jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ปรัชญาเศรษฐกิจการเมือง - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ปรัชญาเศรษฐกิจการเมือง


ปรัชญาเศรษฐกิจการเมือง

การดำเนินธุรกิจนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ปรัชญาเป็นตัวประกอบเพื่อสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้เศรษฐกิจการเมืองจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าติดตามทั้งนี้ปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองหมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเมืองเพื่อศึกษาหาความรู้ระบบการเมืองการปกครองไหนดีที่สุดและเหมาะสมกับสังคมและประเทศนั้นๆเพื่อนำระบบการปกครองที่สังคมหรือประเทศนั้นยอมรับว่าเป็นการปกครองแบบไหนที่ดีที่สุดที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมีคุณค่ากับการดำรงอยู่ของสังคมที่มั่นคงมีความสุขเกิดความปรองดองของคนในชาติอย่างยั่งยืนจากนิยามข้างต้นทำให้ผู้เขียนมีความสนใจจะศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองให้เข้าใจและนำไปใช้ในภาคปฏิบัติต่อไป

ปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองคือแนวคิดว่าด้วยการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจการเมืองของประเทศในการบริหารประเทศนั้นจำเป็นต้องมีแนวนโยบายที่สามารถจำต้องเป็นรูปธรรมให้ได้นั้นคือการมีปรัชญาหรือวิธีคิดที่สามารถผลักดันนโยบายเป็นจริงขึ้นมาๆคือการวางกรอบกำหนดระยะเวลาและคาดคำนวณถึงอนาคตของประเทศโดยศึกษาจากแนวคิดนักวิชาการของผู้วางนโยบายและสถานการณ์ระหว่างประเทศมาประกอบสิ่งเหล่านี้เรียกว่าปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองที่จะต้องรวมเอาความก้าวหน้าด้านการปกครองและเศรษฐกิจมาคำนึงถึงก่อนที่จะวางนโยบายใดๆ ในการเอา ปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองมาใช้จำเป็นต้องทำให้แนวคิดที่กำหนดไว้มีการขับเคลื่อนทางปฏิบัติอย่างเช่นการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการปฏิรูปเศรษฐกิจและคณะทำงานเพื่อให้นโยบายที่ได้กำหนดไว้ปฏิบัติได้จริงมีความโปร่งใสสำหรับรูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองที่เห็นปัจจุบันก็คือการมีสำนักงานคณะกรรมการเพื่อการลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเรียกว่า  BOI หรือ BOARD OF INVESMENT รูปแบบการลงทุนรวมทั้งความพยายามในการทำให้ประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยซึ่งประเทศต่างๆจะให้การยอมรับทำการค้ำประเทศที่มีการปกครองและระบบประชาธิปไตยเป็นหลัก

สำหรับปรัชญาด้านเศรษฐกิจการเมืองนั้นอาจยกตัวอย่างได้จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ้งเน้นการดำเนินธุรกิจเน้นความพอเพียงไม่เบียดเบียนและทำธุรกรรมทุกๆด้านเน้นความพอดีเน้นการได้อยู่รวมทั้งการเอาแนวคิดเรื่องความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนมาขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางการเมืองการต่อสู้กับคอรัปชั่นตัวอย่างที่คอรัปชั่น

ตัวอย่างที่มองเห็นเป็นรูปธรรมอีกอย่างหนึ่งก็คือนโยบายมองไปทางตะวันตก(look west policy) อันเป็นนโยบายที่มุ่งสู่การทำการค้ากับประเทศที่อยู่ทางตะวันตกของประเทศไทยได้แก่แถบเอเชียใต้และตะวันออกกลางเป็นต้น การดำเนินนโยบายเรื่องเศรษฐกิจการเมืองดังตัวอย่างที่ได้ยกมาอันได้การเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าและการกำหนดนโยบายมุ่งสู่ตะวันตกเป็นการนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองมาใช้ในภาคปฏิบัติคือประเทศไทยจะพยายามมีส่วนร่วมในการยุติสงครามและสนับสนุนให้ประเทศมีความขัดแย้งกันในภูมิภาคอินโดจีนหันมาทำการค้าร่วมกันเป็นต้นในกรณี(look west policy)ย่อมหมายความว่าประเทศไทยจะยึดเอาตะวันตกเป็นศูนย์กลางทางการค้า

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นพบว่าปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศที่จำเป็นจะต้องมีการคำนึงถึงความก้าวหน้าของประเทศที่สอดคล้องกันและเดินเคียงคู่กันไปทั้งในความก้าวหน้าของประเทศที่สอดคล้องกันและเดินเคียงคู่กันทั้งในความก้าวหน้าในด้านเศรษฐกิจและการเมืองมีการกำหนดปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองประยุกต์เพื่อการดำเนินเศรษฐกิจการเมืองเป็นที่ยอมรับชองคนในประเทศและต่างประเทศมี่ปรารถนาที่จะเห็นประชาธิปไตยในไทยด้วยเหตูนี้เราจะพบว่าองค์กรอื่นๆเมื่อต้องการทำการค้ากับประเทศไทยมักเน้นย้ำเรื่องความเป็นประชาธิปไตยเป็นด้านหลัก

การเมืองและเศรษฐกิจ มีปฏิสัมพันธ์ไขว้ไปไขว้มา (Intertwine) อย่างแยกกันไมออก การเมืองอาจจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และกลับกันเศรษฐกิจก็จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่นอกเหนือจากการเมืองแล้วสังคมก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ กล่าวคือ เมื่อเศรษฐกิจ เปลี่ยนไป สังคมก็จะเปลี่ยนไปตามโครงสร้างใหม่ของเศรษฐกิจ หรือ เมื่อ การเมืองเปลี่ยนไป สังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามระบบการเมือง กลับกันถ้าสังคมเปลี่ยนแปลงจาก การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหรือทางการเมือง ก็จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทาง การเมืองและทางเศรษฐกิจ หรือทั้งสองโครงสร้างในขอบข่ายกว้างขึ้น โดยสรุปก็คือ การเมือง สังคมและเศรษฐกิจ มีปฏิสัมพันธ์ที่ไขว้ไปไขว้มาอย่างแยกไม่ออกขึ้นอยู่กับว่าในยุคสมัยใด ตัวแปรใดเป็นตัวแปรหลัก

แต่ต้องเข้าใจว่าตัวแปรหลักดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะมีผลมาจากตัวแปร ที่เป็นตัวแปรรองในปัจจุบัน เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมในยุโรปเป็นตัวแปรหลักของ การเปลี่ยนแปลง แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทาง การเมืองที่มีเสรีภาพในการคิดและวิจัย ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ทำให้คนกล้าแสดงความคิดเห็นจนนําไปสู่การค้นพบ เครื่องจักรไอน้ำนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ    ซึ่งส่งผลสะท้อนกลับมาสู่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม และในแง่หนึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งสามตัวแปร มักจะมีความพลวัตเปลี่ยนแปลงพร้อม ๆ กันไป หรือคาบเกี่ยวกันไป

