jos55 instaslot88 Pusat Togel Online จิม คอลลินส์ บริษัทที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร ตอนที่1 - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

จิม คอลลินส์ บริษัทที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร ตอนที่1

     

    เราจะมีหนังสือทางการบริหารสามเล่มที่ต้องอยู่บนชั้นวางหนังสือของผู้บริหารมากที่สุดคือ In Search of Excellence ของโทมัส ปีเตอร์ 1982 Built to Last 1994 และ Good to Great 2001 ของจิม คอลลินส์ หนังสือสามเล่มนี้ได้ทำให้ผู้เขียนกลายเป็นกูรูทางการบริหาร หนังสือสามเล่มนี้ จะใช้วิธีการอย่างเดียวกัน การระบุบริษัทที่ “ยิ่งใหญ่” หรือ “ดีเด่น” หรือ “ยั่งยืน” พวกเขาได้พยายามจะอ้างถึงสูตรที่สามารถถ่ายทอดได้เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ ความดีเด่น และความยั่งยืน ของบริษัทเหล่านี้หนังสือสามเล่มของเราได้กล่าวถึง 50 บริษัท ที่จริงแล้ว 60 บริษัท แต่ 10 บริษัท ได้ถูกยกย่องจากการปรากฏถึงสองครั้ง ครึ่งหนึ่งของบริษัทของ Built to Last จะอยู่ภายใน In Search of Excellence เกือบสิบปีก่อนBuilt to Last ผู้เขียนคือ จิม คอลลินส์ และเจอร์รี่ โพรร่าส์ ค.ศ 1994 หนังสือเล่มนี้จะเป็นผลลัพธ์จากการวิจัยว่าอะไรทำให้บริษัทยั่งยืน การระบุคุณลักษณะร่วมกันของบริษัทที่ยั่งยืน จิม คอลลินส์ จะเรียกว่าบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ พวกเขาได้ระบุบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ว่าเป็นองค์การที่ป็นเลิศภายในอุตสาหกรรม พวกเขาได้ถูกชื่นชมอย่างกว้างขวางจากนักธุรกิจที่รอบรู้บริษัทที่มีวิสัยทัศน์ได้สร้างรอยประทับไว้บนโลกและมีซีอีโอสืบทอดอยู๋หลายรุ่น พวกเขาจะมีวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์หลากหลาย และบริษัทจะถูกก่อตั้งก่อน ค.ศ 1950 ณ เวลา ของการเขียนหนังสือเล่มนี้เมื่อ ค.ศ 1995 บริษัทเหล่านี้จะมีอายุเฉลี่ยเกือบหนึ่งร้อยปี อะไรที่นำบริษัทเหล่านี้ไปสู่ความยั่งยืนและการเจริญเติบโต บริษัทที่ยั่งยืนและเจริญเติบโต พวกเขาได้ระบุุ บริษัทที่มีวิสัยทัศนน์ 18 บริษัท เช่น 3 เอ็ม วอลท์ ดิสนี่ย์ เจ็นเนอรัล อีเล็คทริค ไอบีเอ็ม วอล-มาร์ท และฟอร์ด มอเตอร์ เป็นต้น บริษัทเหล่านี้จะมีความเป็นผู้นำภายในอุตสาหกรรม การนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางนวัตกรรม และพวกเขาจะมีไหวพริบที่เหนือกว่าคู่แข่งขันอยู่เสมอ Built to Last จะมีอิทธิพลต่อผู้บริหารจำนวนมาก นับตั้งแต่หนังสือเล่มนี้ได้ถูกพิมพ์ครั้งแรก จิม คอลลินส์ ได้กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ ท่ามกลางเอ็มบีเอููหนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็นพายุถล่มโลกของการบริหารถ้าเราได้สนใจหนังสือทางธุรกิจ โอกาสที่เราจะรู้จักจิม คอลลินส์ จะสูงมาก หนังสือของเขาจะเรียบง่าย ย่อยง่าย และมันจะคล้ายกับอ่านนิยายมากกว่า แทนที่จะเป็นหนังสือทางธุรกิจ หนังสือเล่มแรกของจิม คอลลินส์ คือ Built to Last – 1994 หนังสือเล่มนี้จะเกี่ยวกับเราจะยังอยู่เป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร หนังสือทางธุรกิจที่มีอิทธิพลมากที่สุดเล่มหนึ่งภายในยุคของเรา แม้ว่าหนังสือเล่มนี้ได้ถูกพิมพ์มานานกว่ายี่สิบปีแล้วหนังสือเล่มที่สองของเขาคือ Good to Great – 2002 หนังสือเล่มนี้จะเกี่ยวกับเราจะกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร และสามารถเขียนก่อน Built to Last ได้ – ยิ่งใหญ่ก่อนที่จะยังคงยิ่งใหญ่อยู่ รากฐานของหนังสือเล่มนี้ตลอดเล่มคือ บริษัทที่ดีสามารถกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร หนังสือเล่มสุดท้ายคือ Great by Choice หนังสือเล่มนี้จะเกี่ยวกับเราจะอยู่อย่างยิ่งใหญภายในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนและวุ่นวายได้อย่างไร จิม คอลลินส์ จะเป็นนักวิชาการที่ได้ทุ่มเทเวลานานกว่าสามสิบกว่าปีภายในการวิจัย เขาจะเป็นผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมหนังสือหกเล่มที่ขายได้รวมมากกว่าสิบล้านเล่มทั่วโลก ด้วยแรงขับเคลื่อนจากความอยากรู้ที่ไม่ย่อท้อ จิม คอลลินส์ ได้เริ่มต้นการวิจัยและการสอนของเขา ณ คณะบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

    Good to Great ของจิม คอลลินส์ จะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับบริษัทที่ดีมายาวนาน จากนั้นด้วยเหตุใดก็ตามได้กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่อย่างยั่งยืน เพื่อที่จะค้นหาบริษัทเหล่านี้ บริษัท 1,435 บริษัท ได้ถูกพิจารณาภายในช่วงเวลา 40 ปี ภายใต้การวิจัยนี้ เราได้ค้นพบบริษัทที่ยิ่งใหญ่สิบเอ็ดบริษัท และคำถามที่หนังสือเล่มนี้พยายามจะตอบคือ บริษัทเหล่านี้ได้กลายเป็นยิ่งใหญ่อย่างไร ภายในหนังสือ Good to Great จิม คอลลินส์ ได้อธิบายคุณลักษณะของบริษัที่ยิ่งใหญ่ไว้ดังต่อไปนี้


1. ความเป็นผู้นำระดับ 5 บริษัทที่ยิ่งใหญ่จะบริหารด้วยความเป็นผู้นำระดับ 5 ผู้นำเหล่านี้จะมีความถ่อมตัว และพวกเขาไม่ได้แสวงหาความสำเร็จเพื่อชื่อเสียงของตัวพวกเขาเอง แต่ความสำเร็จจะจำเป็นต่อการเจริญเติบโตขององค์การ พวกเขาจะร่วมการยกย่องต่อความสำเร็จ และพวกเขาจะเป็นลำดับแรกที่ยอมรับข้อตำหนิความผิดพลาด จิม คอลลินส์ ได้กล่าวว่าผู้นำระดับ 5

มักจะขี้อาย และไม่กลัวเมื่อต้องทำการตัดสินใจที่บุคคลอื่นส่วนใหญ่มองว่าเสี่ยงภัย

2. ใครก่อน ต่อจากนั้นอะไร บริษัทที่ยิ่งใหญ่จะไม่ตัดสินใจว่าอะไรที่เราต้องการจะทำ และจากนั้นได้บุคคลที่เราต้องการจะให้
ทำมัน แต่เราจะเริ่มต้นด้วยการได้บุคคลที่เหมาะสมเข้ามาภายในองค์การและให้บุคคลที่ไม่เหมาะสมออกไปการได้บุคคลที่เหมาะสมจะต้องมาก่อนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ เกือบทุกสิ่งทุกอย่าง ต่อจากนั้นเราจะปล่อยให้พวกเขาทำ บุคคลก่อน ต่อจากนั้นอะไร หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเรา การรับรู้ว่าบุคคลไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีคุณค่ามากที่สุดของเรา แต่จะเป็นบุคคลที่เหมาะสมผู้นำของบริษัทที่่่ยิ่งใหญ่จะไม่เริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ เริ่มแรกพวกเขาจะสรรหาบุคคลที่เหมาะสมและกำจัดบุคคลที่ไม่เหมาะสม ต่อจากนั้นการวางบุคคลที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับงานที่เหมาะสม พวกเขาไ้ด้พิสูจน์สุภาษิตเก่าแก่ว่า บุคคลคือทรัพย์สินทีสำคัญที่สุดของเราไม่ถูกต้อง และเปลี่ยนเป็นว่า บุคคลที่เหมาะสมคือทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของเรา

3. การเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่โหดร้าย เราจะต้องเผชิญกับข้อเท็จทริงที่โหดร้ายภายในสถานการณ์ แต่เรายังคงไม่ยกเลิกความหวัง เราจะต้องรักษาความเชื่อไว้อย่างแน่วแน่ที่เราสามารถและทำให้เป็นจริงในที่สุดโดยไม่คำนึงถึงความยุ่งยาก
บริษัทที่ยิ่งใหญ่จะยึดมั่นสิ่งที่่จิม คอลลินส์ เรียกว่า สต็อคเดล พาราดอกซ์ เราต้องรักษาความศรัทธาที่แน่วแน่ไว้ว่า เราสามารถและจะชนะในที่สุดโดยไม่กลัวความยากลำบาก และในขณะเดียวกันเราจะต้องมีระเบียบวินัยเผชิญกับข้อเท็จจริงที่โหดร้ายที่สุดของความเป็นจริงในขณะนี้ ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็
ตาม

4. ตัวเร่งเทคโนโลยี่ เราจะต้องใช้เทคโนโลยีเร่งการเจริญเติบโตภายในวงกลมสามวงของแนวคิดของเม่น บริษัทที่ยิ่งใหญ่จะมองเทคโนโลยีแตกต่างออกไป พวกเขาจะไม่เคยใช้เทคโนโลยีเป็นวิถีทางพื้นฐานของการจุดชนวนการปฏิรูป บริษัทที่ยิ่งใหญ่จะสามารถระบุเทคโนโลยีอะไรที่สอดคล้องกับแนวคิดเม่นของพวกเขา พวกเขาไม่ได้รับเทคโนโลยีไว้เพียงเพราะว่ามันล่าสุดหรือยิ่งใหญ่ที่สุด หรือเพื่อเห็นแก่มัน จุดที่น่าสนใจคือ เมื่อเทคโนโลยีได้ถูกใช้อย่างถูกต้อง มันจะกลายตัวเร่งของแรงเหวี่ยง ไม่ใช่ผู้สร้างแรงเหวี่ยงข้อเท็จจริงที่น่าประหลาดใจคือ จิม คอลลินส์ ได้ค้นพบว่าบริษัทที่ยิ่งใหญ่มากกว่า 80% ไม่ได้ระบุเทคโนโลยีเป็นปัจจัยห้าลำดับสูงสุดต่อการสร้างความยิ่งใหญ่แก่บริษัท เขายังได้ค้นพบว่าสาเหตุพื้นฐานความล้มเหลวของบริษัทไม่เคยใช่เทคโนโลยี ถ้าเราล้าหลังภายในเทคโนโลยีที่ยังอยู่ภายในแนวคิดเม่นของเรา เราจะเพียงแต่ดีและไม่ยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่มันไม่เคยเป็นเหตุผลการตกต่ำของบริษัท เทคโนโลยีด้วยตัวของมันเองไม่เคยทำให้บริษัทจากดีไปสู่ยิ่งใหญ่

5. วัฒนธรรมแห่งระเบียบวินัย บริษัทที่ยิ่งใหญ่จะรวมกันระหว่างวัฒนธรรมแห่งระเบียบวินัยและการเป็นผู้ประกอบการที่มีจริยธรรม พวกเขาไม่ต้องการสายการบังคับบัญชา ระบบราชการ และการควบคุมมากเกินไป จิม คอลลินส์ ได้มุ่งที่ระเบียบวินัยพื้นฐานสามด้านภายในองค์การ เราสามารถจะสร้างรากฐานของระเบียบวินัยได้ต่อเมื่อเรามีบุคคลที่เหมาะสมภายในรถโดยสารเท่านั้น บุคคลที่มีระเบียบวินัยด้วยตัวพวกเขาเอง ระเบียบวินัยสามด้านเหล่านี้คือ บุคคลที่มีระเบียบวินัย ความคิดที่มีระเบียบวินัย และการกระทำที่มีระเบียบวินัย

6. ล้อตุนกำลัง บริษัทที่ยิ่งใหญ่รับรู้ว่าเราจะไม่มีการกระทำอย่างเดียวที่ขับเคลื่อนบริษัทไปสู่ความยิ่งใหญ่ได้ แต่มันจะเป็นลำดับของการกระทำที่สะสมที่บวกเพิ่มแก่ผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจและยั่งยืน จิม คอลลินส์ จะอ้างว่ามันเป็นเหมือนลัอตุนกำลัง ผลกระทบของล้อตุนกำลัง ล้อตุนกำลังจะใหญ่ หนัก เสียงดังเอี้ยด ตอนเริ่มต้นเราจะดัันมันได้ยาก และต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะให้มันหมุน แต่กระนั้นเมื่อมันได้เริ่มต้นหมุน และเราได้ใช้แรงอย่างต่อเนื่องดันมันไประยะหนึ่ง มันจะสร้างแรงเหวี่ยงและกลายเป็นหมุนเร็วขึ้นและเร็วขึ้นภายใต้วิถีทางเดียวกัน นานหลายปีบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้ทำงานหนักด้วยการทำสิ่งที่ถูกต้อง ความก้าวหน้าเริ่มแรกจะช้า และตลอดเวลามันจะสร้างแรงเหวี่ยง จนในที่สุดบริษัทได้ไปถึงจุดแห่งความยิ่งใหญ่ การสร้างบริษัทที่ยิ่งใหญ่จะใช้เวลานาน เวลาเฉลี่ยของบริษัทที่จะบรรลุความยิ่งใหญ่คือเจ็ดปี เราจะไม่มีเรื่องราวของความสำเร็จเพียงข้ามคืน

7. แนวคิดของเม่น แนวคิดที่ตกผลิกและเรียบง่ายจะเกิดขึ้นจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการตัดกันของวงกลมสามวง : 1 เราได้ลุ่มหลงเกี่ยวกับอะไร 2 เราสามารถทำอะไรได้ดีที่สุดภายในโลก และ 3 แรงขับเคลื่อนที่ดีที่สุดของเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของเราคืออะไร การปฏิรูปจากบริษัทที่ดีไปสู่บริษัทที่ยิ่งใหญจะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่ดีสอดคล้องกับแนวคิดของเม่น
แนวคิดของเม่นจะอยู่บนรากฐานของนิทานเปรียบเทียบกรีซโบราณที่ได้เล่าว่า สุนัขจิ้งจอกจะรู้หลายสิ่งหลายอย่าง แต่เม่นจะรู้สิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างเดียว สุนัขจิ้งจอกจะใช้กลยุทธ์หลายอย่างพยายามจะจับเม่น แต่ทุกครั้งมันจะเดินออกไปด้วยความพ่ายแพ้ สุนัขจิ้งจอกจะไม่เคยเรียนรู้ว่าเม่นได้รู้จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างเดียวได้อย่างไร : การป้องก้นตัวเองด้วยการหดตัวกลมเพื่อที่จะเอาเอาหนามแหลมออกมา

จิม คอลลินส์ ได้อธิบายการปฏิรูปของบริษัทที่ยิ่งใหญ่ด้วยแนวคิดของผลกระทบของล้อตุนกำลัง ด้วยการให้เรามองภาพล้อตุนกำลังใหญ่และหนัก – จานโลหะใหญ่มากติดตั้งกับเพลา เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 ฟุต หนา 2 ฟุต น้ำหนัก 5,000 ปอนด์ การดันล้อตุนกำลังให้รวดเร็วและนานเท่าที่จะเป็นไปได้จุดสำคัญคือมันต้องใช้เวลาและรวมความพยายามของบุคคลหลายคนตัดสินใจและทำหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อที่จะบรรลุความสำเร็จ ภาพพจน์ของล้อตุนกำลังจะแสดงถึงการปฏิรูปภายในบริษัทที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่ ตรงกันข้ามภาพพจน์ของวงล้อหายนะจะแสดงถึงการปฏิรูปภายในบริษัทอื่นที่ไม่บรรลุความสำเร็จ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มักจะเริ่มดำเนินการแผนงานใหม่ ด้วยการป่าวประกาศและความมุ่งหมายที่โอ้อวดจะจูงใจบุคคล – จะมองเห็นแผนงานเหล่านี้ล้มเหลวที่จะสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนเท่านั้น พวกเขาจะดันล้อตุนกำลังไปทิศทางหนึ่ง ต่อจากนั้นจะหยุด และเปลี่ยนแปลงไปสู่ทิศทางใหม่ ต่อจากนั้นพวกเขาจะหยุด เปลี่ยนแปลงแปลงไปสู่ทิศทางใหม่อีก ภายหลังจากการแกว่งไปแกว่งมาอยู่หลายปี บริษัทเหล่านี้ได้ล้มเหลวที่จะสร้างแรงเหวี่ยงไปสู่การพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ได้สำเร็จ และได้ตกลงไปอยู่ภายในวงจรแห่งความหายนะ

แนวคิดของเม่นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาภายในหนังสือการบริหารขายดีที่สุดเล่มหนึ่งของโลกชื่อ Good to Great ผู้เขียนคือ จิม คอลลิน
จิม คอลลินส์ ได้ใช้ภาพจากบทความที่มีชื่อเสียงของนักปรัชญาชื่อ ไอซาอะห์ เบอร์ลิน และเรียกแนวคิดของการสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านว่า แนวคิดของเม่น แนวคิดของเม่นจะอยู่บนรากฐานของนิทานเปรียบเทียบของกรีซโบราณที่ได้เล่าว่า สุนัขจิ้งจอกจะรู้หลายสิ่งหลายอย่าง แต่เม่นจะรู้สิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างเดียว สุนัขจิ้งจอกจะใช้กลยุทธ์หลายอย่างพยายามจะจับเม่น แต่ทุกครั้งมันจะเดินออกไปด้วยความพ่ายแพ้ สุนัขจิ้งจอกจะไม่เคยเรียนรู้ว่าเม่นได้รู้จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างเดียวได้อย่างไร : การป้องก้นตัวมันเอง ไอซาอะห์ เบอร์ลินได้ใช้นิทานเปรียบเทียบนี้ประยุกต์ใช้กับโลกสมัยใหม่ภายในบทความ The Hedgehog and the Fox ไอซาอะห์ เบอร์ลิน ได้แบ่งบุคคลเป็นสองกลุ่มคือ สุนัขจิ้งจอก และเม่น เขายืนยันว่าสุนัขจิ้งจอกจะมุ่งเป้าหมายหลายอย่างในขณะเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ความคิดของพวกมันจะกระจายและไม่มีจุดมุ่ง และในที่สุดพวกมันจะบรรลุเป้าหมายน้อยมาก แต่เม่นจะทำให้โลกเรียบง่ายและมุ่งที่เป้าหมายอย่างเดียว และบรรลุความสำเร็จสูงมาก จิม คอลลินส์ ได้กล่าวถึงแนวคิดเม่นภายในหนังสือการบริหารคลาสสิค 2001 Good to Great ของเขาด้วยการยืนยันว่าองค์การจะบรรลุความสำเร็จเมื่อพวกเขาสามารถระบุสิ่งเดียวที่พวกเขาทำได้ดีที่สุด – แนวคิดของเม่น แนวคิดของเม่นทางธุรกิจจะเป็นวงกลมสามวงตัดกัน จิม คอลลืนส์ ได้ระบุว่าบริษัทที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่จะกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ของพวกเขาบนพื้นฐานของความเข้าใจวงกลมสามวงตัดกัน บริษัทที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่จะเหมือนกับเม่น พวกเขาจะรู้สิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างเดียว และบริษัทเปรียบเทียบจะเหมือนกับสุนัขจิ้งจอก พวกเขาจะรู้หลายสิ่ง ความเข้าใจจะเป็นหัวใจของวงกลมสามวง เราสามารถเป็นอะไรได้ดีที่สุดภายในโลก และสำคัญเท่าเทียมกันเราไม่สามารถเป็นอะไรได้ดีที่สุดภายในโลก ความมุ่งหมายของเราคือความเข้าใจว่าอะไรที่บริษัทของเราทำได้ดีกว่าใครก็ตาม ถ้าเราไม่สามารถเป็นหมายเลขหนึ่งภายในโลก ณ ธุรกิจแกนของเราแล้ว นี่ไม่ควรจะเป็นแนวคิดเม่นของเรา ถ้าเราไม่สามารถเป็นอะไรได้ดีที่สุดภายในโลก ณ ธุรกิจแกนของเรา ต่อจากนั้นธุรกิจแกนของเราไม่สามารถสร้างรากฐานของแนวคิดเม่นได้ ความเข้าใจเบื้องต้นนี้จะเลยพ้นไปจากความสามารถแกน ความสามารถแกนไม่อาจจะรับรองว่าเราจะสามารถดีที่สุดภายในโลกได้ การมีเป้าหมายหรือกลยุทธ์ที่จะเป็นดีที่สุดจะไม่เป็นอย่างเดียวกับความเข้าใจว่าอะไรที่เราสามารถเป็นได้ดีที่สุด

อะไรที่ขับเคลื่อนเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของเรา  เพื่อที่จะมีเครื่องยนตร์ทางเศรษฐกิจที่มีพลัง เราต้องเข้าใจว่าบริษัทของเราจะสร้างกระแสเงินสดและการทำกำไรที่ยั่งยืนอย่างไร และแสดงความเข้าใจนี้เป็นตัวหารเศรษฐกิจตัวเดียว เราจะเรียกว่า กำไรต่อ x x จะเป็นเครื่องวัดอย่างเดียวที่สามรถมีผลกระทบยิ่งใหญ่ที่สุดและยั่งยืนที่สุดต่อความสำเร็จระยะยาวขององค์การของเรา บริษัทที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่ส่วนใหญ่ได้ค้นพยแรงขับเคลื่อนตัวเดียวเช่นกำไรต่อ x ที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อเศรษฐกิจของพวกเขา
เราลุ่มหลงเกี่ยวกับอะไร เราจะต้องค้นหาว่าเราลุ่มหลงเกี่ยวกับอะไร ถ้าเราไม่ค้นพบตัวเราเองถูกจูงใจและบันดาลใจโดยงานของเรา หรือเราจะต้องกระตุ้นความลุมหลง มันจะไม่สร้างเราให้ยิ่งใหญ่ได้ บริษัทที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่จะมุ่งงานที่จุดชนวนความลุ่มหลง แนวคิดไม่ใช่จะกระตุ้นแต่จะค้นหาอะไรที่สร้างความลุ่มหลงของเราองค์การที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่จะมุ่งที่แนวคิดของเม่น สิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างเดียวของพวกเขา ดังที่เจม คอลลินส์ ได้อธิบายว่า แนวคิดของเม่นไม่ใช่เป้าหมายที่จะดีที่สุด กลยุทธ์ที่จะดีที่สุด และความมุ่งหมายที่จะดีที่สุด แผนที่จะดีที่สุด มันคือความเข้าใจของสิ่งที่เราจะเป็นได้ดีที่สุด ความแตกต่างจะสำคัญอย่างแน่นอน
เราจะพิจารณาตัวอย่างของร้านขายยาลูกโซ่ วอลกรีนส์ แนวคิดของเม่นของวอลกรีนส์คือ บริษัทต้องการจะเป็นร้านขายยาที่ดีที่สุดแลสะดวกซื้อมากที่สุด ด้วยการมุ่งมั่นอย่างไม่ย่อท้อ วอลกรีนส์ได้กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ในที่สุด ตรงกันข้ามกับคู่แข่งขันของพวกเขา เอ็คเฮิรด ฟาร์มาซี จะขาดแนวคิดของเม่นที่เรียบง่ายและได้เจริญเติบโตเป็นระยะภายในหลายทิศทางที่ผิด

 

นายพลจิม สต็อคเดล จะเป็นนักบินที่เครื่องบินได้ถูกยิงตกภายในเวียตนามเมื่อ ค.ศ 1965 เขาได้ถูกจับเป็นเชลยสงคราม และได้ถูกคุมขังอยู่ภายในค่ายกักกันภายในเวียตนามแปดปีและต้องถูกทรมานเกือบทุกวัน เขาได้รวบรวมระบบวินับและสื่อสารด้วยรหัสแก่เพื่อนนักโทษสงครามของเขา เขาไม่ยอมแม้แต่จะถูกทรมานให้เป็นสายลับแก่ผู้ควบคุมของเขา จิม สต็อคเดล ได้มองเห็นว่านักโทษสงครามเหล่านี้ที่สิ้นหวังอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพวกเขาถูกหลงเชื่อจากความรุนแรงของความยากลำบาก พวกเขาคาดคิดว่าพวกเขาจะได้ออกไปอาทิตย์หน้า หรือเดือนหน้า หรือวันคริสต์มาส แต่เขาสามามารถอยู่ได้เจ็ดปีครึ่งเพราะว่าเขาไม่ยอมจะโกหกตัวเขาเองภายหลังจากที่จิม สต็อค สามารถหลบหนีออกมาได้ เขาได้เล่าว่าเขารอดชีวิตได้อย่างไร และทำไมทั้งการมองในแง่ดีและแง่ร้ายสามารถทำให้เขามีชีวิตอยู่รอดได้ และเราจะเรียกกันว่าสต็อคเดล พาราดอกซ์ ความหมายคือ เราจะต้องรักษาความเชื่อมั่นไว้ว่าเราจะต้องได้ชัยชนะในที่สุดไม่ว่าจะยากลำบากแค่ไหน และในขณะเดียวกันเราจะต้องเผชิญกับข้อจริงที่โหดร้ายของความเป็นจริงในขณะนั้น ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตามส่วนแรกของความขัดแย้งของสต็อคเดลจะเป็นชีวิตที่มองในแงดี เราจะอยู่รอดจากช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ เราจะต้องเชื่อมั่่นเราจะจัดการชนะมันได้ ส่วนที่สองของความขัดแย้งของสต็อคเดลจะเป็นชีวิตที่มองในแง่ร้าย มันจะเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เป็นอยู่ เราต้องมองว่าอะไรได้เกิดขึ้นภายในปัจจุบันและประเมินมันตามที่เป็นอยู่ การมองในแง่ร้ายจะมองความเป็นจริงในขณะนี้ตามที่มันเป็นอยู่ ในขณะที่การมองใน่แง่ดีจะเป็นการมองอนาคตที่ต้องการของเรา

จิม คอลลินส์ ได้สรุปการวิจัยของหนังสือ Good to Great ของเขาด้วยการสัมภาษณ์เค็นเนธ ไอเวอร์สัน ซีอีโอ บริหารนูคอร์ บริษัทที่ไม่มีชื่อเสียงจนกลายบริษัทที่มีกำไรมากที่สุดภายในอเมริกา ผมได้ขอให้เขาระบุชื่อปัจจัยห้าอย่างสูงสุดที่นำการปฏิรูปนูคอร์จากบริษัทที่ดีไปสู่บริษัทที่ยิ่งใหญ่ เราคิดว่าเขาจะให้เทคโนโลยีอยู่ที่ไหน ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ หรือแม้แต่ที่ห้า ภายในคำบันทึกการสัมภาษณ์ 8,000 คำ คำว่า “เทคโนโลยี”จะปรากฏอยู่ครั้งเดียวและมาถึงตอนสุดท้ายของการสัมภาษณ์ เค็นเนธ ไอเวอร์สัน ได้อธิบายเพิ่มเติมว่าเขาจะลุ่มหลงต่อวัฒนธรรมและบุคคลของนูคอร์ และเขาจะภูมิใจต่อข้อเท็จจริงว่านูคอร์ได้กลายเป็นบริษัท 500 ลำดับของวารสารฟอร์จูนด้วยระดับการบริหารสี่ระดับเท่านั้น และสายสนับสนุนของสำนักงานใหญ่จะมีบุคคลไม่ถึง 25 คน
นูคอร์ได้กลายบริษัทเหล็กอเมริกันหมายเลขหนึ่ง แต่พวกเขาได้เริ่มต้นจากฐานะที่ต่ำต้อย เพื่อที่จะสร้างวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะของพวกเขา นูคอร์ ได้ค้นหาเกษตรกรแทนที่จะเป็นคนงานเหล็กที่มีประสบการณ์ บนสมมุติฐานว่าเราสามารถสอนเกษตรกรจะผลิตเหล็กได้อย่างไร แต่เราไม่สามารถสอนจริยธรรมการทำงานแก่บุคคลที่ไม่ได้มีมันเสียแต่แรก นูคอร์ได้สร้างโรงงานภายนอกทำเลที่ตั้งของการผลิตเหล็กโดยทั่วไป พวกเขาจะเข้าไปสู่ท้องที่ของเกษตรกร เช่น นอร์โฟลค เนบราสก้า เกษตรกรเหล่านี้จะเข้านอนหัวค่ำและตื่นเช้า และตรงไปทำงานเลยนูคอร์จะกำจัดคนงานที่ไม่ร่วมจริยธรรมการทำงานนี้ ภายในปีแรกของโรงงานใหม่ อัตราการหมุนเวียนของคนงานสูงถึง 50% แต่ภายหลังจากนั้นมันจะต่ำลงมาก เมื่อบุคคลที่เหมาะสมขึ้นบนรถโดยสารแล้ว
มุมมองโดยทั่วไปจะยืนยันว่านูคอร์เป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้เนื่องจากเทคโนโลยีของพวกเขา บริษัทได้สร้างโรงงานเล็กที่สามารถชนะโรงงานใหญ่ แต่ข้อเท็จจริงเราจะพบว่าการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ของนูคอร์เจะเกิดขึ้นก่อนที่พวกเขาจะมีเทคโนโลยีของโรงงานเล็ก ดังนั้นคำถามจะกลายเป็นว่า อะไรที่อยู่เบื้องหลังพวกเขา เมื่อเราได้ค้นหาอย่างแท้จริงลงไปกับมัน สิ่งที่เราได้พบคือ วัฒนธรรมที่ประหลาด ณ นูคอร์ และมันเป็นวัฒนธรรมของพวกเขาอย่างแท้จริงที่ช่วยทำให้พวกเขาสามารถเจริญรุ่งเรืองภายในอุตสาหกรรมที่ยากลำบากได้ ทำนองเดียวกับเซ้าธ์เวสท์ แอร์ไลน์ วัฒนธรรมบวกกับโมเดลทางธุรกิจของพวกเขา ไม่เพียงแต่โมเดลทางธุรกิจของพวกเขาที่จะตอบว่าทำไม สายการบินใหญ่บางสายพยามยามจะลอกเลียนแบบเซ้าธ์เวสท์ แต่จะยากลำบากพราะว่าความสามารถจะทำมันได้คือวัฒนธรรม

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *