขบวนการเคลื่อนไหวทางวิชาการของมุสลิมได้เริ่มต้นจาก จุดที่เหมาะสม และเริ่มจากเรื่องและเนื้อหาที่เหมาะสม และด้วยสื่อกลางของผู้เผยแพร่ที่เหมาะสม ดังนั้นในตรงนี้เรามาสังคราะห์ดูซิว่า วิทยาการนั้นได้เริ่มจาจุดไหน? และสถาบันทางการศึกษาของโลกอิสลามแห่งแรกเกิดขึ้น ณ ที่ใด?
ขบวนการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของมุสลิมเริ่มต้น ณ นครมะดีนะฮ์ และตำราเล่มแรกที่สร้างจุดสนใจแก่มุสลิม และสร้างแรงบันดาลใจให้มุสลิมคิดที่จะศึกษาและแสวงหาความรู้ คือ พระคัมภีร์อัลกุรอาน รองลงมา คือ วจนะของศาสดา ฮาดีษ และนั้นแหละ สถานศึกษาแห่งแรกของอิสลามถูกสร้างขึ้น ณ นครมะดีนะฮ์ และเป็นบรรยากาศของการเรียน การศึกษา เพราะเป็นครั้งแรกของชาวอาหรับ จากเมืองฮียาซ ที่อยู่ในมะดีนะฮ์ ได้มีบรรยากาศแบบศิษย์อาจารย์ และได้มีการนั่งเรียนในแบบการเรียนการสอน และการท่องจำ บรรดามุสลิมต่างใจจดจ่อที่จะได้รับฟังการถูกประทานของโองการอัลกุรอาน และจดใจจ่อที่จะเรียนรู้จากโองการเหล่านั้น และได้นำมาจดจำ และถ้าตรงไหนไม่เข้าใจ หรือต้องการจะถามไถ่ พวกเขาจะนำคำถามนั้น ไปถามกับบุคคลที่ศาสดาได้แนะนำไว้ให้บันทึกโองการเหล่านั้น ซึ่งถูกรู้จักว่า “บักทึกวิวรณ์” ยกเว้นในกรณีที่ศาสดาได้นำมาแจกแจงและอธิบายให้ฟังเอง ซึ่งเป็นแบบฉบับของศาสดาที่ได้ปฏิบัติกันอย่างนั้นกับบรรดาสาวกและทุกคนต่างได้เรียนรู้กันและกัน เช่นในมัสยิด ท่านศาสดาจะมีบทเรียน และมีการเรียนเป็นทางการและเป็นรูปแบบการเรียนการสอน และยังมีการสนทนาและพูดคุย และถามตอบปัญหาทางศาสนา และเป็นรูปแบบการเรียนและการสอน
วันหนึ่งศาสดาได้เข้ามายังมัสยิด และเห็นสาวกได้นั่งชุมนุมและสนทนากันอยู่สองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้หมกมุ่นอยู่กับการทำอิบาดะฮ์ อ่านดุอา นมาซ อีกกลุ่มได้สนทนาและเรียนศึกษาศาสนา ได้มีคนหนึ่งจากในกลุ่มนั้นกล่าวถามศาสดาว่า “ระหว่างสองกลุ่มนี้ใครประเสริฐกว่ากัน” ศาสดาตอบว่า “ ทั้งคู่นั้นดีงามยิ่ง แต่ทว่าฉันถูกส่งมาเพื่อการสอน (ประชาชาติ)” และหลังจากนั้นศาสดาได้เดินไปยังกลุ่มที่มีการเรียนการสอนและได้นั่งร่วมอยู่กับพวกเขา (มุนียะตุลมุรีด ชะฮีด ซานี หน้า ๕)