ตัวแปรที่สําคัญอีกตัวแปรหนึ่งอันเป็นตัวแปรที่สําคัญก็คือ การเปลี่ยนแปลง ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากการไม่รู้จักใช้เครื่องทุ่นแรงแบบสมัยใหม่ มาสู่การใช้ เครื่องทุ่นแรงที่ใช้พลังงานจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต คือ เครื่องจักรไอน้ำและเครื่องจักรที่เดินด้วย น้ำมัน นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ก็ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เมื่อเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจาก เทคโนโลยี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางความคิดของคนในสังคม เมื่อความคิดเปลี่ยนแปลง ก็จะนําไปสู่การมองโลกที่เปลี่ยนแปลงและการกระทําที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสังคม (Social Technology) เช่น การบริหารจัดการ การอยู่ร่วมกันโดยสันติ กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งเมื่อ เป็นเช่นนี้ตัวแปรสําคัญ ทั้ง 5 ตัวคือการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ซึ่งนําไปสู่ตัวแปรสําคัญที่สุด คือความคิดของมนุษย์    และนี่เป็นตัวแปรสําคัญที่สุด 5 ตัวที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของ องค์กรหลัก ๆ ในสังคม ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงต้อง มีการการขยายไปครอบคลุมถึงตัวแปรอีก 3 ตัวดังที่ได้กล่าวเบื้องต้นแต่ส่วนใหญ่ ตัวแปลดังกล่าวมานี้ก็จะมีการ สันนิฐานว่าเป็น ที่เข้าใจว่า เป็น ส่วนหนึ่ง ของการเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองและเศรษฐกิจ

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงต้องคํานึงถึงข้อเท็จจริง ดังกล่าวมาข้างต้น    ในบทความจะพยายามชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ในสังคมไทยอันมีผลมาจากตัวแปรดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์อย่างกว้าง ๆ ให้เห็นภาพวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์ในสังคมไทย แต่ก็สามารถจะใช้เป็นฐานสําหรับการวิเคราะห์และมองภาพอนาคตได้

 

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศตะวันตก

เมื่อกล่าวถึงประเทศตะวันตก มิได้หมายความว่าตะวันตกเป็นภูมิภาคที่สําคัญที่สุดเพราะในความเป็นจริง ก่อนประเทศตะวันตกจะเจริญรุ่งเรืองนั้นประเทศในตะวันออก เช่น จีนและอินเดีย หรือจะพูดให้ไกลกว่านั้นคืออียิปต์โบราณก็มีการพัฒนาในทาง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทางวัฒนธรรมและอารยธรรมมาก่อน และถือว่าเป็นศูนย์กลาง ของความเจริญของโลกในยุคน้ัน    แต่เนื่องจากประเทศตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปมี ประวัติความเป็นมาที่มีอิทธิพลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคต่อมาจึงมักจะถือเอาวารสารวิทยาการจัดการ

 

 

ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและเศรษฐกิจ

อารยธรรมตะวันตกเป็นฐานของการศึกษาและการวิเคราะห์เพราะหลังจากการเสื่อมสลายของประเทศในตะวันออก ประเทศตะวันตกก็ได้พัฒนาและเจริญขึ้นมาตามลําดับ  จนกลายเป็นตัวแปรสําคัญของการนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกในส่วนอื่น เช่น เอเชีย อเมริกา ลาตินอเมริกา และแอฟริกา

ประวัติศาสตร์ของประเทศตะวันตกมักจะเริ่มต้นด้วยจักรวรรดิโรมันซึ่งเป็นระบบการปกครองบริหาร รวมศูนย์อํานาจด้วยการใช้การปกครองบริหารอันเป็นเครือข่าย ที่แผ่กว้างใช้กองกําลังทหารและใช้กฎหมายในการสร้างจักรวรรดิ จักรวรรดิโรมันเป็น ศูนย์กลางของอารยธรรมตะวันตก   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการผสมผสานระหว่างปรัชญาของกรีกและของโรมัน   จนกลายเป็นแกนหลักสําคัญที่เรียกว่าวัฒนธรรมกรีก – โรมัน (Greco – Roman Culture) จักรวรรดิโรมันเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลายาวนานได้ปูพื้นฐานให้กับประเทศยุโรปและบางส่วนของประเทศแอฟริกาเหนือ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เป็น จักรวรรดิโรมันตะวันออกคือตุรกีปัจจุบัน แต่หลังจากที่จักรวรรดิโรมันล่มสลายด้วยสาเหตุ ต่าง ๆ ซึ่งไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้  ศูนย์กลางอํานาจถูกทําลายลงอันเป็นอํานาจของอาณาจักร   ช่องว่างอํานาจที่เกิดขึ้นจึงถูกแทนที่ด้วยอํานาจของฝ่ายศาสนจักร คือ ศาสนาคริสต์นิกาย คาทอลิก    ซึ่งยึดครองอํานาจอยู่ถึงสี่ศตวรรษระยะเวลา 400 กว่าปีที่กล่าวมานี้เป็นยุคที่เรียกว่าเป็นยุคมืดของตะวันตก โดยนักสอนศาสนาเป็นผู้กุมความคิดและวิถีทางแห่งชีวิต รวมตลอดทั้งการจัดการทางสังคม มีการใช้อํานาจทําลาย  เข่นฆ่า ผู้ซึ่งบังอาจท้าทายต่อ อํานาจของศาสนจักรด้วยการเผาทั้งเป็น   โดยกล่าวหาว่าเป็นแม่มดซึ่งต้องถูกทําลาย    เช่นเดียวกับในกรณีของไทยในอดีตที่มีการกล่าวว่าเป็น ผีปอบและต้องขับไล่ออกไปจากชุมชนหลายกรณีก็ต้องการยึดทรัพย์โดยผู้มีอิทธิพล

