“เที่ยววัด ชมเวียง เยือนวัง” เมืองนนทบุรี#2 สมัยพระนารายณ์มหาราช
เมืองนนท์ ตั้งแต่สมัยพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ.2092ตั้งอยู่ระหว่างวัดหัวเมือง(รพ.พระนั่งเกล้า) จรด วัดท้ายเมือง เชิงสะพานเจษฎาบดินทร์
โดยที่ม.เจ้าพระยาสมัยนั้น เมื่อไหลมาถึง วัดท้ายเมือง ก็จะวกเข้าคลองอ้อม โค้งไปทางท่าน้ำบางใหญ่ และวกมาเข้าคลองบางกรวย ที่วัดชลอ และมาออก ม.เจ้าพระยา ที่ตรงข้ามวัดเขมาฯ แล้วจึงไหลไปสู่ปากอ่าวไทยที่พระประแดง
การเดินทางตามเส้นทางดังกล่าว ทำให้อ้อมเสียเวลา พ.ศ.2179 พระเจ้าปราสาททองจึงโปรดให้ขุดคลองลัด จากวัดท้ายเมือง ตรงไปถึงวัดเขมาฯ กระแสน้ำจึงพุ่งตรงมาตามคลองลัด กลายเป็น ม.เจ้าพระยา แม่น้ำสายเดิมจึงตื้นเขิน เรียกว่าคลองอ้อม
ต่อมาพ.ศ.2208 พระนารายณ์มหาราช พระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง เห็นว่าชัยภูมิเปลี่ยนไป จึงให้ย้ายเมืองนนท์ จากตลาดขวัญ ไปฝั่งตรงข้าม บริเวณ ปากคลองอัอม ครอบคลุม อุทยานเฉลิมกาญจนาถิเษก และวัดเฉลิมพระเกียรติ พร้อมทั้งสร้างป้อมปืน และสร้างศาลหลักเมืองที่ปากคลอง
แผนที่บริเวณเมืองนนท์สมัยพระนารายณ์
รูปปากคลองอัอม
อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ ร.3ทรงสร้าง บริเวณป้อมเก่า(ป้อมทับทิม) ซึ่งเป็นบ้านเดิมของเสด็จตา(พระยานนทบุรี)และเสด็จยาย พร้อมทั้งเป็นสถานที่ประสูติของเสด็จแม่ ของร.3 การสร้างแล้วเสร็จในสมัย ร.4 เป็นศีลป ไทย-จีน
พระอุโบสถประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสดจากจีนลายดอกพุดตาน
พระประธานภายในพระอุโบสถ
พระวิหารหลวงมีกำแพงแก้วล้อมรอบ
กำแพงวัดมีป้อมปราการทั้งสี่มุมแบบเดียวกับพระมหาราชวัง
พระราชานุสาวรีย์ของร.3
หลักฐานของเมืองนนท์ ในสมัยพระนารายณ์ เนื่องจากป้อมปืนถูกรื้อเอาอิฐไปสร้างวัดเฉลิมฯและบางส่วนถูกน้ำเซาะทลายลงแม่น้ำ ปัจจุบันเหลือเพียงศาลเจ้าพ่อหลักเมืองปากคลองอ้อมซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยนั้น
คุยกับชาวบ้าน ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองมีหัวจรเข้เกือบ30หัว ชาวบ้านเล่าว่าสมัยโบราณจรเข้ที่นี่ชุมมาก มีถ้ำที่ใต้พระปรางค์วัดเฉลิมฯ บริเวณนี้เป็นช่วงปากคลองอ้อมมาเชื่อมกับม.เจ้าพระยา สมัยโบราณมีแพ คนจะเอาทรากสัตว์มาให้จรเข้ที่หน้าศาลนี้
ติดตามตอนต่อไป เมืองนนท์สมัย ร.5-ปัจจุบัน
จเนศ นิยมทัศน์
ที่มา: https://janesnote.wordpress.com/2016/07/22/เที่ยววัด-ชมเวียง-เยือน-24/