หลังจากยุคของนครมะดีนะฮ์ อิรักถือว่าเป็นพื้นที่ของการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ของอิสลาม ในเริ่มแรกมีสองเมืองในอิรักที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ คือ เมืองบัศเราะฮ์ และเมืองกูฟะฮ์ และเมื่อแบกแดดได้กลายเป็นราชธานี ทำให้แบกแดดกลายเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และในแบกแดดนั่นแหละที่วิทยาการต่าง ๆ ของต่างชาติได้ไหลบ่าสู่โลกมุสลิม และต่อมาศูนย์กลางวิทยาการอิสลามได้เคลื่อนสู่เมืองเรย์ และโคราซาน (อิหร่าน) และเคลื่อนไปยัง อียิปต์ และซีเรีย และสเปน และอื่น ๆ ซึ่งทุก ๆ ที่นั้นเสมือนเป็นอู่อารยธรรม และได้สร้างความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการอย่างมากทีเดียว นักวิชาการด้านอารยธรรมอิสลาม ญุรญี ซีดาน หลังจากที่ได้กล่าวว่า แท้จริงเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้วิทยาการอิสลามรุ่งเรืองเนื่องจากผู้ปกครองและคอลีฟะฮ์ที่ได้สนับสนุนต่อการศึกษาและการเรียนรู้ เขาได้กล่าวว่า…
“วิทยาการและศาสตร์ในอิสลาม หรือการเรียนการสอน ที่มีผู้สนใจของบรรดาผู้อาวุโสโลกมุสลิม เป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาและก้าวหน้าแบบวันต่อวันที่มีผู้ประพันธ์ตำรา และการผลิตตำราทางวิชาการเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งทีเดียว จนทำให้เกิดการค้นคว้าและการวิจัยในด้านศาสตร์อิสลามอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้มีการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจากกษัตริย์ คณะรัฐมนตรี ผู้ปกครอง ผู้ว่าการรัฐ จากอาหรับ เปอร์เซีย โรม อินเดีย ตุรกี ชาวยิว ชาวอียิปต์ ชาวคริสต์ ไม่ว่าประชาชน ที่อยู่ในเมืองซีเรีย อยู่ในอียิปต์ อิรัก เมืองฟารส์ โคราซาน หรือข้ามมหาสมุทรไป แอฟริกา สเปน และเมืองอื่น ๆ ซึ่งบรรดาปวงปราชญ์ได้เพียรพยายามทั้งกลางวันและกลางคืนหมกมุ่นอยู่กับการเขียนตำราและการค้นคว้า กล่าวคือ ทุก ๆพื้นที่ที่อิสลามได้เข้าไปปกครอง ณ ที่นั้นวิทยาการด้านอิสลามได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก จนมีผลงานอันทรงคุณค่าทางวิชาในด้านสาขาต่าง ๆ เช่น ด้านธรรมชาติวิทยา ปรัชญา อภิปรัชญา ศาสตร์ด้านการรายงานคำบอกเล่า คณิตศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ หรือศาสตร์ด้านตรรกวิทยาด้านปรัชญา และได้รวบรวมเป็นหมวดแขนง และจากผลของการค้นคว้าวิจัยของนักวิชาการอิสลามนั้นทำให้เกิดการพัฒนามีสาขาวิชาย่อยเพิ่มเติมอีกมากมาย”(ตารีกตะมัตดุลอิสลาม หน้า ๒๖๔)
กิจกรรมแรกของการเปิดประตูวิทยาการและการไหลบ่าของศาสตร์อื่น ๆ คือการแปลตำราต่างชาติและนำมาเผยแพร่ และส่วนมากของนักวิชาการและปราชญ์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่นี้ คือนักวิชาการของชาวคริสต์ โดยเฉพาะชาวคริสต์ที่ได้ภาษาซีรรี (ซีเรียเดิม) และต่อมาหลังจากนั้นนักวิชาการมุสลิมได้เข้ามาแทนที่ (เป็นองค์กรแปลตำราต่างชาติเสียเอง)
ญุรญี ซีดานกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า…” ยุคการปกครองของบะนีอับบาสเป็นยุคแห่งการฟื้นฟู ทำให้วิทยาการและศาสตร์ต่าง ๆ ได้เฟื่องฟูและรุ่งเรือง ไข่แห่งศาสตร์ต่าง ๆ ได้ฟักตัว ณ นครแบกแดด และต่อมาได้ไหลบ่าสู่อย่างค่อยเป็นค่อยไปสู่ เมืองโครอซาน เมืองเรย์ ต่อมาสู่อาเซอร์ไบจาน มาวะรอนะฮ์ร แล้วสู่อียิปต์ ซีเรีย แล้วไปยังสเปน และเมืองอื่น ๆ แต่ทว่า นครแบกแดด เป็นราชธานีของบะนีอับบาส เป็นนครแห่งความรุ่งเรืองของกษัตริย์ และเป็นศูนย์กลางของปวงปราชญ์ อีกทั้งการรวมตัวของแพทย์และหมอผู้โด่งดังของชาวคริสต์ที่ได้รับใช้คอลีฟะฮ์ ผู้ปกครอง อีกทั้งยังได้มีกิจกรรมการแปลตำรับตำราต่าง ๆ ขึ้น ต่อมานักวิชาการและปราชญ์บางกลุ่มของมุสลิมได้ลุกขึ้นรวมตัวกันในการแปลตำราต่าง ๆ แต่ทว่าโดยทั่วไปแล้วชาวคริสต์ได้ทำกิจกรรมนี้มาก่อนและมีปราชญ์มีชื่อเสียงกว่าได้พำนักและอาศัยอยู่ในแบกแดด และได้รับใช้กษัตริย์กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นพื้นที่ของการยืนในเรื่องการเผยแพร่วิทยาการของมุสลิมนั้นต้องปรับเปลี่ยนไปอยู่ในเมืองอื่น ๆ ที่อยู่นอกนครแบกแดด โดยเฉพาะเมื่อคอลีฟะฮ์ได้แต่งตั้งผู้ปกครองให้ไปดูแลนครรัฐต่าง ๆ กอรปกับบรรดาผู้ปกครองนครรัฐเหล่านั้นได้ยึดมั่นนโยบายของคอลีฟะฮ์ในการเผยแพร่ศาสตร์อิสลามและการค้นคว้าด้านวิทยาการอิสลาม จนทำให้นครรัฐเหล่านั้นเป็นศูนย์การศึกษาและการเรียนรู้วิทยาการอิสลามขึ้น เช่น นครไคโร นครดมัสกัส นีชาพูร อิสกันดาเรีย จนสามารถผลิตปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ขึ้นในโลกอิสลาม เช่น ท่านรอซี มาจากเมืองเรย์ อิบนุซีน่าจากเมืองบุคอรอ ไบรูนีจากเมืองไบรูน อิบนุญะลีล นักพฤษาวิทยา อิบนิบาญะฮ์ นักปรัชญาชื่อดัง อิบนุซุเราะฮ์ แพทยศาสตร์ อิบนุรุชด์ นักปรัชญา อิบนุรูมียะฮ์ นักพฤกษาศาสตร์ โด่งดัง เมืองอันดะลุส (สเปน)”(ตารีกตะมัดดุนอิสลาม หน้า ๒๕๗)
และเซลล์แรกของวิทยาการอิสลามและวัฒนธรรมอิสลามได้เริ่มจากนครมะดีนะฮ์ และถือว่าเป็นจุดแรกที่การก้าวเท้าแห่งการฟื้นฟูทางวิทยาการนั้นเอง
.เนื้อหาแรกของศาสตร์อิสลาม
ส่วนประเด็นเรื่องที่ว่าเนื้อหาอะไรของวิทยาการอิสลามที่ได้ถูกเริ่มต้นขึ้น และเป็นที่สนอกสนใจของบรรดามุสลิม แล้วเป็นจุดเริ่มของการขับเคลื่อนด้านศาสตร์ต่าง ๆ และด้านวิทยาการในโลกอิสลาม
จุดเริ่มแรกของการสนอกสนใจของบรรดามุสลิมให้ทำการศึกษาและค้นคว้าคืออัลกุรอาน ซึ่งทำให้บรรดามุสลิมได้คิดค้นวิทยาการและองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้วยการสร้างความเข้าใจและค้นคว้าในโองการต่าง ๆ ของคัมภีร์อัลกุรอาน และต่อมาได้สนใจในศึกษาในวจนะคำพูดของศาสดา (ฮะดีษ) ดังนั้นสถานที่ที่ได้มีการเริ่มต้นเนื้อหาในเรื่องคือ คือนครมะดีนะฮ์ และถูกค้นพบในองค์ความรู้ด้านฮะดีษและอัลกุรอาน และในยุคต้น ๆ อิสลาม มัสยิดคือสถาบันการเรียนรู้และเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และเนื้อหาแรกที่ได้คิดค้นคว้าและได้คิดค้นเป็นศาสตร์วิชาคือวิชาด้านอัลกุรอานและอัลฮะดีษ และกล่าวได้ว่าศาสดามุฮัมหมัดคือบรมครูคนแรกของโลกอิสลาม ได้เริ่มต้นวิชาการอ่านคัมภีร์ วิชาตัฟซีร (อรรรถาธิบายอัลกุรอาน) วิชาด้านฮะดีษ วิชาด้านเทววิทยา และต่อมาได้ค้นคิดต่อ จนเกิดวิชาด้านไวยกรณ์อาหรับ วิชานิรุกศาสตร์ วิชาด้านสืบค้นผู้รายงานฮะดีษ วิชาประวัติศาสตร์อิสลาม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาการอิสลาม และด้วยกับการเริ่มต้นจากคัมภีร์อัลกุรอานและซุนนะฮ์ จึงปรากฏการแตกสาขาต่าง ๆ ขึ้น
นักบูรพาคดี (เอ็ดเวิรด์ บราเวอร์) กล่าวว่า…” ได้มีศาสตราจารย์คนหนึ่ง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหรับศึกษา เขาได้เขียนบทความหนึ่ง เป็นเรื่องที่ฏอบารีและนักประวัติศาสตร์ยุคก่อนๆของอาหรับได้เคยเขียนไว้ อยู่ในหนังสือ สารานุกรม ไบร์ตีนีก่า( Encyclopedia )โดยได้กล่าวถึงการไหลบ่าเข้ามาของวิทยาการอิสลามว่าเป็นอย่างไร และทำอย่างไรจึงมีความก้าวหน้าโดยที่สังคมอิสลามได้รับประโยชน์จากคัมภีร์อัลกุรอาน และได้กล่าวถึงว่าบรรดาศาสตร์ต่าง ๆ นั้นได้ล้อมรอบเป็นวงกลมกับปรัชญา (โดยเกื้อกูลต่อกันและกัน) ได้อย่างไร เขากล่าวว่า แท้จริงแล้วศาสตร์ทางด้านภาษาและไวยกรณ์ได้ถือว่าเป็นความน่าสนใจระดับต้นของผู้ศึกษา ดังนั้นเมื่อต่างชาติได้เข้ามาศึกษาอิสลาม ประการแรกของพวกเขาคือการเริ่มเรียนวิชาด้านไวยกรณ์อาหรับ(ได้แก่วิชาอิลมุลศอร็อฟ อุลมุลนะห์วุ) เนื่องจากคัมภีร์อัลกุรอานถูกประทานมาเป็นภาษาอาหรับ ดังการการเข้าใจและการอรรถาธิบายคำศัพท์ที่ยาก ๆ ในคัมภีร์ต้องรู้ภาษาอาหรับและไวยากรณ์อาหรับ….(ตารีก ตะมัดดุนอิสลาม หน้า ๒๙๑-๒๙๒)
ญุรญี ซีดาน เป็นนักประวัติศาสตร์ที่ได้เขียนถึงอารยธรรมอิสลามก็ได้ยอมรับว่า แท้จริงมุสลิมได้เริ่มต้นด้านวิชาวิทยาการอัลกุรอานและฮะดีษ และมุสลิมถือว่า อัลกุรอานคือคัมภีร์มหัศจรรย์ ดังนั้นได้เริ่มด้วยการอ่านอย่างถูกต้อง ถูกตามอักระอักษร และมุสลิมถือว่าอัลกุรอานคือคัมภีร์ชี้ทางนำในการใช้ชีวิตทั้งโลกนี้และโลกหน้า ดังนั้นพวกเขาได้เพียรพยายามในการเข้าใจและเข้าถึงความหมายด้านนิติศาสตร์อิสลามในอัลกุรอาน จนเป็นเห็นให้มุสลิมทั่วโลกเกิดความสนอกสนใจต่อการที่จะเข้าใจต่อความหมายของคำต่าง ๆ ที่อยู่ในอัลกุรอาน กล่าวได้ว่าเซลส์แห่งความมีชีวิตได้อุบัติขึ้นแล้วในโลกอิสลามและในสังคมมุสลิม และยังได้พัฒนาสู่ความก้าวหน้า จนกระทั้งปรากฏเป็นอารยธรรมอิสลามอันยิ่งใหญ่จนถึงปัจจุบัน ความอยากรู้อยากเห็น ความปรารถนาในการจะเรียนรู้ของมุสลิมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกเขาสนใจคัมภีร์อัลกุรอานชนิดที่ไร้ขอบเขตและไร้ขีดจำกัด
ญุรญี ซีดานได้กล่าวว่า เนื่องจากความมหัศจรรย์ของคัมภีร์อัลกุรอาน กอรปกับแรงปรารถนาอย่างแรงกล้าของมุสลิมในวิญญาณแห่งการจะเรียนรู้และค้นคว้าต่ออัลกุรอาน จนเป็นสาเหตุทำให้มุสลิมได้พิชิตเหนือวิทยาการอื่น ๆ ดังที่เขาได้กล่าวว่า
“บรรดามุสลิมได้มีความละเอียดลออในการเขียนและการประพันธ์อัลกุรอานและให้ความสำคัญต่ออัลกุรอานเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งไม่เคยเห็นและพบเจอในเรื่องอื่น ๆ ถึงกับได้นำอัลกุรอานมาเขียนบนกระดาษและใช้น้ำหมึกเป็นทองคำหรือเป็นเงิน หรือได้นำมาเขียนลงในผ้าไหมอันมีราคาแพงสูง และได้ใช้น้ำหมึกของทองคำหรือเงิน หรือได้ประดับประดาบ้านเรือน สถานที่ทำงาน สถานศึกษา ด้วยคัมภีร์อัลกุรอาน แม้แต่กำแพงมัสยิด ห้องสมุด หรือสถานที่ต่าง ๆ ได้ถูกประดับประดาด้วยอักษรของอัลกุรอาน และใช้การเขียนอันงดงามและวิจิตเป็นอย่างยิ่งและน่าทึ่ง”
และมุสลิมได้ให้ความสนใจต่ออัลกุรอาน ถึงกับได้แยกซูเราะฮ์ต่าง ๆ ออกมาเขียนเป็นการเฉพาะ หรือแยกโองการต่าง ๆ เป็นการเฉพาะ นำคำเหมือนต่าง ๆ มาเขียนและรวบรวม เช่นในอัลกุรอานโองการใดมีอักษรอะลีฟ โองการใดมีอักษร”บา” และแยกเป็นหมวดหมู่” (ตารีกตะมัตดุนอิสลาม เล่ม๓ หน้า ๙๒-๙๕)
หมายเหตุ :แปล/เรียบเรียงจากหนังสือ خدمات متقابل اسلام وايران คุณูปการอิสลามกับอิหร่าน โดย อายาตุลลอฮ์ ชะฮีด มุรตะฎอ มุเฎาะฮารี