ระยะเวลา 400 กว่าปีที่กล่าวมานี้  จึงเป็นยุคที่มีสภาพการแน่นิ่งในทางเศรษฐกิจ  และในทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและในแง่ความคิด    อย่างไรก็ตาม แรงกดดันที่มีกําลังมหาศาลย่อมจะนําไปสู่แรงต่อต้านที่รุนแรงขึ้นในลักษณะเดียวกัน   แต่ท่ามกลางการกดดันก็ยังมีการหลบหลีกด้วยการมีความคิดที่ท้าทายต่อศาสนจักร     ขณะเดียวกันก็มีการคิดที่อิสระ ค้นหาสัจธรรมใหม่ในแง่ของวิทยาศาสตร์ มิใช่ที่ฝ่าย ศาสนจักรจะพยายามทําลายล้างด้วยการเข่นฆ่า ลงโทษอย่างรุนแรง ในกระบวนการที่เรียกว่าตามล่าแม่มด  หรือแม้กระทั่งการทรมานกาลเลโอนกั   ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จนตาบอดและเสียชีวิตในคุก แต่ก็ไม่สามารถจะหยุดยั้งความคิดของมนุษย์ได้ เพราะ มนุษย์จะถูกกักขังได้เฉพาะแต่ร่างกาย แต่จะกักขังความคิดและจิตใจไม่ได้

ขณะเดียวกันสิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ฝ่ายอาณาจักรคือผู้ครองนครก็พยายามที่จะส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีซึ่งในแง่หนึ่งเป็นการค้นคว้าหาความรู้   แต่ขณะเดียวกันก็คือการหาสัจธรรมใหม่ที่พิสูจน์ได้ในเชิงประจักษ์มาท้าทายอํานาจฝ่ายศาสนจักร    สิ่งที่เป็นจุดเด่นที่สุดคือ  การนําไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) เป็นยุคที่เรียกว่าดอกไม้แห่งความคิดโดยฝ่ายศาสนาจักไม่อาจหยุดั้งได้เมื่อความคิดมนุษย์ถูกเปิดให้มีเสรีก็ย่อมนําไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งเป็นการแข่งขันกับความเชื่อ แบบเดิมที่ถูกบังคับให้เชื่อและคล้อยตาม    อีกทั้งทางฝ่ายอาณาจักรก็เกิดความขัดแย้ง ระหว่างผู้ปกครองและขุนนาง จนนําไปสู่ปรากฏการณ์ที่สําคัญที่สุดในอังกฤษ คือการทําสัญญากฎบัตรใหญ่ (Magna Carta) ระหว่างพระเจ้าจอห์นกับกลุ่มขุนนาง คือ บารอน ในปี ค.ศ. 1215 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการปูพื้น การพัฒนาระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยในยุคต่อมา

การพยายามครอบครองอํานาจของฝ่ายศาสนจักรซึ่งมีฐานอยู่ที่สํานักวาติกันก็ได้รับแรงปฏิกิริยาจากฝ่ายอาณาจักรนั้นคือ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ประกาศปลดแอกตัวเอง ออกจากภายใต้อิทธิพลของฝ่ายคาทอลิกด้วยการประกาศตั้ง The Church of English ซึ่งเป็นนิกายใหม่ของศาสนาคริสต์ เรียกว่า โปรเตสแตนต์     คําว่าโปรเตสแตนต์ คือ ผู้ต่อต้านหรือผู้คัดค้านสภาพดังกล่าวได้นําไปสู่การช่วงชิงและถ่วงดุลอํานาจระหว่างฝ่าย อาณาจักรและฝ่ายศาสนจักร แต่สิ่งที่แน่ ๆ คือเสรีภาพในการคิด การค้นคว้า การวิจัย เพื่อหาสัจธรรมนอกเหนือจากสิ่งที่ประกาศและบังคับโดยฝ่ายศาสนจักรนั้นได้ถูกท้าทาย อย่างรุนแรง จากการค้นคว้าวิจัยในทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีได้นําไปสู่ยุคใหม่แห่ง มนุษยชาติในยุโรป นั่นคือ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Scientific revolution) และจาก การค้นคว้าวิจัยมีการค้นพบพลังงานซึ่งไม่ใช่พลังงานชีวิตอันได้แก่เครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งส่งผลอย่างมหาศาลต่อการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของยุโรป นั่นคือ การปฏิวัติ อุตสาหกรรม (Industrial revolution) เมื่อ 300 กว่า ปีมาแล้ว และยังมีการค้นพบพลังงานจากน้ามันก็ยิ่งนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล เมื่อผสมผสานกับความรู้เรื่องดินปืนมาทําเป็นอาวุธซึ่งค้นพบโดยจีน บวกกับเรือกลไฟเดินด้วยเครื่องจักรไอน้ำได้นําไปสู่ลัทธิ ล่าอาณานิคมเพื่อหาตลาดและวัตถุดิบ ส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ในสามทวีป คือ เอเชีย แอฟริกาและอเมริกา อย่างกว้างขวาง

จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางความคิดการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การค้นพบเทคโนโลยีเทคโนโลยีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเกิดเมืองเนื่องจากการเกิด อุตสาหกรรมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองคือ การเรียกร้องการปกครองแบบที่ผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนโยบายของรัฐซึ่งตัวแปร ต่างๆนน้ั ได้แก่เทคโนโลยี ความคิด การเมือง สังคม เศรษฐกิจ มีปฏิสัมพันธ์ที่ไขว้ไปไขว้มา ถ้าจะวิเคราะห์ต้องกล่าว เป็นช่วง ๆ เป็นตอน ๆ แต่ส่วนใหญ่เกี่ยวพันและเกี่ยวโยงเป็นลูกโซ่

ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมืองในสายตาของนักวิชาการตะวันตก

สังคม คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มของมนุษย์ สังคมต้องมีการผลิตทางเศรษฐกิจ และต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม นั่นคือ ระบบเศรษฐกิจและการปกครองบริหาร สังคม ไม่ได้หยุดนิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ชนิดของสังคมขึ้นอยู่กับชนิดของเศรษฐกิจ ของระบบการปกครองบริหาร และระดับการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ได้นําไปสู่การคิดในมุมที่ว่าสังคมมนุษย์มี กระบวนการวิวัฒนาการแบบกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์หรือหลักวิทยาศาสตร์ โดยพัฒนาจากสังคมหนึ่งไปยังอีกสังคมหนึ่ง ตามกฎเกณฑ์    ตัวแปรที่สําคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอันเป็นตัวแปรพื้นฐาน   ซึ่งคารล์ มาร์กซ์ (Karl Marx) ถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานคือเศรษฐกิจ   เศรษฐกิจและรูปแบบการผลิตจะเป็นตัวกําหนดทุกอย่าง ซึ่งเป็นตัวแปรที่คารล์ มารก์ซ์ เชื่อว่าเป็นฐานหลัก (Sub – structure) ส่วนระบบการเมือง การปกครองบริหาร วัฒนธรรม ความคิด นันทนาการ ศิลปะ ดนตรี เป็นผลมาจากตัวแปรพื้นฐานทั้งสิ้น   ซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนบน (Super – structure) จากการใช้เศรษฐกิจเป็นตัวแปรหลักในการ   นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมน้ัน  คาร์ล มาร์กซ์ ได้แบ่งสังคมมนุษย์ ออกเป็น 5 สังคม ตามขั้นตอนตามลําดับ     ดังนั้นคือคอมมิวนิสต์  ปฐมภูมิ (Primitive Communism)  สังคมทาส (Slavery) นําไปสู่สังคมฟิวดาลิส (Feudalism) นําไปสู่สังคมทุนนิยม (Capitalism) นําไปสู่สังคมนิยม (Socialism)

โดยคาร์ล มาร์กซ์ เชื่อว่าในสังคมแต่ละประเภทดังกล่าวนี้จะมีความขัดแย้งกัน    ตามหลัก dialectic ของเฮเกล (Hegal) ก็คือ thesis, anti – thesis, synthesis ในแง่ ของปรัชญาการถกเถียงจะมีการเสนอข้อถกเถียง (Thesis)  จากน้ันก็จะมีการนําเสนอข้อถกเถียงใหม่ซึ่งต่อต้านข้อถกเถียงเดิม (Anti – thesis) และในกระบวนการนั้นอาจจะนําไปสู่กระบวนการผสมผสานระหว่างสองข้อถกเถียง (Synthesis) หรือการสังเคราะห์ ซึ่งจะกลายเป็น thesis อันใหม่ ซึ่งก็จะมี Anti – thesis  ขึ้นมาต่อต้านขัดแย้งและจะนําไปสู่synthesis เป็นกระบวนการต่อเนื่องกันไป สังคมคอมมิวนิสต์ปฐมภูมิก็เกิดความขัดแย้ง จนนําไปสู่สังคมทาส สังคมทาสก็นําไปสู่สังคมอื่น ๆ สุดท้ายจนถึงสังคมทุนนิยม โดย คาร์ล มาร์กซ์ เชื่อและประกาศเป็นหลักการว่าจะถูกทําให้ล่มสลายเนื่องจากความขัดแย้ง ระหว่างผู้ใช้แรงงาน (Proletariat) และเจ้าของปัจจัยการผลิต (Owners of the means of production) นําไปสู่สังคมสุดท้ายซึ่งเป็นสังคมอุดมโภคาคือ สังคมนิยม โดยในทางเศรษฐกิจน้ันมีการผลิตมากมายเหลือกินเหลือใช้เนื่องจากไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ สังคม เต็มไปด้วยความสุข มีเวลาว่างด้วยการล่าสัตว์ตอนบ่าย นั่งฟังดนตรีตอนกลางคืน และถกปรัชญาในยามว่าง สังคมในอุดมคติเรียกว่า Utopia เป็นสังคมเสมือนหนึ่งกับสังคม พระศรีอารย์  ประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรนั้นก็เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าคําทํานายของคาร์ล มาร์กซ์นั้นถูกต้องอย่างไร     แต่สิ่งที่จะชี้ให้เห็นก็คือความพยายามของคาร์ล มาร์กซ์ ที่จะ พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและองค์กรอื่น ๆ ของสังคม

อัลวิน ทอฟเฟอร์ (Alvin Toffler) ในหนังสือ The Third Wave ได้กล่าวถึง สังคมมนุษย์ในลักษณะของคลื่นอารยธรรม โดยก่อนจะมีคลื่นอารยธรรมน้ันมนุษย์เป็นเพียงผู้ล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวมีวัฒนธรรมที่จํากัด และแทบจะไม่มีอารยธรรม จนกระทั่ง สามารถเรียนรู้การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์จึงนําไปสู่อารยธรรมคลื่นลูกที่หนึ่ง  ที่เรียกว่า สังคมเกษตร ในสังคมเกษตรก็มีเศรษฐกิจ เกษตรเป็นตัวแปรหลัก ซึ่งนําไปสู่การค้นคิดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จํากัดและในสังคมดังกล่าวนี้ก็ย่อมจะนําไปสู่การเกิดการปกครองบริหารที่จํากัดอยู่ที่การใช้อํานาจโดยคน ๆ เดียวหรือคนกลุ่มน้อย ที่เรียกว่าระบบการปกครองแบบเผด็จการ ดังนั้น ในสังคม คลื่นลูกที่หนึ่ง สิทธิเสรีภาพย่อมจํากัด ความคิดเสรีเกี่ยวกับเรื่องการเมือง สังคม ย่อมไม่ สามารถแสดงออกได้เต็มที่  ผลจากตัวแปรทางเศรษฐกิจส่งผลต่อระบบการเมืองดังที่กล่าว มาแล้ว และย่อมส่งผลต่อสภาพของสังคม

อารยธรรมคลื่นลูกที่สอง เมื่อสังคมเกษตรพัฒนาไปจนถึงจุด ๆ หนึ่งจนมาถึง จุดที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังที่กล่าวมาแล้ว เกิดการพัฒนา อุตสาหกรรมเมื่อ 300 ปีที่ผ่านมาเกิดการย้ายถิ่นจากชนบทไปสู่เมือง ซึ่งมีอุตสาหกรรมนําไปสู่การเกิดชุมชนเมือง (Urbanization) มีการจัดต้ังเป็นสหภาพเพื่ออํานาจต่อรองจึงได้นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญคือ ระบบการปกครองแบบเปิด และระบบสังคมที่คนอ้าง หลักความเสมอภาคมากยิ่งขึ้น   มีการพัฒนาของสถาบันการเรียนรู้เกิดความเจริญในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องจักร สมองกล และอื่น ๆ แต่ที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลง ในทางเทคโนโลยีสังคม อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ซึ่งจากตัวอย่างของสังคมอารยธรรมคลื่นลูกที่สองน้ันจะเห็นได้ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความคิดไขว้และเกี่ยวพัน ในลักษณะที่แยกกันไม่ออก   อารยธรรมคลื่นลูกที่สองนี้นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของ สังคมโลกด้วยการนําไปสู่ลัทธิล่าอาณานิคม  การแผ่กระจายของระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยอันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป

อารยธรรมคลื่นลูกที่สาม   ได้แก่ สังคมข่าวสาร ข้อมูล ซึ่งนําไปสู่การเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ของวิถีการผลิตทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมสังคมและวัฒนธรรมการเมือง รวมทั้งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในยุคนี้ข่าวสารข้อมูลแผ่กระจายไปทั่ว   เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า social network, social media เกิด การผลิตที่มีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  ที่สําคัญคือ เศรษฐกิจที่ใช้ความคิด (Creative economy) เช่น แฟช่ัน น้ำหอม ดนตรี ภาพยนตร์ การบันเทิงต่าง ๆ ซึ่งทำรายได้ให้กับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมทั่วไป     ที่สําคัญที่สุดคือตัวเทคโนโลยีข่าวสารเอง คือ โทรศัพท์มือถือ เว็บไซต์ อินเตอร์เน็ต ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค และไลน์ทําให้นักคิดหลายคนเป็นมหาเศรษฐี เช่น บิล เกต หรือ มาร์ค ซัคเคอร์เบอร์ก     ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม จากวัฒนธรรม ทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subject political culture) มาสู่วัฒนธรรม ทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participant political culture) ระบบประชาธิปไตยได้มี การแปรเปลี่ยนจากประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative democracy) มาสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง (Participatory democracy) โดยเฉพาะ โดย การผสมผสานระหว่างสองรูปแบบ ในยุคนี้สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องไม่ใช่เพียงแต่เศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมอันได้แก่ปัจจัยสี่ แต่ยังเรียกร้องสิ่งที่เป็นนามธรรมอันได้แก่ rights and freedom, equality, justice, human rights, human dignity ซึ่งการเปลี่ยนแปลง    ดังกล่าวนี้ผู้ที่ยังมีความคิดที่อยู่ในคลื่นลูกที่หนึ่งคือสังคมเกษตรและไม่ยอมปรับตัว ปรับเปลี่ยนความคิดไม่สามารถจะดํารงอยู่ได้เพราะกําลังต่อสู้กับยุคสมัยอันเป็นกงล้อของประวัติศาสตร์ที่ต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้า    เมื่อมองในรูปนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องน่าจะมองเห็นภาพที่ชัดเจน    แนวทางและวิธีการปฏิบัติที่จะดํารงอยู่ได้ในสังคมด้วยการปรับตัวและปรับเปลี่ยนจะทําได้อย่างไร

จากการวิเคราะห์วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ มาจนถึงการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความคิด    ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในแง่วัฒนธรรมทางการเมืองและการเรียกร้องเทคโนโลยี   สังคมที่จะเอื้ออํานวยประโยชน์ต่อการเรียกร้องทั้งในรูปธรรมและนามธรรมนั้น ได้นําไปสู่ปัญหาทางการเมืองคือความขัดแย้งที่ไม่ลงตัวอยู่ในขณะนี้    ประเด็นสําคัญก็คือ นอกเหนือจากที่ กล่าวถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ แล้ว    สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ซึ่งสังคมทุกสังคมต้องมีการปรับตัว   เพราะถ้าไม่สามารถจะปรับตัวกับยุคสมัย ผลจากความพลวัตของการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมจะนําไปสู่ความขัดแย้งด้วยการหาข้อยุติด้วยการใช้ ความรุนแรง    ดังนั้น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจึงไม่สามารถจะมองได้เฉพาะจากตัวแปรของมนุษย์ที่เป็นแกนนําว่าต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งอํานาจทางการเมือง และผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจและสถานะทางสังคมซึ่งก็เป็นความจริง แต่ในความเป็นจริงนั้นเป็นความขัดแย้งอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย และคนที่อยู่ในยุคสมัยเดิม ๆ ไม่สามารถจะปรับตัว และพยายามดึงกงล้อของประวัติศาสตร์ให้อยู่กับที่ซึ่งยากจะนําไปสู่จุดยุติที่คาดหมาย เนื่องจากเป็นความหวังที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้กล่าวเตือนไว้ว่า    การอยู่รอดของ สิ่งมีชีวิตและเผ่าพันธุ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงที่สุด   หรือฉลาดที่สุด    แ ต่อยู่ที่ความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

 

บรรณานุกรมเชิงอรรถ

David miller,เกษียร เตชะพีระ , แปล ปรัชญาการเมือง political  philosophy, พิมพ์ครั้งที่1 สำนักงาน open world ปีที่พิมพ์ 8/2017

มอริซ  แครนสตัน,ปรัชญาการเมือง political dialogues พิมพ์ครั้งที่ 1  สำนักพิมพ์ สยามปริทัศน์, สนพ.ปีที่พิมพ์ 1972

ลีโอ  สเต๊า , ประวัติปรัชญาการเมือง เล่มที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 4 สำนักพิมพ์ มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการ

พัฒนาโครงการจัดพิมพ์คบไฟ  ปีที่พิมพ์ 2007

 

 

บรรณานุกรม

ปรัชญาการเมือง political  philosophy

ปรัชญาการเมือง political dialogues

ประวัติปรัชญาการเมือง เล่มที่ 2

นาย อับดุรเราะห์มาน   มะลูลีม  รหัส 005 รัฐศาสตร์

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *