สงครามใหญ่จะไม่เกิดขึ้น : ถ้าทรัมป์-ปูตินคุยกันรู้เรื่อง
คอลัมน์ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ
ทหารประชาธิปไตย
สงครามใหญ่จะไม่เกิดขึ้น : ถ้าทรัมป์-ปูตินคุยกันรู้เรื่อง
สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางนั้นเป็นเรื่องจริงยิ่งกว่าจริง ไม่ใช่การสร้างข่าวขึ้นมาหากิน หรือสร้างสถานการณ์เพื่อทำสงครามข่าว (INFORMATION WAR) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการทำ IO INTELLIGENCE OPERATION แต่มันมีการเคลื่อนย้ายกำลัง และมีการปฏิบัติการทางทหารอย่างจริงจังในภุมิภาคนั้น
เริ่มจากการที่รัฐบาลซีเรียประสบความสำเร็จในการรุกคืบทางทหาร ยึดครองพื้นที่จากฝ่ายกบฏ และกลุ่มก่อการร้าย IS ได้มากขึ้น ซึ่งรัฐบาลซีเรียใช้การเมืองนำการทหาร คือ เปิดการเจรจากับฝ่ายกบฏ หากตกลงกันได้ก็เปิดทางให้เคลื่อนย้ายไปทางเหนือที่มีกองกำลังกบฏตั้งอยู่ ทำให้กองทัพซีเรีย และกองกำลังอาสาสมัครที่สนับสนุนโดยอิหร่านเคลื่อนตัวเข้าประชิดพรมแดนอิสราเอล และที่ราบสูงโกลันที่ถูกอิสราเอลยึดครองไปทุกที ซึ่งทำให้อิสราเอลต้องส่งเครื่องบินมาสนับสนุนกลุ่มกบฎและผู้ก่อการร้าย IS ในพื้นที่ของซีเรีย อนึ่งในบริเวณดังกล่าวก็ยังมีค่ายทหารของสหรัฐฯที่ไปคอยให้การสนับสนุน IS อยู่ด้วย แม้จะประกาศว่าจะปราบ IS ก็ตาม
ในอีกด้านหนึ่งการสู้รบในเยเมนที่ซาอุดิอารเบียทำการโจมตีฝ่ายกบฏฮูธีและพันธมิตร จนทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์รวมทั้งเด็กล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้รุกไล่และพยายามยึดท่าเรือฮุไดดะฮ์กับพื้นที่ใกล้เคียง แต่ยังไม่เบ็ดเสร็จ เพราะมีการตีโต้จากกบฏเป็นระยะๆ รวมทั้งมีการยิงจรวดถล่มริยาดหรือส่งโดรนไปถล่มอาบูดาบีเป็นครั้งคราวแม้ไม่หนักหนาแต่เป็นการทำสงครามประสาทมากกว่า อย่างไรก็ตามที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อชาวโลกก็คือการบุกไปถล่มพื้นที่ริมทะเลแดงในเขตเยเมน ที่เป็นช่องแคบบาบ เอล แมนเตบ ซึ่งอยู่ระหว่างเยเมนและจิบูติ อันเป็นเส้นทางลำเลียงน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางไปยุโรป ผ่านคลองสุเอซ ทำให้ซาอุดิอารเบียต้องประกาศยกเลิกการขนส่งน้ำมันในบริเวณนี้
ในอีกด้านหนึ่งอิหร่านก็ประกาศว่าหากสหรัฐฯทำการโจมตีอิหร่าน อิหร่านจะทำการปิดช่องแคบฮอร์มุซที่เป็นช่องทางขนส่งน้ำมันก๊าซธรรมชาติออกจากซาอุฯ การ์ต้า และคูเวต เพื่อส่งขายจีนและญี่ปุ่น ตลอดจนประเทศในเอเชียตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้อื่นๆ
ดังนั้นสถานการณ์ตึงเครียดที่อาจเกิดสงครามนี้อย่างน้อยจะเกิดผลกระทบแน่ต่อการขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ราคาย่อมจะพุ่งสูงโดยเฉพาะหากเกิดปะทะกันจริงๆ ไม่ใช่แค่สงครามน้ำลายอย่างที่นักวิเคราะห์หลายท่านฟันธงไว้
ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมาทบทวนและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสงครามที่จะเกิดในภูมิภาคดังต่อไปนี้
ด้านสหรัฐฯอเมริกาย่อมมีแลกดดันจากสายเหยี่ยว เช่น JOHN BOLTON ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง ซึ่งเบื้องหลังมีกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ และอุตสาหกรรมน้ำมันคอยหนุนอยู่ นายจาริต คุชเนอร์ ลูกเขยและที่ปรึกษาส่วนตัวทรัมป์ ซึ่งต้องการให้สหรัฐฯโจมตีอิหร่านเพื่อช่วยอิสราเอล เนื่องจากนายจาริตคือสมาชิกขบวนการไซออนิสต์ที่หนุนรัฐบาลอิสราเอลอยู่ ถ้าจะพูดในภาพรวมรัฐลึก (DEEPSTATE) นั้นต้องการให้เกิดสงครามเพื่อหวังผลประโยชน์เหมือนเมื่อคราวที่หนุนประธานาธิบดีบุช-พ่อลูกให้ถล่มอิรักเพื่อยึดทองคำสำรองและน้ำมันของรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน
ล่าสุดสหรัฐฯอาจหลีกเลี่ยงการนำเดี่ยว หรือนำร่วมกับอิสราเอล ด้วยการจัดตั้งนาโต้อาหรับ อันประกอบด้วย สหรัฐฯ ซาอุดิอารเบีย สหรัฐอาหรับ อิมิเรต คูเวต บาห์เรน การ์ต้า ตลอดจนอียิปต์และจอร์แดน เข้าเป็นพันธมิตรเพื่อรุมสกรัมอิหร่าน แต่เรื่องนี้การ์ต้าอาจไม่เอาด้วย เพราะไม่ต้องการไปยุ่งกับการเผชิญหน้า แต่วาระแฝงเร้นของสหรัฐฯ ก็คือต้องการขายอาวุธเพิ่มจากการจัดตั้ง MESA อย่างไรก็ตามสหรัฐฯได้หว่านเมล็ดแห่งความเกลียดความกลัว ตลอดจนเติมเชื้อเพลิงให้ความขัดแย้งในความเชื่อทางศาสนาไว้เต็มอัตราศึกแล้ว
ด้านอิสราเอลก็ต้องการให้มีการโจมตีอิหร่าน อย่างน้อยก็ให้ไปถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังก่อสร้าง เหมือนที่อิสราเอลเคยทำมาแล้วเมื่อครั้งไปถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของอิรักสมัยซัดดัม
ด้านอิหร่านเวลานี้อยู่ในภาวะที่ตึงเครียดมากเพราะอิหร่านคาดว่าสหรัฐฯ-อิสราเอลคงจะโจมตีอิหร่านแน่ อย่างน้อยก็จะส่งฝูงบินมาโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของอิหร่าน และถ้าอิหร่านยอมกลืนเลือดตัวเองอยู่เฉยๆไม่ตอบโต้โดยตรง เหมือนซัดดัม สหรัฐฯ-อิสราเอลก็คงหยุดอยู่แค่นั้นก่อน แต่ก็คาดได้ว่าเมื่อมีโอกาสก็จะโจมตีอีก โดยเฉพาะถ้าแผนปลุกปั่นภายในสำเร็จ
ด้วยเหตุที่อิหร่านกลัวถูกโจมตีจากสหรัฐฯ-อิสราเอล จึงได้เร่งรุกรบในสมรภูมิอื่นๆ เช่น การสนับสนุนรัฐบาลซีเรีย เพื่อกดดันอิสราเอล หรือการสนับสนุนกลุ่มฮูธีในเยเมน เพื่อสร้างเงื่อนไขในการปิดกั้นการลำเลียงน้ำมันจากทะเลแดงผ่านคลองสุเอซ ผสมผสานกันกับการเตรียมแผนปิดช่องแคบฮอร์มุซ เพื่อหยุดการขนส่งน้ำมันซาอุในทะเลอาหรับออกสู่อ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย
ด้วยการเคลื่อนไหวทางทหารของอิหร่านเพื่อสร้างเงื่อนไขดังกล่าวอาจทำให้สหรัฐฯต้องคิดหนัก ชั่งน้ำหนักระหว่างผลได้ผลเสีย ถ้าสหรัฐฯไม่ขยับอิสราเอลก็ไม่กล้าเปิดหน้าทำสงครามโดยลำพัง
แต่ตัวแปรอีกตัวที่สำคัญ คือ ท่าทีของรัสเซีย ซึ่งก็ต้องมองย้อนไปที่การเจรจาสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซีย ที่เฮลซิงกิ เหตุที่ต้องมีการเจรจากันเพราะทั้งสองฝ่ายต้องการหยั่งท่าทีของกันและกัน และพยายามลดข้อขัดแย้งระหว่างกัน ซึ่งมีหัวข้อหลักๆคือ การห้ามแพร่กระจายอาวุธมหาประลัย นอกจากนี้ทางรัสเซียยังเสนอให้ตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาใหม่เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย อนึ่งปูตินยังเสนอให้รัสเซียและสหรัฐฯร่วมกันมีบทบาทนำในการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวซีเรีย
ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามใหญ่และขยายตัวเป็นสงครามโลกได้ อย่างไรก็ตามสหรัฐฯก็คงต้องยุติบทบาทที่จะคอยล้มล้างรัฐาบาลประเทศอื่นๆที่ตนไม่ชอบ เพราะรัสเซียคงต้องไปช่วยอีกฝ่าย
ในเรื่องการก่อการร้ายนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ารัฐบาล 2 รัฐบาล ที่ผ่านมาของสหรัฐฯเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการขยายตัวเป็นทวีคูณด้วยนโยบายก้าวร้าวทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นที่อาฟกานิสถาน โซมาเลีย ไนจีเรีย อิรัก ลิเบีย และซีเรีย
การเข้าแทรกแซง ของรัสเซียในภูมิภาคนี้ ก็จะเท่ากับว่าเป็นการลดบทบาทของการก่อการร้ายลงไป ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีการร่วมมือกับอิรัก และซีเรียในการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายไอเอส ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จนแทบตั้งประเทศของตนเองได้ แต่มาในปัจจุบันเหลือไม่มากในพื้นที่ บางส่วนกลับภูมิลำเนา บางส่วนย้ายไปตั้งฐานที่อาฟกานิสถาน ซึ่งในขณะนี้จีน ปากีสถาน รัสเซีย และอิหร่าน ก็กำลังร่วมมือกันปราบปรามขบวนการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียกลางกันอยู่ และตุรกีก็มีท่าทีสนใจที่จะร่วมด้วย
แม้ว่าทรัมป์จะค่อนข้างอยากเป็นมิตรกับรัสเซีย เพราะเคยมีสายสัมพันธ์แต่เก่าก่อน แต่ขณะเดียวกันทรัมป์ก็ได้รับการกดดันจากเหยี่ยวสงคราม และรัฐลึกหรือรัฐบาลเงาของสหรัฐฯเอง ล่าสุดก็ไปสร้างความตึงเครียดด้วยการยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน และกดดันด้านการค้ากับการสร้างความปั่นป่วนภายใน หลังสุดก็จับมือเนทันยาฮูย้ายเมืองหลวงมาเยรูซาเล็ม พร้อมๆกับกดดันและกล่าวหาอิหร่านว่าเป็นฝ่ายก้าวร้าว ทั้งๆที่อิสราเอลนั้นมีนโยบายก้าวร้าวมาโดยตลอดตั้งแต่ยึดครองแผ่นดินปาเลสไตน์ ที่ราบสูงโกลันของซีเรีย หรือเคยบุกเลบานอนมาแล้ว นอกจากนี้ยังร่วมมือกับซาอุดิอารเบียในการรุกรานเยเมนอย่างโหดร้าย
อย่างไรก็ตามการประชุมสุดยอดที่เฮลซิงกิ ซึ่งหลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นการสร้างภาพก็อาจนำมาสู่ความร่วมมือที่เป็นไปในทางสร้างสรรค์เพื่อลดความตึงเครียดในตะวันออกกลางลงไปได้ โดยเฉพาะหากทั้งสองฝ่ายจะช่วยเป็นหลักประกันมิให้มีการขยายตัวของสงครามออกไปอีก
แน่นอนการควบคุมความก้าวร้าวของอิสราเอลนั้น ย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะด้านหนึ่งอิสราเอลมีอิทธิพลสูงต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของสหรัฐฯ ผ่านทางรัฐลึก ส่วนอีกด้านหนึ่งอิสราเอลได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้กับชาวปาเลสไตน์ และชาวอาหรับจำนวนไม่น้อย ซึ่งจะทำให้กลุ่มติดอาวุธอย่างฮิสบุลเลาะห์ หรือ ฮามาสต้องการที่จะเอาคืนเมื่อมีโอกาส เพราะสัญญาสันติภาพระหว่างยิว-ปาเลสไตน์ ไม่มีวันเป็นไปได้ หากอิสราเอลจะยึดหลักการเอาเปรียบทุกด้าน แทนยึดความเป็นธรรม ที่สำคัญคือการย้ายเมืองหลวงมาเยรูซาเล็ม เพราะเท่ากับเป็นการเหยียบหน้ามุสลิมทั้งโลกทีเดียว
โลกใกล้วิกฤติไปทุกที เพราะไม่มีใครท้วงติงการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศของสหรัฐฯกันเลย มันเป็นยุคอำนาจเป็นใหญ่ the might is right จริงๆ
สำหรับประเทศไทยหากเกิดสงครามในตะวันออกกลาง ก็คงเตรียมตัวไว้ให้ดีเพราะราคาเชื้อเพลิงเพิ่มสูงแน่ การเติบโตก็คงชะงักงัน ที่สำคัญประชาชนทั่วไปจะต้องเดือดร้อนกับความขาดแคลน และเงินเฟ้อรัฐบาลก็คงต้องทำงานหนักหน่อย แต่อย่าปล่อยให้ปตท.ซ้ำเติมให้ประชาชนเดือดร้อนมากขึ้นด้วยการกอบโกยกำไร เพราะมันอาจเป็นฟางเส้นสุดท้ายก็ได้
US-Russian cooperation can strike blow to Washington’s hawks
Differences on critical issues should not pose insurmountable obstacles to US-Russian cooperation which can help reduce the odds of warmongers sparking a military confrontation.
At the Helsinki summit and press conference on 16 of July, Russian President Vladimir Putin said after his talks with US leader Donald Trump that Moscow had passed to the United States its own proposals for joint cooperation on the non-proliferation of weapons of mass destruction (WMDs).
Russia also proposed that Moscow and Washington re-establish a working group on counter-terrorism. President Putin also proposed that Russia and the United States could have the leading roles in helping resolve the humanitarian crisis in Syria.
The new proposals can reduce the risk of a global war if Washington can abandon its tendency to overthrow governments it does not like.
Any cooperation by these two nuclear armed countries will be of benefit to the world if it reduces the likelihood of a war and right now, that risk is greater coming from US hawks. The beginning of a joint anti-terror working group would have to be a commitment by the US to renounce regime change as a foreign policy.
It is obvious the previous two US administrations were multipliers of terrorism as a result of military aggression. If Russia puts the brakes on another US war, there will be less terrorism so that would be a successful anti-terror initiative in itself.
Although US leader was seeking a constructive tone in his talks with Putin, he has a track record already of fueling global tensions including by withdrawing from the Iran nuclear agreement.
Last time Trump with his close friend Israeli Prime Minister B.Netanyahu gives one little hope that will change with what is evidence of even more aggression against Iran.
However, the prospective of improved relations and growing, renewed détente between the United States and Russia could act as a restraining influence on Washington’s militarist impulses, thereby reducing the main driving force fanning the growth of international terror.
Anyway the Helsinki meeting had been an important and constructive step forward. Despite the opposition from the Washington swamp, President Trump’s meeting with President Putin signals reason for optimism.
Both heads of state expressed a willingness to cooperate in some key areas, notably Syria and nuclear proliferation.
As for the future there is serious interest in seeking common ground with the understanding that areas of divergent strategic interest will remain, but need not present insurmountable obstacles to future cooperation.
Trump and Putin both labeled the talks as highly “successful,” “productive” and essential for improving the ties between the countries. It was only a first step, but very important step for the whole world.