jos55 instaslot88 Pusat Togel Online สบาย สบาย สไตล์เกษม - ทุนดับเบิลยูพีไอ:จุดพลิกผันแห่งชีวิต ๓ - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

สบาย สบาย สไตล์เกษม – ทุนดับเบิลยูพีไอ:จุดพลิกผันแห่งชีวิต ๓

สบาย สบาย สไตล์เกษม
เกษม อัชฌาสัย
ทุนดับเบิลยูพีไอ:จุดพลิกผันแห่งชีวิต ๓

นักข่าวและนักหนังสือพิมพ์อย่างผมในหลายครั้งทำหน้าที่เกินตัว เช่นการเป็นนักการทูตกลายๆ ในการปรับหรือกระชับความสัมพันธ์กับชาติต่างๆ ในยามจำเป็น
จึงใคร่หยิบยกเรื่องราวเหล่านี้มาเล่าเฉพาะเท่าที่จดจำได้
อาทิ การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นอย่างแพร่สะพัดในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องนานเป็น ๑๐ ปีกว่าจะซา ซึ่งในเมืองไทยก็ลุกขึ้นต้านกับเขาด้วยในอดีต
สร้างความยุงยากลำบากใจต่อ รัฐบาลญี่ปุ่นและธุรกิจญี่ปุ่นในเมืองไทยเป็นอันมาก
การต่อต้านมีขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๕ โดยขบวนการนิสิตนักศึกษานำโดย”ธีรยุทธ บุญมี”จากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นหัวหอก หลังผมเริ่มเข้าทำงานที่”สยามรัฐ”ได้เพียงสี่ปีโดยรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ซึ่งยกตัวอย่างการใช้สินค้าญี่ปุ่นในเชิงเสียดสีตัวเองว่าใช้หมดแทบทุกอย่าง ”จากหัวยันเท้า”
คนไทยล้วนใช้สินค้าญี่ปุ่น เช่นจากน้ำมันใส่ผม ยันรองเท้า ทำให้ไทยเสียเปรียบดุลการค้าเพิ่มมากขึ้นทุกที(จำตัวเลขไม่ได้ว่าเท่าไรและคร้านที่จะค้นหา)ซึ่งก็สอดคล้องกับท่าทีของรัฐบาลไทยสมัยนั้น ที่พยายามจะลดการได้เปรียบดุลการค้ากับญี่ปุ่นอยู่พอดี
ในการนี้ขบวนการนิสตินักศึกษาไทยพยายามรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทยแทน เช่นใช้ผ้าดิบไทยแทนผ้าที่ญี่ปุ่นส่งมาขาย เช่น”โทเร” และ”เทยิ่น”(ล้วนผลิตจากโปลีเอสเตอร์-เส้นใยสังเคราะห์)ส่งให้เกิดแฟชั่น“ห้า-ย.”(คือ เสื้อยืด-กางเกงยีนส์-ผมยาว-รองเท้ายาง-สพายย่าม)ตามมา
ทุกวันนี้คนที่ยังแต่งตัวอย่างนี้ ที่ผมรู้จัก มีอยู่ท่านหนึ่งคือ “พี่เนาว์”(เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
ดีที่การต่อต้านครั้งนั้น ไม่เคยมีความรุนแรงใด ๆ เช่นเผารถยนตร์(คงเสียดาย)เกิดขึ้นซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นวิตก ว่าจะอุบัติ
แต่กลายเป็นว่าต่อมา คนไทยยิ่งนิยมใช้สินค้าญี่ปุ่นหนักมือยิ่งขึ้นจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยเฉพาะรถยตร์นั่งญี่ปุ่นที่มีแทบจะทุกยี่ห้อ ทั้งๆที่ในญี่ปุ่น(ในสมัยนั้น)เขาไม่ค่อยใช้รถยนตร์หรูแบบเรา แต่เน้นใช้รถยนตร์เพื่อความปลอดภัย ความสะดวกดายและประหยัดมากกว่า
ขณะนั้นห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นที่ดังมากก็คือ”ไทย ไดมารู”ที่สี่แยกราชประสงค์อันเป็นแหล่งกินเที่ยวและสถานนัดพบ ของหนุ่ม-สาวสมัยในนั้น หลังจากความนิยมที่มีต่อย่าน”หลังวัง(บูรพา)”เสื่อมคลายลง
การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น พัฒนามาเป็นการต่อต้านสหรัฐในที่สุด โดยเฉพาะกรณีทับหลัง”นารายณ์บรรทมสินธุ์”ที่สูญหายไปจากปราสาทเขาพนมรุ้ง แล้วไปไปโผล่อยู่ที่สถาบันศิลปะชิคาโก ในสหรัฐแล้วออกมาในรูปของเพลง”เมด อิน ไทยแลนด์”ของ”วงคาราบาว”
ส่วนการรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ก็กลายเป็นการตั้งหัวหาดเพื่อการซักซ้อมอย่างดี ในการชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญต่อมาจากรัฐบาลเผด็จการในปี ๒๕๑๖
ครั้นต่อมาหลังจากที่นาย”ยะสึฮิโระ นะกะโซะเนะ”จากพรรคเสรีประชาธิปไตยได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เขาก็รู้สึกร้อนใจเป็นอันมากต่อ ปฏิกิริยาต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นทั้งจากราษฎรในชาติอาเซียนและจากสื่อมวลที่โหมกระหน่ำญี่ปุ่นไม่ยอมหยุด
ก็เลยมีผู้เสนอให้แก้ไข โดยเชื้อเชิญผู้สื่อข่าวจากชาติอาเซียนอันได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์และไทยไปเยือนเพื่อทำความเข้าใจ จะได้หาทางแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆ กัน
ผมเป็นคนหนึ่งในนักข่าวจาก”สยามรัฐ”ที่ได้รับเชิญไปพร้อมกับพี่ๆ น้องๆ จากฉบับอื่นอีกสองท่านคือ“สนิท เอกชัย”จาก”เดลิไทม์”และ”ครรชิต คุ้มรักษ์”จาก”บางกอกเวิลด์”ได้เข้าร่วมคณะใหญ่จากอีกสี่ชาติสมาชิกอาเซียน ที่ไปร่วมประชุมกับตัวแทน “ไซบัตสึ”(กลุ่มพ่อค้าญี่ปุ่นที่ร่ำรวยตั้งแต่สมัยตระกูล”โทะกุงะวะ”)กลุ่มตัวแทนรัฐซียนบาลและเข้าสัมภาษณณ์นายกรัฐมนตรี เพื่อหาทางบรรเทาปัญหาด้วยหมายใจว่าญี่ปุ่นจะซื้อสินค้าของของอาซียนเพิ่มแทนที่จะปล่อยให้แนวโน้มการบริโภคสินค้าและบริการจากญี่ปุ่นขึ้นสูงโดยไม่หยุดทางเดียว
ผมตื่นเต้นกับการจะเข้าพบนายกฯญี่ปุ่นก็จริง แต่การเข้าสัมภาษณ์เขาใช้วิธีให้นักข่าวแต่ละประเทศส่งคำถามเข้าไปก่อนแล้วกรองคำถาม ผมก็เลยเลิกตื่นเต้น เพราะนายกฯของเขาระแวดระวังตัวมากไป ก็เลยส่งคำถามไปแกนๆและปรากฎว่าตอบไม่ตรงประเด็น
สำหรับผม ในแง่การสื่อสารมวลชน เช่นนี้ ไม่ใช่การสัมภาษณ์แล้ว
แต่ที่น่าสนใจมากกว่าก็คือการเจรจากับกลุ่ม”ไซบัตสึ”ซึ่งเขาให้เกียรติ”สนิท เอกชัย”หัวหน้าคณะผู้แทนสื่ออาเซียนทั้งหมด ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาอยู่ด้วยปราศรัยนำ ซึ่งท่านก็บรรยายความในรายละอียดยืดยาว แต่สรุปได้ว่าญี่ปุ่นอาศัยความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ทำให้ไทยราต้องบริโภคสินค้าญี่ปุ่นเกินความจำเป็นโดย “ครรชิต”กับผมช่วยกันแปลเป็นภาษาอังกฤษ
มีหลายคนซึ่งเป็นตัวแทนของ”ไซบัตสึ”ออกมาพูดถึงความจำเป็นต้องทำมาค้าขายอย่าง”ก้าวร้าว”แล้วสร้างความหวาดระแวงแก่ชาติอาเซียน”
ในที่สุด”สนิท เอกชัย”ถามตรงๆ ว่า คุณจะหยุดความก้าวร้าวลงได้หรือไม่เพื่อให้โอกาสแก่เราได้เติบโตเองบ้าง”
ตัวแทน”ไซบัตสึ”คนหนึ่งลุกขึ้นมาพูดช้าๆ อธิบายว่า ในฐานะที่ญี่ปุ่นเป็นชาติที่แทบจะไม่มีทรัพยากรหลักเลย มีประชากรมาก มาย แถมมีที่ดินคับแคบ โดยเฉพาะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
“ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเอาตัวรอดด้วยความก้าวร้าว แต่เราไม่โกง ไม่ทำผิดกฎหมาย”
“ทางที่ดีที่สุด คุณจะต้องป้องกันตนเองจากภัยที่จะเกิดจากเราให้รอบด้าน เราควรมีสิทธิ์ที่จะเข้าตลุยตลาดขอพวกคุณ ที่มีช่องโหว่ทุกขนาด เท่าที่คุณจะเปิดโอกาส เราต้องฉวยโอกาสครับ ไม่งั้นเราจะมีอะไรกิน”
จากนั้นเขาก็ขออภัยด้วยความนอบน้อมแล้วนั่งลง
ผมงี้….หน้าม้านเลยครับที่ไม่เคยคิดในแง่นี้ โดยเฉพาะในด้านการตั้งกำแพงภาษี
ผลก็คือ ผู้สื่อข่าวทุกชาตินั่งงง แล้วก็นำเรื่องเหล่านี้ ซึ่งมีรายละเอียดมากมาย หลายแง่มุม กลับไปรายงานต่อสาธารณชน และรัฐบาล ได้รับรู้ทัศนะของพ่อค้าญี่ปุ่น
แต่จนกระทั่งทุกวันนี้ สินค้าและบริการของญี่ปุ่น ก็ยังคงขายดิบขายดี แถมดีกว่าเดิม มิใช่หรือ?
รวมทั้งการท่องเที่ยว ซึ่งระยะหลังๆ นี้ ญี่ปุ่นยอมเปิดประเทศใช้ทรัพยากรที่เขามีอยู่ เพื่อหารายได้เข้า โดยเฉพาะโฆษณาอาหารการกินและทัศนียภาพกับวัฒนธรรมอันงดงาม ทำให้คนไทยแทบจะทั้งชาติพากันคลั่งไคล้ จะไปเยือนญี่ปุ่นโดยมักจะตั้งใจเอาไว้ว่า อย่างน้อยก่อนตาย ก็จะต้องไปเที่ยวชม”เกาะ”ฮอกไกโด”ให้ได้สักคราหนึ่ง
ได้กินปู”ทาราบะ”สักตัวหนึ่ง
จริงหรือไม่ครับท่าน

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *