jos55 instaslot88 Pusat Togel Online มองประเทศไทยผ่านประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

มองประเทศไทยผ่านประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส


มองประเทศไทยผ่านประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

(ตอนที่ 3)

รองศาสตราจารย์ ดร.กิจบดี  ก้องเบญจภุช [1]

 

การปกครองในรูปแบบไดเรกทอรี (Directory) ของฝรั่งเศส เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1795 ซึ่งเป็นปีที่ 3 ของสาธารณรัฐที่ 1 แต่การปกครองในรูปแบบ Directory นี้ ยังมิได้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง เนื่องจากยังจำกัดสิทธิของผู้เลือกตั้งโดยการพิจารณาสถานะทางเศรษฐกิจของประชาชนแต่ละคน

ฝ่ายบริหารมีจำนวน 5 คน เรียกว่า Directory เป็นผู้ควบคุมการบริหารของคณะรัฐมนตรีและมี 2สภา แต่การบริหารประเทศในรูปแบบดังกล่าว ก็ไม่สามารถจะบริหารประเทศได้อย่างราบรื่น เนื่องจากระบบอ่อนแอ มีการทุจริตในวงกว้างเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เกิดการเรียกร้องจากกลุ่มหัวรุนแรงในปารีส จนทำให้เกิดการจลาจลในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1795 กลุ่มผู้เรียกร้องประมาณ 25,000 คนเข้าล้อมสภา นโปเลียนโบนาปาร์ต เป็นนายทหารหนุ่มถูกเรียกให้เข้าแก้ไขปัญหาจลาจลได้สำเร็จ และได้รับมอบหมายให้ทำการยึดครองดินแดนบางส่วนของอิตาลีและออสเตรียสำเร็จ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการทหารกรุงปารีสในเวลาต่อมา

การบริหารประเทศในรูปแบบ Directory เกิดปัญหาการแย่งชิงอำนาจเป็นผลทำให้นโปเลียนนำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1799 ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบกงสุล ซึ่งเป็นปีที่ 8 ของสาธารณรัฐที่ 1 โดยมีนโปเลียนเป็นกงสุลคนที่ 1 มีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และตุลาการ

รัฐสภาในระบบกงสุล ประกอบไปด้วย สภาสูงและสภาสามัญ สภาสูงมี 80 คน กงสุลคนที่ 1 แต่งตั้งสมาชิกสภาสูงคนที่ 1 และสมาชิกสภาสูงคนที่ 1 เลือกสมาชิกสภาสูงคนที่ 1 แล้วรวบรวมเลือกสมาชิก สภาสูงคนอื่น ๆ

สภาสามัญ 3 องค์กร คือ

  1. สภาแห่งรัฐ สมาชิกแต่งตั้งกงสุลที่ 1 ทำหน้าที่ร่างกฎหมาย
  2. ตุลาการ 100 คนทำหน้าที่พิจารณากฎหมาย
  3. องค์กรนิติบัญญัติ 300 คนทำหน้าที่คัดค้านร่างกฎหมาย

ผลงานที่โดดเด่นของนโปเลียน คือการร่างกฎหมายที่มีพื้นฐานมาถึงปัจจุบัน รู้จักกันในชื่อกฎหมาย นโปเลียน (Code Napoleon) การบริหารราชการเป็นที่พอใจของประชาชน นโปเลียนถือโอกาสที่ประชาชนเกิดความศรัทธาได้ทำการลงมติให้เป็นกงสุลตลอดชีพ และมีการสืบสันติวงศ์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1802 ผลการลงมติได้รับการตอบสนองอย่างท่วมท้น

จากประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสจะเห็นว่าหลังการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ได้ ก็แย่งชิงอำนาจกันเอง ใครมีอำนาจก็เขียนหลักเกณฑ์ให้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่สนใจว่ากลุ่มอื่นจะคิดอย่างไร เป้าหมายของระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างไร ขอเพียงให้ตนเองมีอำนาจ ซึ่งจะแตกต่างจากการปกครองของอังกฤษ มีความออมชอมไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว แต่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน จึงไม่เกิดความรุนแรง เช่นประเทศฝรั่งเศส สิ่งที่เห็นได้อย่างเด่นชัดของประเทศอังกฤษ ก็คือใช้จารีตประเพณีเป็นหลัก เพราะประเพณีเป็นที่ยอมรับของสังคมและปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา สถาบันพระมหากษัตริย์ก็อยู่อย่างมั่นคง

การแย่งชิงอำนาจโดยอ้างเพื่อประโยชน์ประชาชน แต่จริงแล้วเพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยลืมไปว่าชีวิตคนเรานั้นสั้นนักต้องการอะไรมากมาย อำนาจได้มาก็หมดไป อะไรมีเกิดก็มีดับเป็นสัจธรรม ประเทศไทยช่วง 25 ปีแรก คณะเปลี่ยนแปลงแย่งชิงอำนาจกันเองโดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจ สุดท้ายก็ไม่มีใครอยู่ยืดยาวล้มหายตายจากกันไป แต่ทุกคนก็อ้างสร้างคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติทั้งสิ้น แต่ความเสียหายที่ตนทำไว้ไม่พูดถึง

เมื่อมีโอกาสก็พยายามสืบทอดอำนาจ นโปเลียนเองก็เช่นกัน เมื่อตนเองได้รับการนิยมชมชอบจากประชาชนก็สร้างระบบกงสุลตลอดชีพขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1802 ซึ่งเป็นปีที่ 10 ของสาธารณรัฐที่ 1 และหลังจากได้ทำประชามติได้เป็นกงสุลตลอดชีพแล้ว สภาได้ออกกฎหมายเพิ่มเติมอำนาจให้กงสุลมีอำนาจมากขึ้นกว่าศาลสูง อีกทั้ง นโปเลียนต้องการยกฐานะของตนขึ้นเป็นจักรพรรดิ โดยมีการสืบทอดตำแหน่งภายในตระกูลโบนาปาร์ต

ในช่วงที่นโปเลียนมีอำนาจได้พยายามแผ่ขยายอำนาจไปยังประเทศอื่น เกิดศึกสงครามกับหลายประเทศรวมทั้งประเทศอังกฤษและประเทศรัสเซีย ประเทศต่างๆที่ถูกนโปเลียนรุกรานรวมตัวกันเป็นพันธมิตรต่อสู้กับฝรั่งเศส

เดือนมีนาคม ค.ศ. 1814 กองกำลังพันธมิตรเคลื่อนกองกำลังเข้าประชิดกรุงปารีส ทำให้นโปเลียนสละราชบัลลังก์ ฝ่ายพันธมิตรได้เชิญพระราชวงศ์ในราชวงศ์บูร์บง คือน้องชายพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นเป็นกษัตริย์ คือพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แต่หลังจากกองทัพพันธมิตรกับไปแล้วนโปเลียนกลับมายึดอำนาจพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และจัดตั้งรัฐบาล

การกลับมามีอำนาจของนโปเลียนทำให้อังกฤษ ออสเตรีย บรัสเซีย และรัสเซีย ได้ร่วมกันยกกองทัพเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815 กองทัพอังกฤษกับฝรั่งเศสได้รบกันในเขตประเทศเบลเยียม เมืองวอเตอร์ลู (Waterloo) กองทัพฝรั่งเศสพ่ายแพ้ Napoleon ประกาศสละราชบัลลังก์ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1815 กองทัพพันธมิตรเข้ายึดกรุงปารีสและเชิญพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาปกครองประเทศฝรั่งเศส ส่วนจักรพรรดินโปเลียนถูกส่งตัวไปยังอยู่เกาะเชนต์เฮเลนา (St. Helena) และสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1821

มองประเทศไทยผ่านประเทศฝรั่งเศส อยากจะบอกว่าอำนาจไม่จีรังยั่งยืน วันหนึ่งก็ต้องหมดไปดูประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างเพื่อจะสำนึกกันได้บ้าง

(โปรดติดตามอ่านต่อตอนที่ 4)

เอกสารอ้างอิง

น้ำเงิน บุญเปี่ยม. (2518). ประวัติศาสตร์ยุโรปต้นยุคใหม่ ค.ศ. 2450 ถึง ค.ศ. 1782. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง

มยุรี เจริญ. (2547). ประวัติศาสตร์ยุโรป 1. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง

สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์. (2540). ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง

 

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *