jos55 instaslot88 Pusat Togel Online Wanted: a U.S. nuclear strategy tailored to Asia - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

Wanted: a U.S. nuclear strategy tailored to Asia

คอลัมน์ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ
ทหารประชาธิปไตย
www.INEWHORIZON.NET
สหรัฐอเมริกากำลังทำให้โลกเสี่ยงต่อการเกิดสงครามนิวเคลียร์

    ประธานาธิบดีทรัมป์ และคณะผู้บริหารได้ประกาศยุทธศาสตร์นิวเคลียร์ฉบับใหม่ ซึ่งทำให้สหรัฐฯเพิ่มการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี ในหน่วยปฏิบัติการต่างๆหลายพื้นที่นอกสหรัฐฯ และยังประกาศนโยบายที่เป็นทางเลือกให้สหรัฐฯสามารถใช้มาตรการเด็ดขาดต่อภัยคุกคามใดๆที่สหรัฐฯประเมินความเสี่ยง ทั้งจากอาวุธนิวเคลียร์และมิใช่อาวุธนิวเคลียร์
    นโยบายใหม่นี้เรียกว่า “การทบทวนท่าทีใหม่ทางนิวเคลียร์ปี 2018” ซึ่งได้กำหนดให้รัสเซียและจีนเป็นฝ่ายตรงข้ามหลัก ที่กำลังพัฒนาทั้งอาวุธทางยุทธวิธีและทางยุทธศาสตร์ และถึงแม้ว่าในนโยบายดังกล่าวจะระบุว่าสหรัฐฯจะพิจารณาการโจมตีว่าต้องอยู่ใน “สถานการณ์ที่สูงสุด” ก็ตาม แต่ก็อาจนับรวมการโจมตีทั้งอาวุธนิวเคลียร์ หรือมิใช่อาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์
    นี่ทำให้สหรัฐฯสามารถขยายการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ หรือการก่อการร้ายขนาดใหญ่ อย่างเช่นเหตุการณ์ 9/11 หรือการโจมตีอื่นๆ อนึ่งทีมบริหารของทรัมป์ได้พยายามอธิบายว่านโยบายนี้เป็นเพียงแค่การทำให้นโยบายเก่าชัดเจนขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญวิจารณ์ว่ามันเป็นการนำไปสู่ทิศทางของความรุนแรง
    ทั้งนี้รมต.กลาโหมแมททิส ได้ตอบโต้ว่าเราต้องการเพียงทำให้ฝ่ายตรงข้ามตระหนักว่า พวกเขาจะไม่ได้อะไรเพิ่มเติมเลยมีแต่จะเสียลูกเดียว หากใช้อาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนี้แมททิสยังอธิบายว่าการเพิ่มเติมอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีให้ใช้งานได้ จะเป็นการป้องปรามมิให้ฝ่ายตรงข้ามกล้ายกระดับการจู่โจมสหรัฐฯ
    นอกจากนี้นโยบายใหม่เกี่ยวกับนิวเคลียร์นี้ได้นำเอาอาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้โจมตีด้วยขีปนาวุธทางทะเล เช่น โทมาธอก หรือโพลาลิส ที่ใช้ยิงจากเรือดำน้ำนิวเคลียร์กลับมาใช้อีก ทั้งที่อาวุธบางอย่างถูกเลิกใช้ไปแล้วในสมัยประธานาธิบดีโอบามา ยิ่งไปกว่านั้นยังจะทำการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในเรือดำน้ำเพิ่มเติม ซึ่งขีดความสามารถในการทำลายล้างอย่างต่ำสุดเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ที่ทำลายฮิโรชิมาในปี 1945
    อนึ่งการข่มขู่ว่าจะโจมตีสหรัฐฯด้วยอาวุธนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือ อาจถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลที่ต้องมีการทบทวนนโยบายการใช้นิวเคลียร์ของสหรัฐฯใหม่ แต่ในเบื้องลึกแล้วหลายฝ่ายเชื่อว่าเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาอาวุธและศักยภาพทางทหารของรัสเซียและจีนมากกว่า
    กล่าวอย่างถึงที่สุดนโยบายทางทหารของสหรัฐฯ ตามแนวทางของกระทรวงกลาโหมต้องการรักษาระดับความเหนือว่าทางทหารของสหรัฐฯต่อฝ่ายตรงข้าม เพื่อเป็นการป้องปราม แต่การกระทำดังกล่าวอาจะเป็นการยั่วยุให้ฝ่ายตรงข้ามเร่งรีบพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนเพราะเกรงการข่มขู่ หรือแม้แต่การโจมตีของสหรัฐฯ ภาพดังกล่าวนี้ทำให้รัสเซียและจีน ต่างก็สรุปว่า “โลกมีอันตรายมากขึ้น” จากนโยบายใหม่ของสหรัฐฯ
    ประธานาธิบดีทรัมป์เองก็เป็นตัวสำคัญของการจุดชนวนความไม่ไว้วางใจของฝ่ายตรงข้าม แม้เขาจะอ้างว่าการเสริมสร้างอาวุธครั้งใหญ่ของสหรัฐฯเป็นเพียงการทำให้เกิดความทันสมัยต่อกำลังทหารของสหรัฐฯ แต่ทรัมป์ยังท้าทายด้วยว่า ถ้าอยากแข่งขันกันสร้างอาวุธ ก็เอาเลยทั้งนี้เขาได้เคยพูดไว้ภายหลังได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง แถมทรัมป์ยังโอ้อวดในการตอบโต้ทางวาจากับคิมจองอึนแห่งเกาหลีเหนือว่า ปุ่มนิวเคลียร์ของเขานั้นใหญ่กว่ามีพลังมากกว่า
    อย่างไรก็ตามยังมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความหวาดเสียวเกิดขึ้นในสหรัฐฯ เมื่อเกิดความผิดพลาดทางสัญญาณเตือนภัยที่ฮาวาย โชตดีที่มิได้มีการด่วนตัดสินใจอะไรลงไป มิฉะนั้นโลกคงแหลกยับด้วยสงครามนิวเคลียร์ แต่ในอนาคตเมื่อความหวาดระแวงสะสมมากขึ้นใครจะรู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
    แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายต่างๆโดยทั่วไป แต่นายแพทริคสชานาฮาน รมต.ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯก็พยายามปกป้องด้วยการอธิบายว่านโยบายนี้เป็นเพียงการปรับปรุงยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัย และมิได้ละเมิดสัญญาใดๆทั้งสิ้น แม้จะมีการเพิ่มอาวุธนิวเคลียร์ใหม่ๆ แต่ก็มิได้เพิ่มขนาดของอาวุธนิวเคลียร์สะสม ที่สำคัญเป็นการป้องปรามการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์
    ในประเด็นนี้ขัดแย้งกับการที่สหรัฐฯพยายามกดดันอิหร่านที่จะพัฒนาขีปนาวุธของตนเองเพื่อป้องกันประเทศ โดยสหรัฐฯพยายามแซงซั่นอิหร่านอีกเป็นรอบสอง แต่ประเทศในยุโรปไม่เอาด้วย เพราะอิหร่านมิได้ละเมิดข้อตกลงกับ 5 ประเทศเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
    อนึ่งผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ เรื่องการห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ เกรงกันว่านโยบายนี้จะนำไปสู่สงครามเย็นครั้งใหม่ ซึ่งจะนำอันตรายและการไร้เสถียรภาพ ภายหลังความพยายามกว่า 40 ปี เพื่อบรรลุข้อตกลงที่จะลดการเผชิญหน้าทางนิวเคลียร์ สำหรับโลกใบนี้ ทั้งนี้นางอเล็กซานดร้า เบล แห่งศูนย์ควบคุมอาวุธ และอดีตเจ้าหน้าที่การห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้แสดงความวิตกกังวลดังกล่าวซึ่งนับเป็นการตอกย้ำซึ่งความเสี่ยงต่อนโยบายใหม่นี้
    นอกจากนี้เธอยังได้กล่าวว่า สหรัฐฯจะก่อให้เกิดสถานการณ์ที่เป็นอันตรายในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทั้งนี้ เพราะสหรัฐฯได้สูญสิ้นความเป็นผู้นำในการลดอาวุธนิวเคลียร์ทั่วโลกไปแล้ว
    อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมก็ยังยืนกระต่ายขาเดียว ด้วยการอ้างว่าการมีอาวุธนิวเคลียร์เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ จะทำให้การดำเนินการทางการทูตของสหรัฐฯใช้ได้ผลขึ้น แต่ฝ่ายอื่นๆก็มองว่านั่นคือการที่สหรัฐฯจะใช้ความเหนือกว่าในการข่มขู่ประเทศอื่นๆ แทนการเจรจาในลักษณะพหุภาคี นั่นคือการใช้อำนาจเป็นใหญ่ หรือการใช้นโยบายกำปั้นเหล็ก ที่สหรัฐฯอ้างว่าจะเป็นการเพิ่มอำนาจการป้องปรามของตน
    ด้วยนโยบายใหม่นี้จะทำให้สหรัฐฯเพิ่มการใช้จ่ายในการทำให้อาวุธนิวเคลียร์ทันสมัย เป็นจำนวนถึง 6.4% ของงบประมาณกระทรวงกลาโหม หรือ เป็น 2 เท่าของที่ใช้อยู่สำหรับอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมด ดังนั้นนโยบายนี้อาจทำให้ต้องเผชิญหน้ากับสภาคองเกรสในเรื่องงบความมั่นคง นายอดัมสมิธ สมาชิกสภาระดับนำของเดโมแครท กล่าวว่าสหรัฐฯนั้นใช้จ่ายงบมากกว่ารัสเซีย และจีนอยู่แล้ว ในโครงการอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นแผนการของนายทรัมป์จึงนับว่าไม่สอดรับกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง และแทนที่จะเพิ่มความมั่นคง กลับกลายเป็นการไปกระตุ้นการแข่งขันการสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ และอาวุธนิวเคลียร์ แทนการลดอาวุธนิวเคลียร์และปิดประตูสำหรับโอกาสที่จะมีการใช้อาวุธดังกล่าว นี่เป็นการทำลายยุทธศาสตร์ความมั่นคง และก่อให้เกิดความเสี่ยงหากมีการประเมินผิดพลาดจนทำให้เกิด “สงครามนิวเคลียร์” กล่าวโดยสรุปนโยบายใหม่ของทรัมป์จะเป็นการคุกคามต่อความมั่นคงของโลกใน 2 ประเด็นคือ
    1.สหรัฐฯและรัสเซียจะเข้าสู่วงจรของสถานการณ์ที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า “การแข่งขันสะสมอาวุธที่ไร้เสถียรภาพ” โดยแต่ละฝ่ายก็พยายามสร้างและติดตั้งระบบใหม่ๆอย่างไม่สิ้นสุดเพื่อพยายามถ่วงดุลกับอีกฝ่าย เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 1960 – 1980 ทำให้ทั้งสองฝ่ายเพิ่มการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์นับหมื่นชิ้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากในการใช้อาวุธนิวเคลียร์โดยอุบัติเหตุ
    2.ประเด็นนี้เป็นอันตรายยิ่งกว่าเพราะทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มองข้ามวิกฤติของเสถียรภาพ โดยการสร้างความทันสมัยของอาวุธนิวเคลียร์
    ส่วนชาวโลกนอกจากจะต้องหวาดผวาต่อภัยของสงครามนิวเคลียร์แล้ว ก็ยังจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นในการสะสมอาวุธเพื่อป้องกันตนเองตามที่ถูกทำให้เชื่อ และการสร้างสถานการณ์การสู้รับในที่ต่างๆ เพื่อมหาอำนาจจะได้ขายอาวุธมาเป็นรายได้จุนเจือค่าใช้จ่ายการทำให้ “อาวุธนิวเคลียร์ทันสมัย”

Wanted: a U.S. nuclear strategy tailored to Asia
The Trump administration launched a new nuclear strategy which commits the United States to making new tactical nuclear weapons and retains the option to respond decisively against potential nuclear and non-nuclear threats.
The new policy, called the 2018 Nuclear Posture Review, identifies Russia and China as main nuclear adversaries that are developing both strategic and tactical weapons. Although the nuclear posture review states that the US would only consider such an attack in the case of “extreme circumstances”, these could include “significant non-nuclear strategic attacks”.

This raises the prospect that nuclear weapons could be deployed in response to a severe cyber attack, a large terror attack such as those staged on September 11 2001, or another strategic threat. While the Trump administration says the stance merely “clarifies” previous policy, critics say it marks a radical departure.

“Our goal is to convince adversaries they have nothing to gain and everything to lose from the use of nuclear weapons,” Jim Mattis, Defence Secretary, said in the review document, arguing that more usable tactical nuclear weapons would deter adversaries and raise the threshold for enemy attack. The posture review reintroduced a nuclear sea-launched cruise missile that was retired under the Obama administration. It also seeks to equip submarines with lower-yield weapons whose impact could deliver up to the equivalent of the nuclear bomb that the US deployed to destroy Hiroshima in 1945. Although the Trump administration is preoccupied with the accelerating nuclear threat from North Korea, experts say the review is aimed at a rising threat from China and Russia, which are seeking to modernize their military capabilities. Pentagon officials are focused on maintaining the US military advantage as the best means to deter rivals, saying the world is now “more dangerous”. Both Russia and China were briefed on the new posture.

US President Donald Trump has repeatedly argued for a large-scale military build-up, calling for modernization of the country’s nuclear capability. “Let it be an arms race,” he announced the month before he took office. He has also bragged that he has a “bigger and more powerful” nuclear button than North Korea. Patrick Shanahan, Deputy Defence Secretary, said the effort would deliver a “modern and credible” deterrent. He argued the new weapons would break no treaties, would not increase the size of the US nuclear stockpile and would help the US deter nuclear attacks. But non-proliferation experts are dismayed by the decision, which they argue marks a dangerous break with post-cold war US nuclear orthodoxy. “I think it’s a dangerous and destabilizing break with 40 years of bipartisan efforts to reduce nuclear threats around the world,” said Alexandra Bell at the Center for Arms Control and a former non-proliferation official at the state department.

She argued that it was dangerous to broaden the circumstances under which the US may use nuclear weapons. “The US is abandoning its leadership role helping to reduce overall nuclear stockpiles and encourage non-proliferation,” she said. The Pentagon counters that the new doctrine will allow diplomats to work “from a position of strength”. Mr. Shanahan was due to say that the new stance “lowers the risk of nuclear use by anyone” and would “strengthen American deterrence”. The document calls for an increase in spending on nuclear modernization, approximately doubling the current nuclear allocation to up to 6.4 per cent of the Pentagon’s annual budget. The plans may face hurdles in Congress to secure funding. Adam Smith, a top-ranking Democrat in the House says the US is already outspending Russia and China on its nuclear programme and that Mr. Trump’s spending plans are “completely unrealistic”. “The administration’s recommendations will not increase our security — they will instead feed a nuclear arms race, undermine strategic stability by lowering the threshold for nuclear use, and increase the risk of miscalculation that could precipitate a nuclear war,” Mr. Smith said. This ongoing arms competition is fueling a new dangerous dynamic that could threaten the global security in two important ways.

The first threat is that Russia and America may soon be locked into what analysts call a cycle of “arms race instability.” As each side deploys new systems, they both perceive the worst in the military capabilities and intentions of the other and each seeks, through additional deployments, to restore the overall balance. The result is an action-reaction cycle of new nuclear deployments. It was a similar dynamic from the 1960s through the 1980s that led the two sides to deploy tens of thousands of nuclear weapons, leaving them both vulnerable to the ever-present threats of nuclear use by accident or through miscalculation. The second threat, however, is even more dangerous. Russia and the United States are increasingly undermining “crisis stability” as they pursue nuclear modernization.

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *